ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
21 กรกฎาคม 2025, 18:00:25
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: อยากทราบเทคนิคการขับรถขึ้น-ลงเขาครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: อยากทราบเทคนิคการขับรถขึ้น-ลงเขาครับ  (อ่าน 27835 ครั้ง)
folk_photo
เข้าวงการ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 12:02:24 »



ตอนนี้ผมใช้ civic ปี 00 เกียร์ธรรมดาครับ ไม่เคยขับขึ้นเขาสักที่ ขอบคุณล่วงหน้าครับ
บันทึกการเข้า
Aod61 : มิสซิสซิปปี้
ผู้คุมกฎ
อาจารย์ปู่
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 18,391


รับแก้ทอม ซ่อมดี้


« ตอบ #1 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 12:40:30 »

เอาง่ายๆ ก็ใช้เกียร์ต่ำครับ อย่าเลียครัชบ่อย   และกะจังหวะส่งเนินให้ดีครับ 
บันทึกการเข้า

j_nobita
อยากกระโดดหอมแก้ม
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16,034

เหมียว หง่าว


« ตอบ #2 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 12:50:19 »

ลงเนินใช้เกียร์ต่ำ 1-2 ให้เครื่องช่วยดึงรอบ แตะเบรคเป็นระยะๆ ไม่เบรคค้าง ไม่อย่างนั้นเบรคจะไหม้ แย่สุดคือเบรคแตก
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำ1-2 ใช้ความเร็วสม่ำเสมอ ไม่เร่งความเร็ว เครื่องอาจน๊อค หรืออาจหลุดโค้ง ไปชนรถที่สวนลงเนินมาได้

 อายจัง ประมาณนี้
บันทึกการเข้า

คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
sha_do
บุคคลทั่วไป
« ตอบ #3 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 16:54:59 »

ลงเนินใช้เกียร์ต่ำ 1-2 ให้เครื่องช่วยดึงรอบ แตะเบรคเป็นระยะๆ ไม่เบรคค้าง ไม่อย่างนั้นเบรคจะไหม้ แย่สุดคือเบรคแตก
ขึ้นเนินใช้เกียร์ต่ำ1-2 ใช้ความเร็วสม่ำเสมอ ไม่เร่งความเร็ว เครื่องอาจน๊อค หรืออาจหลุดโค้ง ไปชนรถที่สวนลงเนินมาได้

 อายจัง ประมาณนี้
ตามกูรู 2 ท่าน แนะนำเลยคับ แต่ไปขึ้นดอย ผทลงเกียร์ 3 ซะส่วนใหญ่
บันทึกการเข้า
j_nobita
อยากกระโดดหอมแก้ม
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 16,034

เหมียว หง่าว


« ตอบ #4 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 17:02:15 »

 อายจัง ปล. เกียร์ออโต้ที่ผมใช้
เชียงใหม่ ไป ปาย 1-2-3 สบายๆ
แต่ ปาย แม่ฮ่องสอน 1-2-1-2
แม่สอด ดอยตุง 1-2
ภูชี้ฟ้า 1-2-3 
อายจัง
บันทึกการเข้า

คิดดี พูดดี ทำดี คบคนดี ไปสู่สถานที่ดี
moko_moo
ศิษย์พี่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 207



« ตอบ #5 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 19:28:12 »

ผมเพิ่งจะพาตาโตผมไปเขาค้อมา สงสารรถสุดๆเลยครับกลัวไปไม่รอด
ลงเขาใช้เกียร์ 2 ออโต้ ลงวืดๆเลยครับใจหายเหม็นผ้าเบรคเลยครับ
บันทึกการเข้า

ขับ Civic หน้าตาดีทุกคน ขอบอก
ROOT
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 296


อบอุ่นทุกครั้งที่เข้าคลับนี้


« ตอบ #6 เมื่อ: 13 มกราคม 2009, 22:32:45 »

ผมก็เพิ่งกลับจากเขาฆ้อมาเหมือนกัน...5 คน บรรทุกของปิ๊กนิ๊กอีกเพียบขึ้นไปพระตำหนักด้วยและจุดที่สูงสุดที่เป็นสุสานผู้กล้าด้วย...........สงสารรถสุดๆ....แต่ก็ภูมิใจที่เจ้าหนู DIMENTION 2002 ไม่โกงเลยเก่งมากลูกพ่อ...เยี่ยม.....
อ้อ......ลืมเข้าเรื่อง ขับรถขึ้นเนินก็เกียร์ต่ำครับ ลงก็เกียร์ต่ำที่สำคัญตอนลงห้ามประหยัดโดยการปล่อยเกียร์ว่างเด็ดขาดอันตรายสุดๆ ลังเล ลังเล ลังเล ลังเล
บันทึกการเข้า

"คนทุกคน คือคนเหมือนกัน คุณก็คือหนึ่งในตองอู"
Erotic_SecreT
ศิษย์พี่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 195

1000 แรงโม้ ได้ใจจริงๆ


« ตอบ #7 เมื่อ: 15 มกราคม 2009, 10:44:42 »

เกียร์ธรรมดา เวลาขึ้นเขา ตามพี่ๆ ข้างบนเลยครับ  เลียคลัช ให้น้อยที่สุด แล้วอย่าพยายามเชน เกียร์ ขึ้นไป สูงเกินกว่า 3 (ในกรณีไม่ชันมากนัก)  ลากรอบขึ้นไปแทน หากทางชัน มีการ เชนเกียร์ สูงไปจะเสียกำลัง ทำให้ต้องทดเกียร์ลงมาสร้างกำลังใหม่ มันจะเป็นการทรมานเครื่องมากกว่า    หารถต้องติดบนทางลาดชัน  พยายามใช้เบรคมือช่วยครับ  เพื่อไม่ให้รถไหล เพราะเวลาไหลแล้วปัญหา มันมีสองประเด็น  ประเด็นแรก อาจจะถอยใส่ผู้ตามท้ายเรามา  อีกประเด็น เผื่อยกเบรคเหยียบคลัชเข้าเกียร์ แล้วเลียคลัชพร้อมกับเร่งคันเร่ง ไม่ทันรถก้อไหล แล้วก้อพุ่ง 


เวลาลงเขาลงดอยมา  พยายามใช้เกียร์เหมือนเดิม  และใช้คลัชให้น้อยลงครับ  เวลาลงเนินลงเขา ห้ามเหยียบคลัช ให้เกียร์ ช่วยหน่วงไว้เพื่อความปลอดภัย แล้วเวลาเบรค  ก้อเบรค ก่อนเข้าโค้ง พอถึงโค้งก้อให้เกียร์ พาเข้าโค้งไป ห้ามเหยียบคลัชเพราะจะทำให้รถไม่มีแรงต้านแล้วเสียหลักได้ง่ายมาก  สำหรับเรื่องการเหยียบเบรคตอนลงเขา ให้เบรคย้ำๆ เป็นช่วงๆ อย่าเบรคแช่ครับ เพราะผ้าเบรคจะใหม้ กลิ่นจะหอมมาแต่ไกล แถมเบรคไม่ค่อยอยู่ด้วย
บันทึกการเข้า

ช่างชั้นดี เจ้าของรถพัง ,,  สบาย สบาย  เชียงใหม่ ไทยแลนด์
enfant
ชาวยุทธ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 6


« ตอบ #8 เมื่อ: 15 มกราคม 2009, 11:20:04 »

ถ้าคิดว่าจะได้ขับขึ้นลงเขาบ่อยๆ และอยากเพิ่มประสิทธิภาพของเบรค แนะนำให้เปลี่ยนผ้าเบรคครับ
ให้เปลี่ยนไปใช้แบบที่ทนความร้อนได้สูงๆ เช่นพวก National NA-P หรือ Bendix
พวกนี้จะทนความร้อนได้มากกว่าผ้าเบรคทั่วไป และแรงเสียดทานเยอะกว่า(หยุดรถได้ดีกว่า)

ถ้าคนที่ไม่ค่อยชินกับการลงเขา ส่วนใหญ่จะแช่เบรคไว้ตลอด ทำให้ผ้าเบรคร้อนมากๆๆๆๆๆ
ผ้าเบรคที่ติดมากับรถไม่ได้ทำไว้เผื่อการใช้งานเบรคอย่างหนักและต่อเนื่อง และจะทำให้
ประสิทธิภาพในการเบรคลงลด..อย่างมาก

ผมเพิ่งเช่ารถ camry ไปที่ภูชี้ฟ้า ขาลงพยายามลงช้าๆและใช้เบรคให้น้อยที่สุด ตอนจอดรถลงมา
ยังได้กลิ่นไหม้เลยครับ

ส่วนขาขึ้นต้องเลือกจังหวะเกียร์ให้ถูกครับ เพราะว่าถ้าเกียร์สูงไป รถจะไม่มีกำลังขึ้น

ว่าแต่จะไปเขาไหนครับจะได้แนะนำถูก

เขาที่ทางลาดๆยาว(ดอยอินทนนท์) กับเขาที่ชันๆสั้นๆ (ดอยอ่างขาง) โค้งกลับรถขึ้นเขา นี่วิธีขับยากง่ายก็ต่างกันครับ

เขาที่ชันๆสั้นๆโค้งแบบหักศอกหรือกลับรถ อันนี้ขาขั้นใส่เกียร์ 1 ตลอดครับ ไม่ต้องเปลี่ยน
เขาแบบนี้ขึ้นยากกว่าลง

เขาที่เป็นทางลาดยาวๆ แบบนี้ขาลงจะน่ากลัวกว่าขาขึ้นครับ เพราะรถจะไหลลงมาเร็วขึ้นเรื่อยๆ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มกราคม 2009, 11:31:50 โดย enfant » บันทึกการเข้า

รถของเราจะสวยและดูดี ถ้าไม่เอาไปเทียบกับคันอื่น ยิ้ม
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #9 เมื่อ: 15 มกราคม 2009, 15:44:38 »

สิ่งแรกที่เราต้องคำนึง เมื่อต้องเดินทางท่องเที่ยว ที่มีเส้นทางผ่านภูเขา เช่นเส้นทางภาคเหนือ
เราจะต้องตรวจสภาพรถที่จะขับไป ว่ามีสภาพความพร้อมแค่ไหน โดยเฉพาะเรื่องระบบเบรคของรถเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง  เพราะนั้นหมายถึงชีวิต ควรให้ช่างตรวจสอบเรื่องระบบเบรค ผ้าเบรค ระบบขับเคลื่อนเพลา ยางรถ  และก็ระบบเกียร์ของรถ  ฟังดูแล้วน่ากลัวทำมัยมันมากนัก แต่หากรถที่ท่านใช้เป็นรถที่ค่อนข้างใหม่ หรือมีความพร้อมอยู่แล้ว ก็ไม่น่าเป็นปัญหา ขอให้ตรวจสอบเรื่องระบบเบรคและระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์   หากรถยนต์ที่ค่อนข้างมีปัญหาเรื่องระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ อย่าเสี่ยงเลยครับ  เพราะขับรถขึ้นเขาเครื่องยนต์ทำงานหนัก รอบเครื่องยนต์ค่อนข้างใช้รอบสูงที่เกียร์ต่ำๆ โดยเฉพาะเส้นทางที่มีทางชันเป็นระยะไกลเป็นกิโลๆ  ความร้อนของเครื่องยนต์จะสูงขึ้นมาก ในกรณีที่มีปัญหาอยู่แล้ว ผู้ที่ไม่มีความชำนาญในการขับ ไม่รู้จักการใช้รอบส่งรถขึ้นเนินลงเนิน หรือไม่เข้าใจในกำลังรถว่าควรจะใช้เกียร์อะไร ถึงจะทำให้เครื่องมีความสมดุลในการเอาชนะโหลด และทำงานที่รอบต่ำๆ  ผมเคยเห็นรถหลายๆคันจอดข้างทางหม้อน้ำเดือด ครัชท์ไหม้ เพราะขาดประสบการณ์ และความไม่สมบูรณ์ของเครื่องยนต์
ก่อนที่จะมาเริ่มในการใช้รถ ผมขออนุญาตกล่าวถึงความเข้าใจเรื่องของการขับรถ  การขับรถที่ปลอดภัยผู้ขับจะต้องให้ความรู้สึกว่า รถที่เราใช้เป็นเสมือนส่วนหนึ่งของร่างกายเรา หมายความว่า การตอบสนองในการขับขี่ไม่ว่าจะเป็นอริยาบทใดๆ ที่มีการเคลื่อนไหวและการบังคับใช้รถ จะต้องเป็นตามที่เราคิดและให้ผลตอบสนองได้ทันท่วงที  หรือรู้ถึงความสามารถของรถ เสมือนประหนึ่ง มันอยู่ในระบบประสาท ในร่างกายของเรา  รู้ว่ามันมีความสามารถอย่างไร มั่นใจและแน่ใจ ว่าอุปกรณ์ต่างๆ หากให้มันทำงาน แล้วจะให้ผลตอบสนองอย่างไร ต้องให้เหมือนกับการใช้ส่วนร่างกายของตัวเราเอง รู้ถึงความผิดปกติ จุดด้อยจุดเด่นของรถได้ดี เช่นกับการที่เราจะบังคับรถให้หยุด ว่าควรจะเหยียบเบรค ให้มีกำลังกดแป้นเบรค มีน้ำหนักการกดสักเท่าใด รถถึงจะหยุด กับที่ความเร็วต่างๆ ทั้งที่รถมีน้ำหนักและไม่มีน้ำหนัก ให้เก็บความรู้สึกในข้อแตกต่างเหล่านั้นไว้ในความทรงจำ เพื่อเป็นข้อมูลในการใช้รถ รวมถึงการใช้ตำแหน่งของเกียร์รถ ในทุกย่านของความเร์วที่สัมพันธ์กัน เพื่อที่จะให้ได้แรงบิดของรถ เมื่ออยู่ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนต่ำแหน่งอย่างกระทันทัน สิ่งต่างๆเหล่านี้ทุกท่านที่ใช้รถส่วนใหญ่ก็ทราบกันอยู่แล้ว นอกจากจะเป็นรถที่เรายังไม่คุ้นเคยกับการขับและเก็บข้อมูลไม่ดีพอ
ที่กล่าวมาข้างต้น มันมีส่วนที่เราจะต้องน้ำไปใช้ในการขับรถไต่เขา บนถนนที่มีความชันสูงๆ ทั้งขึ้นและลง แถมยังมีโค้งหักศอก ไม่ใช่หักศอกแบบถนนแนวราบนะครับ บางแห่งถนนมีความชันน้องๆสี่สิบกว่าองศา ไต่ขึ้นไปได้ระยะหนึ่งจำเป็นที่จะต้องหักศอกและไต่ระดับในแนวสูงอีก รถที่กำลังไต่ระดับต้องใช้กำลังแรงบิดอย่างสูง เมื่อใช้แรงบิดที่สูงก็จำเป็นที่จะต้องใช้เกียร์ต่ำ รอบเครื่องยนต์ก็จะสูง ตาม แถมหากผู้ขับไม่มีความชำนาญในการใช้รถ ในช่วงที่จังหวะหักศอกและรถเสียจังหวะในการใช้แรงส่งของรถ ทำให้รถไม่มีกำลังลากรถไต่ต่อไป เพราะต้องเสียจังหวะกับการเปลี่ยนเกียร์ ช่วงนี้แหละบางครั้งอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ หากเป็นรถเกียร์ธรรมดา ผู้ขับขี่บางท่านที่คุมสติไม่ค่อยอยู่จะเกิดอาการรนลาน กลัวว่ารถจะไหลลงมาข้างล่าง ต้องเหยียบเบรคให้แน่น พร้อมทั้งเหยียบครัชท์  กับการสลับต่ำแหน่งเกียร์มาที่เกียร์หนึ่ง  ลองคิดดูก็แล้วกันในวินาทีนั้น รถจอดอยู่กับที่ไม่มีปัญหา แต่จะเป็นปัญหากับที่จะต้องขับรถไต่ขึ้นไปอีก ในเส้นทางที่สูงชัน เพื่อนๆลองนึกถึงสภาพที่ว่านี้ซิครับ บางท่านที่ไม่มีความชำนาญในการขับ ออกตัวของรถในที่ชัน จะทราบถึงความรู้สึกช่วงนี้ได้ดี หัวใจเต้นไม่รู้ว่าจังหวะอะไร  การที่จะปล่อยเบรกที่เหยียบหันเท้ามาแตะคันเร่งแล้วเท้าอีกข้างค่อยปล่อยครัชท์ เพื่อที่จะให้รถขยับเคลื่อนตัวไปข้างหน้า จะต้องกระทำอย่างชำนาญและรวดเร็ว ไม่อย่างนั่นรถจะถอยหลังลงมา หรือเลี้ยงครัชท์ไม่เป็น บางครั้งเครื่องยนต์ดับอีก ทำเอาหงื่อใหลใจหายให้ประทับใจกันไปก็มี ช่วงอย่างนี้ก็ต้องมีวิธีการและเทคนิคเล็กน้อยที่เข้ามาสร้างความมั่นใจให้สามารถขับรถขึ้นทางชันต่อไปได้ ผมถึงกล่าวมาแล้วข้างต้นไงว่า อันรถนั้นเราต้องมีความรู้สึกว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของร่างกายเรา หากเราไม่รู้มัน มันก็จะทำให้เราต้องเสียใจ ความชำนาญบวกกับประสบการณ์ ที่จะช่วยได้  หลายๆท่านกว่าจะได้ประสบการณ์มา ก็เข้าทำนองว่า ผิดเป็นครู หรือเกิดอุบัติเหตุมาก่อน มากบ้างน้อยบ้าง หรืออย่างน้อยก็สร้างวีรกรรมความไหวหวั่น อกสั่นขวัญเสียกันมาแล้ว รวมทั้งผู้ที่นั่งไปด้วยก็มี  แล้วมีวิธีการแก้ไขสถานการณ์นี้ได้อย่างใด วิธีการรขับรถขึ้นเขาทางชันและทางลงลาดชัน เขาขับกันอย่างไร รวมถึงสภาพการใช้ความเร็วของรถ และองค์ประกอบอื่นๆ ที่น่าสนใจ  หากเพื่อนๆยังให้ความสนใจก็จะเข้ามาสานต่อ จากประสบการณ์ของผมเอง ที่ลองผิดลองถูก กับการใช้รถ มาตั้งแต่ปี 2514
เรื่อยมา จนถึงทุกวันนี้ เกือบทุกตำบลของประเทศไทย และในประเทศข้างเคียง ทั้งโฟว์วีลและธรรมดา
ก็พอมีประสบการณ์อยู่บ้าง นิดๆหน่อยๆ  พอมาเล่าสู่กันฟัง มีสาระบ้างหรือไม่ค่อยมีสาระบ้าง ก็อย่าว่ากันนะครับ คิดเสียว่าเก็บเอาไว้คอมแพร์ก็แล้วกัน?..srithanon   
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: อยากทราบเทคนิคการขับรถขึ้น-ลงเขาครับ
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |