ครับ จริงๆแล้วกันโคลงชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่าทำให้ไม่โคลง แต่ว่าบางครั้งมีกันโคลงก็ยังเกิดอาการต่างๆเช่น เวลาวิ่งเร็วๆ(เกิน140)มีความรู้สึกหวิว เข้าโค้งแล้วท้ายไม่เกาะโค้ง เกิดอาการท้ายปัด ไม่นิ่ง เวลาโดดคอสะพานแทนที่จะจั้มทีเดียว ก็กระเด้งตั้งหลายที นี่ก็เป็นปัญหาอย่างนึงของESเท่าที่ผมเจอมา
คราวนี้ครั้นจะไปเปลี่ยนโช้คอัพพร้อมสปริงหรือแม็กซ์ราคาแพงๆก็สู้ไม่ไหว(ยิ่งเศรษฐกิจแบบนี้แล้วด้วยนะ)
ก็มีการทำค้ำโช้คออกมาเพื่อให้การทรงตัวดีขึ้น ไหนๆก็ไหนแล้วผมก็คงจะให้ความรู้เรื่องนี้แก่เพื่อนๆเลยแล้วกันนะครับ
ประโยชน์ของค้ำโช้คหน้าบนและค้ำหน้าล่าง หลักการเหมือนกันอย่างนึงคืออย่างแรกคือช่วยไม่ให้โคลง ทำไมถึงไม่โคลง ก็เพราะว่าการที่เอาค้ำยึดไว้ที่เป้าทั้งสองทำให้ตัวถังไม่ดิ้น(ค้ำหน้าบน) เมื่อตัวถังไม่ดิ้น ก็ไม่โคลง หลังจากที่ไม่โคลง อาการต่อมาที่จะได้ก็คือนิ่งขึ้น เข้าโค้งดีขึ้น เวลาถนนต่างระดับจะช่วยรักษาสมดุลไม่ให้เสียการทรงตัว และในกรณีค้ำหน้าล่าง เมื่อใส่ค้ำที่บีกนก ก็จะทำให้ส่วนที่ค้ำแน่นขึ้น และเมื่อแน่นขึ้นก็จะทำให้ตำแหน่งปีกนกนิ่งขึ้น
ความต่างของค้ำหน้าบนและค้ำหน้าล่าง
ค้ำหน้าบนประโยชน์อีกอย่างนึงก็คือกันถังบิดเมื่อเกิดการชน การกระแทก ทำให้ตัวถัง หรือห้องเครื่องไม่เกิดการบิดตัวหรือเสียรูป
ค้ำหน้าล่างประโยชน์อีกอย่างนึงคือเมื่อปีกนกยิ่งขึ้นจากยึดด้วยค้ำล่าง สิ่งที่ได้ต่อมาคือศูนย์ล้อไม่เปลี่ยนง่าย(ถึงเปลี่ยนก็จะช้าลง) อาการกินยาง(ไม่ว่าจะด้านนอกหรือด้านใน)ก็จะไม่เกิดขึ้น(ถ้าเกิดก็จะช้ากว่าปกติ)
สำหรับค้ำหลังบนและค้ำหลังล่างก็เช่นเดียวกับค้ำหน้าทุกประการ ไม่ว่าจะทำให้นิ่งหรือกันตัวถังบิด แต่สิ่งที่ได้คือเมื่อใส่พร้อมค้ำหน้า จะทำให้เวลาเข้าโค้งท้ายไม่ปัด จิกโค้งดีขึ้น เวลาจั้มคอสะพานท้ายไม่ค่อยกระเด้ง เมื่อใส่พร้อมค้ำหลังล่างก็จะทำให้บริเวณปีกนกที่มีอยู่ถูกล็อกด้วยค้ำ เมื่อถูกล็อกไว้ก็จะทำให้ตำแหน่งของศูนย์หลังเปลี่ยนช้าและอาการกินยางช้าลงกว่าปกติหรือมากกว่านั้น ซึ่งค้ำหลังล่างบนคนคิดว่าใส่สวยๆ แต่ถ้าคนที่ได้ใส่ครบจริงๆจะรู้ว่ามันนิ่งแค่ไหน และที่สำคัญสำหรับคนที่ชอบDrift ค้ำหลังควรจะต้องมีทั้งบนและล่างเพื่อให้จิกโค้งโดยที่ท้ายไม่ปัดไปกระแทกกับข้างทาง
แล้วผมเอาความรู้เกี่ยวกับวัสดุที่ทำค้ำโช้คมาฝากเพิ่มเติม(ในกรณีที่อยากรู้ว่าค้ำไหนทำมาจากเหล็ก และทำไมCuscoถีงมีราคาแพง พอดีผมโพสตอบไว้ในวีออสคลับให้เป็นความรู้แก่เพื่อนๆก็เลยเอามาให้เพื่อนๆที่นี่ด้วยครับ)
เรื่องแบรนเนม เนื่องจากยี่ห้อนี้เป็นของญี่ปุ่นซึ่งก็โด่งดังไปทั่วโลก(แม้แต่ผมเองก็ยอมรับว่ายี่ห้อนี้เป็นสินค้าที่ดีอีกตัวนึง แต่ก็ติดปัญหาเรื่องราคาว่ายังมีราคาสูง อาจจะไม่เหมาะกับงบของคนไทย(ในบางคน)หรืออาจจะไม่จำเป็นในรถบางรุ่น) ก็จะต้องมีค่าโฆษณาสินค้าเป็นของธรรมดา ซึ่งต้นทุนอาจจะไม่กี่ตังแต่อาจจะแพงไปเกี่ยวกับชื่อเสียงกับการโปรโมทเป็นต้น
คราวนี้ก็เรื่อง Cusco เป็นอะลูมิเนี่ยมเกรดพิเศษ เบอร์อะไรจำไม่ได้แน่ชัด ก็เป็นเรื่องจริงครับ ซึ่งเบอร์อะไรนั้น เขาไม่มาบอกหรอกครับ(เป็นความลับในการผลิต ถ้าเกิดเขาบอกไป เอามาทำเบอร์เดียวกันแต่ขายราคาถูกกว่าเขา ของเขาก็แย่นะซิ) ซึ่งเท่าที่รู้มารถแข่ง(ที่ลงสนามจริงๆไม่ใช่วิ่งแค่ท้องถนน หรือใช่ในชีวิตประจำวัน)อาจจะจำเป็นต้องมีค้ำโช้คที่ค่อนข้างมีคุณภาพ(ซึ่งอันนี้บางอย่างถ้าต้องมีการแข่ง(ในสนามจริง)ก็อาจจะต้องใช้) ค้ำโช้คที่มีขายทั่วไป(ที่ทำมาจากอลูมิเนียม)ไม่ใช่ว่าจะไม่ดีเท่าของแบรนเนม อาจจะเทียบเท่าหรือดีกว่าก็ได้ แต่ยังไม่มีการลองจริงว่ามันดีจริงหรือเปล่าก็เท่านั้นเอง การที่ใส่ค้ำโช้คอลูมิเนียม ถ้าคุณแค่ใช้ความเร็วสูงโดยที่คุณไม่ได้แข่งในสนามจริง ผมก็ว่าเพียงพอแก่การใส่ค้ำโช้คซึ่งเป็นงานของคนไทยแล้วครับ
จะรู้ได้อย่างไรเป็นค้ำเหล็กหรืออลูมิเนียม อันนี้ง่ายมากครับ เอาแม่เหล็กมาดูซิครับ ถ้าดูดติดก็เป็นเหล็ก ถ้าไม่ติด คำตอบคืออลูมิเนียมหรือวัตถุดิบตัวอื่น (ที่ผมหมายถึงคือคานนะครับที่เอาแม่เหล็กมาดูด แต่ถ้าเป้าโช้คส่วนใหญ่เขาจะใช้เหล็กครับ) บางครั้งคุณจะเจอค้ำสแตนเลดที่มีทำออกมาเหมือนกัน ซึ่งสแตนเลดมีสองเกรด เกรดธรรมดา กับเกรดดี คราวนี้คุณจะรู้ว่าเกรดไหนดี เกรดไหนธรรมดา อันนี้ก็ง่ายครับ เอาแม่เหล็กดูดซิครับ ถ้าติดแสดงว่ามีสวนผสมของเหล็กทำให้เป็นสแตนเลดเกรดธรรมดา ถ้าสแตนเลดแท้จะต้องดูดไม่ติด(อันนี้ต้องศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแร่ธาตุ จะเข้าใจขึ้นอีกครับ ซึ่งก็หาไม่ยากจากเน็ต) ซึ่งสำหรับเรื่องสแตนเลดนี้ ไม่ว่าธรรมดาหรือเกรดดี ก็มีความแข็งแรงเช่นเดียวกัน ต่างกันที่ว่าถ้าเกรดธรรมดาใช้ไปก็อาจจะเป็นสนิมได้(แต่ถ้าอยู่ในรถซึ่งไม่ต้องโดนน้ำ ไม่ว่าค้ำเหล็ก สแตนเลด อลูมิเนียม ไม่ต้องกลัวทั้งนั้นครับ)
คราวนี้เรื่องการยืดหยุ่น ถ้าเทียบระหว่างเหล็กกับอลูมิเนียม เรื่องนี้ตอบได้ไม่อยากเลยครับว่าอลูมิเนียม ทำไมหรือครับ ง่ายๆ ดูจากเครื่องยนต์ที่คุณใช้กันซิครับ เมื่อก่อนนี้เครื่องทำมาจากเหล็ก ซึ่งปัญหาที่ตามมาคือเมื่อความร้อนสูงขึ้น เหล็กก็จะขยายตัวหรือพูดง่ายๆเปลี่ยนแปลงได้นั้นเอง เมื่อเครื่องเย็นเหล็กก็เปลี่ยนรูป ซึ่งถ้าเปลี่ยนรูปบ่อยๆจากความร้อน ปัญหาที่ตามมาคือทำให้เครื่องแตกเสียได้แล้วเครื่องเหล็กก็ยังมีปัญหาเรื่องเดิมๆคือสนิมนั้นเอง แล้วมาถึงอลูมิเนียม เมื่อเกิดความร้อนสูงอลูมิเนียมก็ขยายตัวเช่นกันแต่เมื่ออุณหภูมิลด อลูมิเนียมที่ขยายตัวในตอนแรกก็จะกลับมาสู่สภาพเดิม และที่สำคัญสองอย่างที่เอามาทำเครื่องคืออย่างแรกคือเบาและอย่างที่สองคือไม่เป็นสนิม
ใช่ว่าเหล็กจะไม่ดีเสมอไป เหล็กก็ยังเป็นวัตถุดิบที่แข็งแรงคงทนแต่ก็มีปัญหาแค่เรื่องสนิมเหมือนกัน จะมีคำถามต่อไปว่าตัวถังทำไมเป็นเหล็ก ทำไมไม่เป็นอลูมิเนียม? คำตอบง่ายๆครับ ต้นทุนการผลิตครับ ถ้าเพื่อนๆรู้เกี่ยวกับเรื่องรถ จะมีรถอยู่ยี่ห้อนึง(เป็นของเยอรมัน)ซึ่งตัวถังทำมาจากอลูมิเนียมทั้งคัน ซึ่งเขารับประกันว่าไม่เป็นสนิมแน่นอน แต่ราคาละครับ เหยียบสามล้านขึ้น ทุกอย่างมันแน่นอนครับ เมื่อต้นทุนเพิ่ม ราคาก็ต้องเพิ่มตามเป็นของธรรมดา บริษัทรถยนต์(โดยเฉพาะเมืองไทย)มีการแข่งขันสูง เขาต้องทำให้ต้นทุนรถเขาถูกที่สุด(อันนี้เพื่อนๆที่ใช้รถคงทราบอยู่แล้วว่าอะไร มีตัวอย่างให้เห็นกะตา แต่ผมไม่ขอเอ่ย เพราะจะไปกระทบบริษัทเขาครับ) เพื่อที่เขาจะได้กำไรที่มากที่สุด แต่ในรถอีกระดับ(สำหรับคนมีกะตัง)ต้นทุนแพงก็มีคนซื้อ(แต่อาจจะอืดหน่อย) ของทุกอย่างมันมีปัจจัยครับ ซึ่งมันก็อยู่ที่ความเหมาะสมว่าอะไรควรเอามาทำอะไร แล้วใครจะรู้หรือไม่รู้ ซึ่งรู้ก็ไม่มีปัญหา ไม่รู้ก็ศีกษาหาความรู้เพื่อที่เราจะได้รูว่าเพราะอะไรถึงเป็นแบบนั้น ใครมีงบมากใครมีงบน้อยที่จะซื้อของในแต่ละอย่าง ก็อยู่ที่กำลังทรัพย์ของแต่ละคน พูดง่ายๆก็คือรู้ตัวเองว่ากำลังกระเป๋าของตัวเรานี้เป็นอย่างไร ถ้าซื้อของแล้วจะเหลือเพื่ออนาคต(วันพรุ่งนี้หรือไม่) แค่นี้ก็มีของที่เราอยากได้โดยไม่ต้องไปเดือนร้อนใครครับ
ก็เอามาเป็นความรู้กันนะครับ
