สมาคมสถาปนิกสยามฯ จัดแถลงข่าว ครั้งที่ 2 เปิดตัวไฮไลต์ กิจกรรมงานสถาปนิก 50
เมื่อวันที่ 8 มีนาคม ที่ผ่านมา นายสินพงษ์ หาญยุทธ นายกสมาคมฯ นายอนุชา ยูสานนท์ ประธานจัดงานสถาปนิก 50 และนายชาตร มรรคา กรรมการผู้จัดการบริษัท ทีทีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ร่วมจ้ดงานแถลงข่าวงานสถาปนิก 50 ต้นกล้าสถาปัตย์: Leap to the Future ครั้งที่ 2 เปิดตัวไฮไลต์ กิจกรรมในส่วนต่างๆ ในงานสถาปนิก'50 โดยจะแบ่งออกเป็น 11 ส่วนหลักๆ ได้แก่
1. นิทรรศการสมาคมสถาปนิกสายมฯ
- นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- นิทรรศการประกวดหมู่บ้านเด็กสภากาชาดไทย
- นิทรรศการประชาสัมพันธ์สมาคมสถาปนิกสยามฯ
2. การจัดแสดงพื้นที่ส่วนกลาง
- Digital Gallery โดยมีการจัดแสดงนิทรรศการมีชีวิต Bangkok is a great city? หรือ กรุงเทพเป็นเมืองมหานครจริงที่ดีหรือ?
3. การจัดแสดงผลงานนักศึกษา และ Workshop
- กิจกรรมปฏิบัติการนักศึกษาภายใต้หัวข้อ "ตลาดเก่า เล่าใหม่: เรื่องราวการพัฒนาชุมชนริมคลองประเวศบุรีรมย์"
4. นิทรรศการประกวดแบบ
- การประกวดแบบบุคคลทั่วไป ในหัวข้อ Strong Shelter
- การประกวดแบบสถาบันการศึกษาในหัวข้อ Shared Shelter
5. นิทรรศการแสดงผลงานสถาปนิกอิสระและสำนักงานสถาปนิก
- รวบรวมผลงานของสถาปนิกอิสระและสำนักงานสถาปนิกที่เป็นสมาชิกของสมาคมสถาปนิกสยามฯ
6. นิทรรศการจัดการแสดงผลงานสถาปนิกรุ่นใหม่
- ผลงานสถาปนิกรุ่นใหม่จากกลุ่มประเทศ ARCASIA 17 ประเทศ
7. นิทรรศการนวัตกรรมทางด้านการออกแบบและก่อสร้างจากต่างประเทศ
- Olympic Stadium 2008 จากประเทศจีน
8. นิทรรศการสถาปัตยกรรมอนุรักษ์
- รางวัลอาคารอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่นประจำปี 2550
9. การบริการสมาชิกสมาคมสถาปนิกสยามฯ
- ASA Club
- ASA Shop จำหน่ายสินค้าของที่ระลึก
- Book Shop สถาบันการศึกษาทางด้านสถาปัตยกรรม
10. การบริการประชาชน
- "หมอบ้าน" ให้คำปรึกษาแก้ปัญหาเกี่ยวกับบ้าน
- แจกวีซีดีคู่มือวิธีการดูแลรักษาบ้านที่ถูกต้อง
11. นิทรรศการจากองค์กรและสมาคมเกี่ยวเนื่อง
- สมาคมภูมิสถาปนิกแห่งประเทศไทย
- สภาสถาปนิก
- อิโคโมสไทย (ICOMOS Thailand)
- สถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (NDMI)
- สมาคมมัณฑนากร
สิ่งที่จะเห็นได้ชัดในงานสถาปนิก'50 คือ รูปแบบการจัดงานที่ยิ่งใหญ่ เน้นการนำเสนอนวัตกรรมใหม่มาจัดแสดงภายใต้บรรยากาศของความทันสมัย ตั้งแต่การจัดบูธแสดงสินค้าของบริษัทต่างๆ รวมไปถึงกิจกรรมปลีกย่อยภายในงานท่ามกลางนิทรรศการเคลื่อนไหวที่ให้ทั้งความรู้และความบันเทิง
นอกจากนี้ยังมรการจัดแสดงภาพยนต์ความรู้เชิงสถาปัตย์ที่จะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้แก่ผู้เข้าชมงาน และพบกับนิทรรศการ Bangkok is a great city? (กรุงเทพเป็นเมืองมหานครที่ดีจริงหรือ?) ด้วยรูปแบบการจัดนิทรรศการแบบมีชีวิต สามารถโต้ตอบกับผู้ชมได้ โดยเชื้อเชิญให้ผู้ร่วมงานได้พิจารณากรุงเทพมหานครผ่านการนำเสนอหลากหลายมุมมอง และเปิดกว้างสำหรับการตัดสินความเป็นมหานครที่ดีของกรุงเทพฯ สำหรับทุกคน และพิเศษสุดภายในงานได้มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลกมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในกิจกรรมสัมมนาหัวข้อต่างๆ อาทิ การออกแบบอาคารสูง การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและการออกแบบแสงสว่างกับสถาปัตยกรรม ซึ่งในปีนี้คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานกว่า 280,000 คน ตลอดการจัดงาน