nck
เข้าวงการ

ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 38
พอเพียง พอดี พอใจ
|
 |
« เมื่อ: 30 มิถุนายน 2010, 08:10:00 » |
|
คือปกติ จะเป็นคนขับรถเรื่อยๆ ไม่ค่อยเร็วมากน่ะครับ มีบ้างออกต่างจังหวัด 120-140 km เป็นบ้างช่วง ไม่ตลอดทางครับ พอเจอโค้งกว้างๆยาวๆ ก็จะไม่ค่อยผ่อน แต่ก็ดูหน้า-หลัง ระมัดระวังผู้ร่วมทางคนอื่นตลอดน่ะครับ ก็จับอาการของรถว่าเริ่มมีส่ายๆบ้าง แต่ล้อยังเกาะนิ่งนะครับ (เคยเข้าโค้งยาวๆที่ 120 ครับ) ก็เลยคิดอยากติดค้ำต่างๆ ของ ek เพื่อความมั่นใจและปลอดภัยต่อตัวเองและผู้อื่นน่ะครับ อยากขอคำแนะนำ เรื่องจะซื้อค้ำ ใน ห้องประกาศ ซื้อ-ขาย จะดีไหมครับ ท่านสมาชิกคนใดเคยติดตั้งแล้ว ผลเป็นยังไง ช่วยแนะนำด้วยครับผม http://www.welovecivic.com/forum/index.php/topic,41.0.html
|
EK4...วัตถุไปไว..
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
panukij
จอมยุทธ
   
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 330
ขออภัย.ที่ใจมันฟิต
|
 |
« ตอบ #13 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2010, 16:25:35 » |
|
..ผมติดอยู่..ถามว่ามีติดแล้วมีอาการหรือข้อดีอย่างไรบ้าง? ข้อดีประการแรกคือ เป็นฟอร์นิเจอร์แต่งรถสวยได้อย่างหนึ่ง (เฉพาะเวลาเปิดกระโปรง) ประการต่อไป..ไม่ค่อยได้ช่วยทำให้เกิดผลอะไรได้เลย เกิ่ยวกับการทรงตัวหรือเข้าโค้ง (ถ้ารถเราประกอบวัสดุเหมือนกับพวกเรือ..โอเค.ครับ อันนี้ค้ำยันไปเลย) โครงสร้างเดิมๆของรถที่ประกอบมาให้ เขาก็ทำแข็งแกร่งอยู่แล้วครับ * ข้อสุดท้าย..เวลาจะถอดกรองอากาศมาล้างเป่า..แหม..เสียเวลาขันเข้า-อออีกนี่ซิ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
มองโลกในแง่ดี..มีมิตรภาพที่ยั่งยืน โลดแล่นไปกับสมาชิกหัวใจ Civic ทุกท่าน ขับรถดีดีนะ..อย่าประมาท (คาดเข็มขัดแล้วอัดให้เต็มที่..ฟิ้วๆๆๆๆๆๆๆ)
|
|
|
|
|
|
|
|
mr.pr
เข้าวงการ

ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 30

インテグラ..... DC2
|
 |
« ตอบ #19 เมื่อ: 01 กรกฎาคม 2010, 23:32:01 » |
|
มันต้องมีประโยขน์มั่งละนะ ผมก็เคยสงสัยเมื่อตอนเล่นรถใหม่ๆว่าไอ้เหล็กนี่มันทำอะไรใส่แล้วมันเกะกะมากกว่าม้างงงง ก็เลยหาอ่านๆๆๆทั้งไทยทั้งต่างประเทศ ก็เก็บรูปไว้นานพอดูไม่เคยโพสสักทีเพราะว่าเห็นคนโพสเยอะอยู่ คราวนี้ก็เลยจะเอามาโพสให้ดู เผื่อหลายท่านไม่มีเวลาว่างที่จะหาข้อมูล นะครับ เหล็กค้ำโช๊ค (Strut Tower Bar) , (Strut Bar) เป็นแกนกลางยึดระหว่าง หัวเบ้าโช๊คทั้งสองด้านของตัวถังรถยนต์ มีหน้าแปลนยึดติดกับหัวเบ้าโช๊ค หน้า - หลัง หรือค้ำยันกับตัวถังรถส่วนใดส่วนหนึ่ง จุดประสงค์การผลิตทำขึ้นเพื่อลดอาการบิดตัวของตัวถัง รถ จริงๆแล้วความนุ่มนวลในการขับขี่ และ การเกาะถนนนั้น ได้รับตัวแปรสำคัญมาจากตัวถังรถ (ง่ายๆว่า) ตัวถังจะมีการบิดตัวไปมา ซ้าย-ขวา บน-ล่าง ตามสภาวะจริงที่รถวิ่งผ่านไปตามสภาพถนน (ถ้าคุณได้เคยเห็นสภาพการทดสอบตัวถังรถ จะเห็นว่าจริงๆแล้วตัวถังสามารถบิดตัวได้น่าอย่างอัศจรรย์) เป็นส่วนทำให้รถมีการขับขี่ที่นุ่มนวล ดังนั้นการเพิ่มจุดเชื่อมตัวถัง การตีโรลบาร์ หรือการสร้างเหล็กมาเสริมความแข็งแรงกับตัวถังรถ รวมถึงการติดตั้ง Strut Tower Bar นั้นเป็นวิธีการที่วงการแข่งขันรถยนต์ทำนิยมกัน เพื่อรองรับการใช้งานที่หนักขึ้นและลดการบิดตัวของตัวถังนั่นเอง ชนิดของ Strut Tower Bar มี 2 แบบ คือแบบปรับตั้งไม่ได้ เป็นลักษณะเชื่อมติดตายตัว กับหน้าแปลนยึดเบ้าโช๊ค หรือมีน็อตไขติด แบบนี้จะช่วยในด้านความแข็งแรงมากกว่า กับแบบปรับตั้งได้ ส่วนแบบนี้จะเป็นแบบละเอียดช่วยในด้านการค้ำยันตัวถั ง ด้วยการปรับตั้งให้เบ้าโช๊คทั้ง 2 ด้านให้หุบเข้าหรือ กางออก วัสดุในการผลิต Strut Tower Bar วัสดุที่ใช้มีทั้งแบบที่เป็นเหล็กทั้งหมดซึ่งส่วนมาก จะเป็นเหล็กเกรดพิเศษซึ่งความแข็งเหนียว ยืดหยุ่นได้ดีพวกโคโมลี่ ชนิดนี้จะมีความแข็งแรง แต่ก็ให้ความแข็งกระด้างมากเพราะการให้ตัวน้อย ส่วนแบบที่เป็นอะลูมิเนียมพวกนี้จะให้ทั้งน้ำหนักที่ เบา และมีความยืดหยุ่นมากกว่า จนถึงแบบที่ทำด้วย ไททาเนียม พวกนี้เน้นที่น้ำหนักเบา และความแข็งแรงสูง (พอๆกับราคา) ส่วนแบบที่ใช้ทั้งเหล็ก และอลูมิเนียมร่วมกัน พวกนี้จะให้ทั้งความแข็งแรง และความยืดหยุ่นไปด้วยพร้อมๆกัน ในปัจจุบันนิยมแบบที่ทำด้วยกราไฟท์ หรือคาบอนเคฟล่า แบบนี้จะให้ความสวยงาม ความยืดหยุ่นดี เรื่องของขนาด ความหนา และรูปทรง รวมถึงจุดยึดต่างๆ และการเลือกใช้วัสดุแกนกลางนั้น ล้วนแต่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทั้งสิ้น ซึ่งจะให้ผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ประโยชน์ของ Strut Tower Bar มีประโยชน์มากมาย ตั่งแต่ ช่วยให้การควบคุมรถได้ดีขึ้น ทำให้ตัวถังรถแข็งแรงมากขึ้น ลดอาการเสียหายกับตัวถังโดยเฉพาะรถที่ใช้งานหนัก หรือรถเปลี่ยนช่วงล่างให้ที่แข็งขึ้นมากๆ ซึ่งจะทำให้ภาระทั้งหมดตกมาเป็นของตัวถังรถ ซึ่งจะช่วยลดภาระของตัวถังได้มาก และช่วยในการปรับตั้งมุม Camber ให้กับรถที่เกิดอุบัติเหตุ ได้อีกด้วย ความเสียหายที่จะเกิดขึ้น กับ Strut Tower Bar บ่อยครั้งที่เราจะได้พบความเสียหาย กับ ค้ำโช๊คในรูปแบบต่าง ๆ เช่นค้ำโช๊คงอ บิดเบี้ยว เสียรูป หรือค้ำโช๊คหัก ทุกอย่างย่อมเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อเวลาที่ตัวถังรถ ได้รับแรงกระทำมาก เช่นตกหลุมแรงๆ หรืออุบิติเหตุ เป็นเพราะการบิดตัวของตัวถังที่รุนแรง การบิดตัวเข้าหากัน รวมถึงการติดตั้งแบบไม่ถูกต้อง ตัวถังของรถยนต์ประกอบเข้ากันด้วยด้วยการเชื่อมแบบSpot เพื่อให้สามารถให้ตัวและดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้ ซึ่งตามมาตรฐานจากโรงงานก็ให้ความแข็งแรงในระดับหนึ่ งและรองรับการใช้งานปกติได้ แต่เมื่อมีการนำรถไปโมดิฟายเครื่องยนต์เพื่อใช้งานแบ บแข่งขัน โดดคอสะพาน , เข้าโค้ง หรือขับด้วยความเร็วสูง จะทำให้ตัวถังรถเกิดการบิดตัวมาก ทำให้รถท้ายปัด และไม่นิ่ง การนำเอาค้ำโช๊คมาใส่จึงเป็นการเสริมความแข็งแรงเพื่ อลดการบิดตัวของตัวถังรถ เป็นการแก้ปัญหาได้วิธีหนึ่ง ซึ่งค้ำโช๊คก็จะมีค้ำหน้าบนและหลังบนหรือเรียกอีกอย่ างว่า Upper Front and Rear Sturt Bar โดยอุปกรณ์ดังกล่าวจะยึดติดกับเบ้าโช๊คด้านบน ทั้งหน้าและหลัง จะทำหน้าที่ลดการบิดตัวของตัวถัง นอกจากนี้ก็ยังมีอุปกรณ์สำหรับกันตัวถังช่วงกลางบิดต ัว ( Cross Bar ) ซึ่งเจ้าอุปกรณ์ดังกล่าวจะติดตั้งไว้ภายในห้องโดยส ารช่วงหลังเบาะคนขับ ด้านล่างก็จะมีค้ำล่างหน้าและหลังหรือเรียกอีกอย่างว ่า Lower Arm Front and Rear อุปกรณ์ดังกล่าวทำหน้าที่ยึดบู๊ทปีกนกซ้ายและขวาทั้ง หน้าและหลังไม่ให้ดิ้น เมื่อไม่ดิ้นเวลาตกหลุมจะไม่เกิดอาการเซ และทำให้การเข้าโค้งดีขึ้นลดอาการท้ายปัดได้ ภาพประกอบนะครับ           credit ข้อมูลจาก : www.hondaloverclub.com  credit รูปภาพน่าจะ : www.streettuned.com  ผิดพลาดประการใดขออภัยด้วยนะครับเพราะผมเซฟมานานพอควรครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
patiwedh
Gold Member
เจ้ายุทธภพ
  
ออฟไลน์
เพศ: 
กระทู้: 1,256

ทำไป ซ่อมไป กับ EK ค่อยๆเป็น ค่อยๆไป
|
 |
« ตอบ #21 เมื่อ: 02 กรกฎาคม 2010, 04:05:56 » |
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|