ตรวจสภาพรับรถใหม่
1.ตัวถัง
______ 1.1 ดูขอบ, สันข้างรถว่าแนวยังตรงดีอยู่หรือไม่ โดยเฉพาะระหว่างประตู และตัวถัง
______ 1.2 เปิดปิดประตูครบทุกบาน และกระโปรงหน้า-หลัง ได้ดี ล็อคเด็กประตูหลัง
______ 1.3 มีสนิมบริเวณขอบประตูแต่ละบานหรือไม่ แค่ไหน
______ 1.4 เห็นรอยสีใหม่พ่นทับสีเก่าในบริเวณขอบประตูหรือไม่ (ถ้ามีขอบยางกันกระแทกลองแง้มดู)
2. กระจก
______ 2.1 กระจกทุกบานขึ้นลงได้สุดหรือไม่ (ถ้าเป็นกระจกไฟฟ้าควรดูเป็นพิเศษ)
______ 2.2 กระจกมีรอยร้าวกระเทาะหรือไม่อาจจะนําไปสู่การแตกง่ายในอนาคต
______ 2.3 ลวดละลายฝ้ากระจกหลังยังใช้ได้อยู่หรือไม่
______ 2.4 ยางปัดนํ้าฝนต้องเปลี่ยนหรือไม่
______ 2.5 ที่ปัดนํ้าฝนยังใช้งานได้ดี
______ 2.6 ที่ฉีดนํ้าล้างกระจกยังใช้งานได้ดี
______ 2.7 กระจกมองข้างปรับได้ตามปกติ พับยังไง ให้แสดงให้ดู
3. ยางและล้อ + เครื่องมือ
______ 3.1 เนื้อยางยังนิ่มอยู่พอสมควร ปียางที่ผลิต รอยวิ่งของยาง
______ 3.2 ล้อมีรอยบิ่นหรือไม่ Max เก่า ใหม่
______ 3.3 แม่แรง ล้ออะไหล่ ประแจ เครื่องมือประจำรถครบหรือไม่
4. ภายในห้องโดยสาร
______ 4.1 ลายไม้และหน้าปัดเป็นรอยขูดขีดหรือไม่ หน้าปัดหลักๆ ยังใช้งานได้ครบหรือไม่ เช่น เข็มความเร็ว เข็มนํ้ามัน เข็มไมล์ ไฟเบรคมือ เข็มความร้อน
______ 4.2 เบาะปรับได้ท่าทีถนัด เข็มขัดนิรภัย ลองปรับ+กระตุก
______ 4.3 ยางปูพื้นติดรถมาแบบไหน
______ 4.4 เสียบกุญแจรถแล้วบิดสวิทย์ ON (ยังไม่บิดสตาร์ท) แล้วตรวจดูไฟเตือนที่หน้าปัดขึ้นครบถ้วนหรือไม่
______ 4.4 กระจกมองหลังและข้างปรับได้ทัศน์วิสัยที่ดี กระจกข้างปรับได้ ลองพับ กุญแจรีโมท Central Lock
______ 4.5 วิทยุติดรถ ทดสอบแอร์ ลองแรงลมทุกระดับ ที่วัดอุณภูมิภายใน-นอก กดแตร ที่ปัดน้ำฝน INT Senser ฝน ไฟเบรคดวงที่ 3 ไล่ฝ้าหลัง ลองกดแล้วจับดูว่าร้อนไหม?..
______ 4.6 หมุนพวงมาลัยดูจนสุด 2 ด้านมีเสียงดัง ปรับ ไกล-ใกล้ สูง-ต่ำ วิทยุ CD ลองฟังแยกทุกจุดว่า OK
______ 4.7 กระจกไฟฟ้า 4 บาน ลองกดปุ่มเลื่อนขึ้นลง ป้องกันหนีบ , กระจกข้างปรับได้ ลองพับดูถ้ามีปุ่มพับ
______ 4.8 สัญญานเตือนไฟเปิด ประตูเปิด,เบรกมือ ,นาฬิกา
______ 4.9 ที่เปิดกระโปรง หน้า หลัง ฝาน้ำมันอยู่ตรงใหน ช่องเก็บของต่างๆ เปิด-ปิด ได้ดีหรือไม่
5. ห้องเครื่อง
______ 5.1 น้ำมันเบรค น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์
______ 5.2 สายพานต่างๆ
______ 5.3 น้ำในหม้อน้ำ+หม้อพัก , กระบอกน้ำฉีดกระจก ถามให้รู้ว่าอยู่ตรงไหน
______ 5.4 น้ำกลั่นแบตเตอรี่
______ 5.5 ลอง Start เครื่องฟังเสียงดู เร่งเครื่อง
______ 5.6 หมายเลขเครื่อง หมายเลขตัวถัง ให้เขาชี้ให้ดู
______ 5.7 แผ่นกันความร้อนมีให้หรือไม่-ราคาเท่าไร-แถมได้มั๊ย
6. กลไกขับเคลื่อน
______ 6.1 ลอง Start เครื่องฟังเสียงดู เร่งเครื่อง
______ 6.2 เครื่องยนต์เดินเรียบ
______ 6.3 พวงมาลัยไม่มีเสียงดังเวลาเลี้ยว
______ 6.4 คลัชท์ไม่แข็งหรือระยะตื้นจนเกินไป (กรณีเกียร์ธรรมดา)
______ 6.5 เข้าเกียร์ได้ครบ (เกียร์ออโต้ให้ดูไฟบอกตำแหน่งเกียร์ที่แท่นเกียร์+หน้าปัด)
______ 6.6 เกียร์ไม่หลวม, ไม่มีเสียงดังเวลาเข้าเกียร์ใดเกียร์หนึ่ง
______ 6.7 ความร้อนไม่ขึ้นสูง
______ 6.8 เวลาปล่อยมือแล้วรถไม่เอียง
______ 6.9 ที่เปิดฝาเติมน้ำมันเปิดตรงไหน-สาธิตให้ดูด้วย
7. ระบบปรับอากาศ
______ 7.1 แอร์เย็น ปรับอุณหภูมิได้
______ 7.2 พัดลมปรับความเร็วได้ตามปกติ
______ 7.3 ช่องลมปรับทิศทางได้ตามปกติ ตัวครีบมีสภาพแน่นหนาดี
8. ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง
______ 8.1 ไฟสูง ไฟหน้า และไฟหรี่ เปิดติด ปิดดับ สว่างชัดเจน
______ 8.2 ไฟเลี้ยวใช้ได้ทั้ง 2 ข้าง และลองกดปุ่มไฟฉุกเฉินว่ากระพริบ 2 ข้าง
______ 8.3 ไฟเบรคใช้งานได้
______ 8.4 ไฟถอยหลังใช้งานได้
9. เอกสารต่างๆ
______ 9.1 สมุดทะเบียน ใบโอนรถ เอกสารประกันภัย พรบ.
______ 9.2 ใบเสร็จรับเงินค่า down ใบเสร็จค่ามัดจำป้ายแดง
______ 9.3 สมุดคู่มือป้ายแดง ป้ายแดงมีตรา ขส
______ 9.4 คู่มือรถ, เอกสารการรับประกันอุปกรณ์รถ และเช็คระยะฟรี
______ 9.5 ของแถมต่าง ๆ ตามที่ผู้ขายตกลง
เทคนิค รับรถป้ายแดง
http://www.hondajazz-club.com/smf/index.php?topic=48159.0
สำหรับท่านผู้อ่านที่ซื้อรถครั้งแรก ในช่วงนี้มีหลายคนกำลังเดินทางไปรับรถ ที่ได้ตกลงซื้อไว้ที่ดีลเลอร์ ซึ่งการรับรถคันใหม่นั้นต่างไปจากการไปซื้อของที่ห้างสรรพสินค้า ซึ่งดูเหมือนจะลำบาก สำหรับท่านที่ไม่มีประสบการณ์ ในขณะที่หลายคน ตื่นเต้นไม่น้อยกับรถคันใหม่
การรับรถใหม่ป้ายแดง เป็นขั้นตอนที่สำคัญ หากขาดรายละเอียดหรือข้ามไป บางครั้งข้อผิดพลาดก่อให้เกิดเรื่องยาว เสียเวลา เมื่อหลายปีก่อน ท่านเจ้าของรถบางคน บางยี่ห้อออกมาประจานเรื่องคุณภาพ เรื่องความไม่พึงพอใจ หลายสาเหตุ บางคันสมเหตุสมผล ในเรื่องคุณภาพหลังใช้ แต่บางคันหากว่า เจ้าของรถรู้เท่าทัน และไม่รับรถที่มีตำหนิหรือไม่เรียบร้อยมาใช้ก็จะลดปัญหาไม่ให้เกิดขึ้นได้
วางแผนทุกอย่างล่วงหน้า
ต้องเข้าใจว่ารถเป็นของที่มีราคาสูง เป็นสินค้าที่มีรายละเอียดมาก ทั้งการซื้อการใช้งานการรู้จักวางแผนล่วงหน้า ในการสั่งซื้อ จะทำให้คนขายที่มีความรับผิดชอบสูงได้มีเวลาเพียงพอในการเตรียมพร้อมสำหรับรถส่งมอบแน่นอน ขึ้นตอนการเตรียมตัว มีหลายอย่างที่เป็นเรื่องจำเป็นในขณะที่คนซื้อไม่ได้เห็น
ให้นัดหมายล่วงหน้าวัน เวลา ส่งมอบรถ และแน่นอนงานเอกสารในเรื่องไฟแนนซ์หรือเรื่องทะเบียนก็ดีได้ถูกจัดเตรียมไว้ก่อนแล้ว
รถก่อนถึงมือเราในวันรับมอบ จะผ่านขั้นตอนของดีลเลอร์ ที่เรียกว่าพีดีไอ คือ การตรวจรถก่อนส่งมอบของฝ่ายผู้ขาย เป็นการตรวจสอบความเรียบร้อยหรือ ความเสียหายอันมาจากการเก็บรถว่าเกิดขึ้นหรือไม่นั่นเอง
สถานที่รับรถ
ในปัจจุบัน มาตรฐานโชว์รูมจะมีพื้นที่ส่งมอบรถใหม่ ซึ่งเป็นที่สะอาดและที่สำคัญมีแสงสว่างเพียงพอ เราจะใช้ประโยชน์จากพื้นที่นี้ในการสำรวจรถทั้งคันก่อนลงนามในเอกสารส่งมอบ บางท่านอาจจะซื้อรถโดยที่ให้ผู้ขับขี่ส่งไปให้ถึงบ้าน อาจจะไม่มีเวลาเพียงพอ ซึ่งเราสามารถทำการรับมอบได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้รายละเอียดการตรวจสอบต่างๆ ก็เหมือนการรับในโชว์รูม
คู่มือรับรถใหม่
ในการรับรถใหม่ เราจะพบกับคู่มือการรับรถ ภายในจะมีรายการให้เช็คเป็นรายตัว ซึ่งมีรายละเอียดต่างๆ ของรถ ให้เราดูตามรายการดังกล่าว ว่าเขาส่งมอบอะไรให้เรา และตามรายละเอียดเป็นข้อๆ นั้นเป็นไปตามที่ เราเห็นหรือไม่
การตรวจสอบภายนอก
การดูความเรียบร้อย ภายนอกตัวถัง จะต้องมีความละเอียด ให้ทำในที่มีแสงสว่างมากๆ สำรวจจุดที่อาจจะมีสนิมเกิด เพื่อประเมินรถ สำหรับสนิมที่ยอมรับได้ กับยอมรับไม่ได้ จะมีเกิดขึ้น เช่น ที่จานดิสก์เบรกอาจจะมีสนิม อันนี้โดยทั่วไปยอมรับได้แต่หากสนิมขึ้นที่อื่นๆ เช่น ท่อไอเสียหรือ ชายขอบตัวถัง ใต้ชิ้นส่วนหนักของรถอันนี้ยอมรับไม่ได้
สีจะต้องสมบูรณ์ไม่มีรอยย่นหรือจุดด่าง สำรวจในจุดทุกจุด ทั้งกันชนหน้าหลัง หลังคา ฝากระโปรง
ยางหัวใจสำคัญ
หลายท่านวางใจรถใหม่ว่า จะได้ของคุณภาพเต็มร้อย โดยเฉพาะยาง ให้พิจารณาอย่างละเอียด ว่ายาง 4 เส้น รวมยางอะไหล่ รถดูว่ามีจุดแบนเรียบบนหน้ายางอันเกิดมาจากการจอดรถจุดเดียวนานเกินไปหรือไม่ มีความแข็งนิ่มของเนื้อยางผิดปกติหรือไม่ และลมยางจะต้องเป็นไปตามสเปคที่กำหนดโดย บริษัทรถยนต์หากไม่แน่ใจให้ทำการตรวจสอบด้วยเครื่องมือวัดอีกครั้ง
ภายในห้องเครื่องยนต์
วิธีการตรวจสอบก่อนรับมอบ หัวใจสำคัญอีกอย่างคือ ใต้ฝากระโปรง ตั้งแต่เครื่องยนต์ หม้อน้ำ น้ำมันไฮดรอลิคต่างๆ ต้องแน่ใจว่ามีน้ำในหม้อน้ำ ลองติดเครื่องดูว่าเครื่องยนต์เดินเรียบ ติดง่ายหรือไม่ การติดตั้งอุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่มีส่วนใดๆ ส่วนหนึ่งขาดเกินออกมาในลักษณะผิดปกติดูแบตเตอรี่น้ำกลั่นสมบูรณ์หรือไม่
ห้องโดยสาร
ในห้องโดยสารให้เข้าไปทำการ เปิดใช้อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานและตรวจสอบความสมบูรณ์ของระบบไฟและสัญญาณต่างๆ ทั้งวิทยุ เครื่องปรับอากาศ ให้ลองเปิดเครื่องปรับอากาศ ทิ้งไว้ 2-3 นาที และตรวจสอบความเย็นช้าหรือไม่ รอบเครื่องนิ่งปกติหรือสวิงไปมาหรือไม่ ลองปรับช่องหมุนเวียนอากาศ ว่าทำงานหรือไม่ สัญญาณไฟเตือนต่างๆ จะต้องดับลงในเวลากำหนด หลังจากที่ติดเครื่องยนต์ ต้องไม่มีสัญญาณสีแดงค้างอยู่ ยกเว้น สั่งให้ ระบบเชื่อมโยงสัญญาณ ทำงานต้องตรวจสอบเบรกมือ ขึ้น-ลงสะดวก หรือว่าต้องปรับตั้งใหม่ รถบางยี่ห้อจะปลดเข็มไมล์ และฟิวส์ต่างๆ ออก ซึ่งการส่งมอบต้องติดตั้งให้เรียบร้อย
สิ่งที่จะได้รับ
ในการซื้อรถ จะต้องได้อุปกรณ์มาตรฐานตามที่ตกลงไว้เช่น ยางอะไหล่ เครื่องมือประจำรถ แม่แรงและของแถมต่างๆ ที่ตกลงกัน จำนวนที่ให้มาได้ มาครบหรือเปล่า งานด้านเอกสารให้ทำความกระจ่างว่า เอกสารใดบ้างที่จะได้ในวันรับรถ และเอกสารใดบ้างจะส่งตามมาให้ทีหลัง (เช่นกรมธรรม์ประกันภัย )
การรับประกัน
หลังจากที่ดูอุปกรณ์แล้ว ให้มาทำความเข้าใจ 'เงื่อนไขการรับประกัน' ซึ่งเป็นการรับประกันโดยโรงงานผู้ผลิต ตรงนี้เอาให้ชัดเข้าใจถ่องแท้ แบตเตอรี่รับประกันไหม ผ้าเบรกรับประกันหรือไม่ แม้จะมีเอกสารเรียงตัวก็สอบถามกันเสียให้เข้าใจ จะได้ไม่ต้องมานั่งเถียงกัน
โดยทั่วไป อะไหล่ที่สิ้นเปลือง จะไม่ได้รับการคุ้มครองจากระยะประกัน อะไหล่เหล่านี้ เช่น สายพาน ไส้กรองต่างๆ ฟิวส์ ผ้าเบรก หัวเทียน แผ่นคลัตช์ ใบปัดน้ำฝน และยาง เป็นต้น
การปรับแต่ง ก็สำคัญ ส่วนใหญ่คนบริโภครถ ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ คือ รถบางครั้งออกไปขับอาจจะมีการทำงานไม่สมบูรณ์หรือระบบไม่เข้าที่เข้ามา ต้องมีการปรับแต่ง เช่น ระยะฟรีพวงมาลัย จังหวะการจุดระเบิด ไฟอ่อนไฟแก่ ถ่วงล้อตั้งศูนย์ โดยทั่วไปหลังการตรวจรถส่งมอบแล้วระยะหนึ่งอาจจะ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 5,000 กิโลเมตร หากมีปัญหาแล้วเขาทำฟรี ต้องถามด้วย หากมีการถ่ายน้ำมันเครื่อง น้ำยาต่างๆ ในช่วงของการทำฟรีนั้น น้ำยาเหล่านี้ใครเป็นคนออกค่าใช้จ่าย
เรียนรู้เรื่องรันอิน
จากนั้นคนรับรถต้องเข้าใจ การใช้รถในระยะแรก หรือระยะรันอินที่ถูกต้องเป็นทำอย่างไร การบำรุงรักษาประจำวันทำอย่างไร เพื่อที่จะได้เข้าใจพื้นฐานที่ถ่องแท้ ไม่ใช่ออกมาจากศูนย์ ไม่รู้ว่าเติม 95 หรือ 91 หรือว่าเบนซินหรือดีเซล (ความรู้ทั้งหมดหาได้จากคู่มือประจำรถ ) ทั้งนี้เทคนิคการใช้รถใหม่ จะมีรายละเอียดต่างกันตามแต่ผู้ผลิตจะกำหนด
อุปกรณ์พิเศษ
การดัดแปลงสภาพ หรือภาษาเราๆ คือ การไปเพิ่มออฟชั่นต่างๆ ทั้งนอกศูนย์ในศูนย์ เช่น เอารถไปติดสัญญาณกันขโมย พ่นกันสนิม ติดอุปกรณ์เครื่องเสียง ทีวี นั้น เขามีข้อจำกัดแค่ไหนเวลารถรวนขึ้นมา
ส่วนใหญ่ผู้ผลิตจะบอกว่า การดัดแปลงรถ ผิดเงื่อนไขการรับประกันไม่รับผิดชอบ แต่อาจจะระบุว่า ติดกับดีลเลอร์ไม่เป็นไรติดข้างนอกไม่รับประกัน
สำหรับท่านที่ต้องการ การดัดแปลงรถ หากต้องติดอุปกรณ์ต่างๆ ทางเลือกที่แนะนำคือ เลือกร้านที่มีความสามารถในการเถียงแทนเรา นั่นคือ ซื้อของจาก ตัวแทนขายหรือสินค้าที่ค่อนข้างมีชื่อ
หากมีกรณีต้องรบรากัน เขาพอมีกำลังที่จะทำการพิสูจน์ว่า เจ้าเครื่องเสียงหรือสัญญาณแปลกปลอมที่ติดในรถนั้น ไม่ได้เป็นมูลเหตุให้รถมันรวนได้
เครื่องเสียงดีๆ กันขโมยดีๆ ผู้ผลิตเขาจะไปรับหน้าเสื่อเถียงแทนเรา เพราะมันหมายถึงคุณภาพของๆ ที่อยู่ในตลาด
งานเอกสารและการใช้
การรับรถใหม่จะเกี่ยวข้องกับป้ายทะเบียน โดยจะได้รับป้ายชั่วคราว เป็นพื้นสีแดง ตัวหนังสือสีดำ และต้องมีตรานูน ของกรมขนส่งทางบก ป้ายจะต้องเป็นของแท้ หากเป็นของปลอมจะถูกจับ ป้ายนี้มีเงื่อนไขการใช้ โดยเฉพาะระยะเวลาใช้รถ ต้องไม่เกินพระอาทิตย์ตกดิน หลังจากนั้นห้ามวิ่งจนกว่าจะเช้า
นอกจากนี้จะต้องมีสมุดคุม รถท่านจะต้องลงรายการทุกครั้งที่ขับรถมิฉะนั้น หากถูกเรียกตรวจ จะโดนข้อหาไม่ "ลงรายการใช้รถ" หรือไม่ก็หลีกเลี่ยงภาษี ปรับ 500 บาท ซึ่งอาจจะทำให้อารมณ์ชื่นมื่นที่ขับป้ายแดง กลายเป็นอารมณ์บูดไปในทันที บางครั้งเห็นเจ้าหน้าที่ละเลยแต่อย่างวางใจเมืองไทยอะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ
เมื่อรถมีปัญหาควรแจ้งผู้จำหน่ายแก้ไข และมีการลงรายการบันทึกไว้ ในทันที ในขณะที่การใช้รถใหม่ ทุกครั้ง ควรเพิ่มความระมัดระวังในการขับขี่
เพราะว่า อุปกรณ์บางอย่างยังอยู่ระหว่างการปรับตัว เช่น ยาง หรือเบรก ต้องสร้างความเคยชินกับรถ นอกจากนี้ควรเข้าใจอย่างท่องแท้เกี่ยวกับกติกามารยาทการใช้รถ เพื่อการขับรถอย่างปลอดภัย
เรื่องต่างๆของ"ล้อแม็กซ์" ที่ควรรู้
ล้อแม็ก
ปัจจุบันความนิยมในการทำสวยให้รถยนต์ด้วยการใส่ล้อแม็กวงโตๆ ควบคู่ไปกับยางซีรี่ส์ต่ำๆ กำลังเป็นที่นิยมกันมาก ซึ่งเดี๋ยวนี้ ขนาดของวงล้อนั้น "เลยเถิด ไปจนถึงระดับ 20 นิ้วขึ้นไปกันแล้ว แต่นั่นก็ถือว่าเป็นเพียงการเล่นกันแค่ในเฉพาะบางกลุ่ม เพราะล้อ และ ยางขนาดที่ว่ามานั้น 1 ชุดมีราคาแพงมากระดับที่สามารถจะซื้อรถยนต์มือสองมาขับเล่นกันได้สบายๆ ซึ่งในระดับปกติ ที่ชาวบ้าน เล่นกันนั้น ก็จะอยู่ประมาณ 16-17 ไปจนถึง 18 นิ้ว ตามสูตร "บวกสอง" จากขนาดปกติที่ทางโรงงานให้มา ซึ่งเป็นขนาด ที่จัดว่า "เล่นได้" และให้ความสวยงามกับตัวรถในแบบที่คุ้มค่าลงตัวเป็นที่สุด
ล้อแม็กวันนี้เหลือแค่ชื่อ
หลายท่านคงเคยสงสัยว่าทำไมต้องเรียกล้อรถยนต์ที่ไม่ใช้ล้อเหล็กปั๊มจาก โรงงานว่า "ล้อแม็ก" นั่นก็เพราะว่า "ล้อแม็ก" ในสมัยก่อนถูกผลิตขึ้นมาโดยมี "แมกนีเซียม" เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพื่อจุดประสงค์ในการลดน้ำหนักของ กระทะล้อ ให้น้อยลง ล้อแม็กจึงมีน้ำหนักเบากว่าล้อเหล็กแบบเดิม จากคุณสมบัติของ แม็กนีเซียม ที่เป็นโลหะน้ำหนักเบา และนั่นจึงเป็นที่มาของคำว่า "ล้อแม็ก" ที่เรียกกัน ต่อๆ มาจนถึงปัจจุบัน
แต่ด้วยข้อด้อยของล้อแมกนีเซียมในด้านต้นทุนการผลิตที่แพงมาก บวกกับคุณสมบัติของเนื้อแมกนีเซียม ที่ง่ายต่อการสึกกร่อน เมื่อนำมาใช้งานกับรถยนต์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน ความนิยมในตัวล้อแมกนีเซียมแท้ๆ จึงค่อยๆ จางไป พร้อมกับการเข้ามาแทนที่ของ ล้ออลูมินั่มอัลลอย ซึ่งมีราคาที่ถูกกว่า ผลิตได้ง่ายกว่า
แม้ว่าน้ำหนักจะมากกว่าล้อแม็กนีเซียมอยู่บ้าง แต่ก็ยังเบากว่ากระทะเหล็ก ซึ่ง ล้ออลูมิเนียม ก็มีให้เลือกมากมายหลายยี่ห้อ ตามแต่ราคา และคุณภาพของเนื้อวัสดุ ที่นำมาผลิต ส่วนใหญ่ก็จะใช้อลูมินั่มอินกอต, สตอนเซียม, ซิลิคอน และแม็กนีเซียม เป็นพื้นฐาน ซึ่งต่อมาล้อที่ทำจากอลูมินั่มอัลลอยก็ได้รับความนิยมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงเรียกกันติดปากว่า "ล้อแม็ก" แม้ว่าจะไม่ได้ใช้แม็กนีเซียม เป็นวัตถุดิบหลัก ในการผลิตแล้วก็ตาม
หน้าที่หลักที่ไม่ใช่แค่สวย
พัฒนาการของล้อแม็กนั้น เริ่มขึ้นในวงการรถแข่ง จากความต้องการที่จะให้กระทะล้อที่มีน้ำหนักเบา เพื่อลดแรงต้านทาน การหมุน ให้ได้มากที่สุด รวมทั้งคุณสมบัติปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งถือเป็นผลพลอยได้ที่ตามมาก็คือ การลดภาระให้กับระบบกันสะเทือน และ บังคับเลี้ยวซึ่งจะส่งผลให้การบังคับควบคุมรถเป็นไปได้อย่างฉับไว รถมีการตอบสนองต่อคำสั่งได้ดี และเร็วขึ้น
สุดท้ายก็คือ เรื่องการช่วยระบายความร้อนจากคุณสมบัติของตัววัสดุคือแม็กนีเซียม และ อลูมินั่มอัลลอยที่มีการอมความร้อนน้อยกว่าเหล็ก โดยจะส่งผ่านความร้อน ทั้งที่เกิดจากล้อยาง เสียดสีกับพื้นถนนเวลาวิ่ง ตลอดจนความร้อนที่เกิดจาก การเบรคออกออกสู่ภายนอก ได้เร็วกว่า กระทะเหล็กธรรมดา ซึ่งคุณประโยชน์ต่างๆ ของล้อเม็กที่กล่าวมานี้ ถือว่าเป็นสิ่งที่มองข้ามไป ไม่ได้ ในวงการแข่งรถ แต่สำหรับรถที่ใช้งานบนถนนทั่วไป การเลือกซื้อล้อแม็ก อาจจะคำนึงถึง ความสวยงาม ขนาดรูปแบบและวิธีการผลิตเป็นสำคัญก่อน โดยเรื่องความสวยงามนั้น ก็ขึ้นอยู่กับ รสนิยมของแต่ละบุคคลซึ่งคนส่วนใหญ่ มักจะใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้อเป็นหลักอยู่แล้ว
เรื่องขนาดก็ถือว่าสำคัญไม่แพ้กันเพราะล้อแม็กวงโตๆ จะช่วยขับให้รถดูสวยโดดเด่นขึ้นมาทันที (หากเลือกซื้อได้ลงตัว) แต่ โปรดทราบว่าการใส่ล้อที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติจนเกินไปนั้น จะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี เริ่มจากช่วงล่าง หรือระบบกันสะเทือนของรถ ที่ต้องรับภาระมากกว่าปกติกินแรงของเครื่องยนต์จากน้ำหนักที่มากขึ้น และหน้าสัมผัสของยางที่ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้อัตราเร่ง และ ความเร็วสูงสุดของรถน้อยลงไป
วิธีการผลิต
การผลิตล้อแม็กในปัจจุบันจะมีอยู่ด้วยกันคร่าวๆ 2 วิธี ซึ่งสามารถบ่งบอก ถึงคุณภาพ และความทนทานของล้อแม็กนั้นๆ โดยสามารถดูได้จากขั้นตอน การ ผลิต ว่าเป็นล้อแม็กที่ผ่านกรรมวิธีการผลิต แบบไหน...
1. แบบตักเท ผลิตโดยการ หลอม เนื้อวัสดุให้ละลาย แล้วตักเทใส่แม่พิมพ์พอแข็งตัวก็เอาออกมาขัดแต่ง เจาะรู ล้อมแม็กแบบตักเทนี้มีข้อดีคือ ราคาถูกผลิตง่าย แต่คุณภาพจะไม่สูงนัก เนื้อไม่แน่น ไม่เข็งแรงเท่าไหรนักเพราะอาจจะมีฟองอากาศแทรกอยู่ภายใน แต่ก็ถือว่าพอใช้ได้ และมีแพร่หลายมากที่สุด เพราะผลิตง่าย ราคาถูก
2. แบบแรงดันสูง ผลิตโดยส่งผ่านวัสดุที่หลอมเหลวไปยังแม่พิมพ์ที่ปิดผนึกด้วยความดันสูงจนเต็ม พร้อมทำการไล่ฟอง อากาศ ออกไปด้วย เมื่อแข็งตัวก็เอาออกมาขัดแต่ง เจาะรู ล้อที่ได้จะมีเนื้อแน่น แข็งแรงมาก ฟองอากาศน้อย แต่ไม่ค่อยได้รับความนิยม เพราะ ต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป
ค่าต่าง ๆ ของล้อแม็กที่ควรทราบ
ระยะ PCD หรือ "Pitch Circle Diameter" คือ ระยะงของรูน็อต ที่ตัวล้อแม็ก และดุมล้อต้องมีระยะที่เท่ากัน มีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร โดยส่วนมาก รถรุ่นใหม่ๆ ที่มีน็อตล้อแบบ 4 รูจะมีระยะ PCD 100 มม. แต่ก็มีอีกมากมาย หลายรุ่นที่ใช้ค่า PCD ขนาดอื่นๆ เช่น 98, 108, 110, 114.3 ซึ่งต้องเลือกดู ให้ดี
และอีกค่าที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันก็คือ "ค่าอ๊อฟเซ็ท" ซึ่งก็คือ ค่าที่บอกตำแหน่งของหน้าแปลนด้านในของล้อแม็ก ที่สัมผัสกับดุมล้อเมื่อเทียบวัดกับกึ่งกลางของล้อแม็กในด้านข้าง มีหน่วยเป็นมิลลิเมตรเช่นกัน ดูง่ายๆ คือ ถ้าล้อแม็กมีค่าอ๊อฟเซ็ท เป็น บวก เมื่อใส่เข้าไปแล้วล้อนั้นจะยื่นออกมาน้อยกว่าล้อแม็กที่มีค่าอ๊อฟเซ็ทเป็นลบ ซึ่งตัวแปรอีกอย่างที่จะบอกว่าเมื่อใส่ล้อแม็กชุดนั้น เข้า ไปแล้ว ล้อจะ "ล้น" หรือจะ "ซุก" เข้าไปในอุโมงค์ล้อก็คือ ความกว้างของล้อแม็ก ซึ่งเวลาซื้อก็ควรจะต้องทำการเทียบวัดให้ดีเสียก่อน ตัดสินใจ
หมายเหตุ
*P.C.D. คือ เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมที่ลากผ่านจุดกึ่งกลางรูน็อตของล้อทั้งหมด
**Offset คือ ระยะงระหว่างเส้นกึ่งกลางกระทะล้อกับหน้าแปลนดุมล้อ
จำนวนชิ้นสำคัญแค่ไหน
คงจะเคยได้ยินกันบ้างสำหรับคำว่า "ล้อแม็ก 2 ชิ้น" หรือ "3 ชิ้น" ซึ่งนั่น หมายความว่าเป็นล้อแม็กนั้นเป็นแบบที่ถอดแยกชิ้นออกจากกันได้ แต่ล้อแม็กแบบ ชิ้นเดียว จะได้รับความนิยมมากที่สุด ในแง่ผู้ผลิตเพราะผลิตง่าย ราคาต้นทุนไม่สูงนัก สำหรับผู้ใช้ก็คือ มีคุณสมบัติแข็งแรงทนทานมากกว่า
ในด้านการรับน้ำหนัก และแรง กระแทก แต่ก็ต้องแลกมาด้วยราคาที่แพง และ ความแข็งแรง ที่อาจจะสู้แบบชิ้นเดียวไม่ได้ โดยล้อแม็กแบบแยกชิ้นนั้น สามารถแยก ออกจากกันได้เป็น 2 หรือ 3 ชิ้น คือมี ขอบล้อ 1 หรือ 2 ชิ้น และหน้าแปลนตรงกลาง อีก 1 ชิ้น โดยใช้น็อตเป็นตัวยึด เข้าด้วยกัน
เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ข้างต้นคงจะสามารถเป็นแนวทาง ในการเลือกซื้อล้อแม็กได้บ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าใช้ ความสวยงามเข้ากับตัวรถเป็นเกณฑ์หลัก ในการเลือกซื้อเท่านั้น เพราะต้องคำนึงถึงคุณภาพ ระยะของค่าต่างๆ ที่เหมาะสมแล้ว ยังต้องดูในเรื่องของล้อแม็กแท้, เทียม, ใหม่ และเก่าอีกด้วย