การดัดแปลงแก้ไข Flasher ไฟเลี้ยว ของหลอดไฟแบบกลม ที่มีใส้หลอด มาเป็นหลอดไฟแบบ LED ( Light Emitting diode) ซึ่งจะเห็นความแตกกันทั้งรูปแบบการทำงานและโครงสร้างของวัสดุที่ใช้ จึงเป็นปัญหาที่ทำให้วงจรไฟเลี้ยว ที่ใช้ Flasher เป็นระบบอีเลคโทรนิคส์ ทำงานร่วมกับระบบรีเรย์ ไม่สารถทำงานได้ในลักษณะของหลอดแบบกลมที่มีใส้หลอด ที่ทำให้กระแสไฟไหลผ่านลงกราวด์หรือครบ Loop circuit ของการใช้กระแสไฟของโหลด
เพราะการทำงานของวงจรในตัว Flasher ที่ใช้วงจรพวกวงจร Flip Flop IC/ Timer IC แบบต่างๆ ที่อาศัยการไหลของกระแสไฟของโหลด ผ่านค่า ความต้านทาน ที่มีค่า R และ C ในการสร้างสัญญาณพัลส์โวลเต็จ กำหนดช่วงเวลาของการเกิดพัลส์ และขับกระแสไฟให้ตัวรีเรย์ทำงาน ให้หลอดไฟกระพริบ
เนื่องจากหลอด LED ไม่มีใส้หลอด เหมือนกับหลอดไฟกลม จึงทำให้กระแสไฟไม่สามารถไหลผ่านได้โดยตรงลงกราวด์ เพราะคุณสมบัติของ LED ที่มันสามารถเปร่งแสงออกมาได้เพราะ ตัวมันเป็นสารกึ่งตัวนำ ที่อาศัยการเคลื่อนที่ของอีเล็คตรอนอิสระ ในวงจรของนิวเคลียสวงนอกสุดข้ามไปยังจรในสุดของวงนิวเคลียส มันจะปลดปล่อยพลังงานออกมาในรูปของแสงที่มีความถี่ต่ำ ที่สายตามองเห็นได้ จึงทำให้ไม่มีกระแสไฟไหลผ่านหลอด LED จะมีก็เพียงเปลี่ยนกระแสไฟให้เป้นพลังงานแสง ตามที่กล่าว ทำให้ไม่มีกะแสไฟไหลผ่านโหลดที่เป็นแบบหลอดไฟ LED
เมื่อเป็นดังนี้การที่จะเอาหลอด LED มาต่อแทนหลอดไฟกลมที่เป็นไส้หลอด ก็จะเอามาแทนกันไม่ได้ หากนำมาติดตั้งแทนทันที่ จะทำให้กระแสไฟที่วงจร Flip Flop IC ไม่มีกระแสไหลผ่าน หรือ Open (หรือมีน้อยมาก) ทำให้วงจร ที่ค่า R
มีกระแสไฟไหลผ่านน้อย เป็นผลให้ไฟติดค้าางหรือมีความถี่ปิดเปิดเร็วมาก ดังจะเห็นได้จากวงจรไฟเลี้ยวที่มีหลอดไฟแบบมีไส้ ข้างหนึ่งข้างใดของรถขาด เช่นหลอดไฟเลี้ยวดวงหน้าขาด ก็จะทำให้ไฟเลี้ยวด้านนั้น อาจจะติดตลอดไม่กระพริบหรือ กระพริบเร็วมากๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะว่ากระแสไฟที่ไหลผ่านหลอดน้อยลงเพราะเหลือหลอดเดียว ทำให้วงจร Flip Flop สร้างสัญญาณพัลส์เร็วขึ้น
หรือจะพิสูจน์ง่ายๆในเรื่องนี้ก็ไม่ยาก ลองเปลี่ยนหลอดไฟเลี้ยวกลม จาก 5 w เป็น 10 w เปลี่ยนทั้งสองหลอดหน้าหลัง ของด้านไฟเลี้ยวซ้ายหรือขวา ด้านใดด้านหนึ่ง แล้วลองเปิดไฟเลี้ยวด้านที่เปลี่ยนหลอดดู จะพบว่าหลอดไฟกระพริบช้าลง ในทางตรงกันข้ามหาก เปลี่ยนหลอดไฟให้มีค่าวัตต์น้อยลง มันก็จะกระพริบเร็วขึ้น ก็ลองดู การกระพริบน้อยหรือมากโดยการเปลี่ยนค่าวัตต์ของหลอดไฟ นอกจากนี้แล้วการที่จะกำหนดให้การกระพริบของหลอดไฟ ได้ตามต้องการ ยังจะต้องเปลี่ยนแปลงค่า R หรือ C ในวงจร Flip Flop ด้วย ที่กล่าวมานี้เป็นไฟในรูปแบบของการใช้หลอดไฟกลมที่มีไส้หลอด
ต่อไปจะกล่าวถึงการใช้หลอด LED มาใช้แทนหลอดแบบใช้ไส้หลอด ว่าจะมีวิธีการอย่างไรว่าให้ใช้แทนกันได้ จะต้องสร้างอะไรมาหรอกวงจร Flip Flop ให้มันทำงานเช่นเดียวกับหลอดไฟกลม ก็เนื้อหายาวสักนิด เพราะมีการสร้างค่าโหลดของการใช้กระแสไฟให้สามารถไหลผ่านลงกราวด์ได้ เช่นเดียวกับหลอดกลม ก็มีการคำนวณหาค่าโหลดที่จะนำมาใช้แทนหลอดกลม
มาต่อเนื้อหาเรื่องการดัดแปลงระบบไฟเลี้ยวแบบใช้หลอดกลมให้เป็นหลอด LED
ในตอนแรกที่ผ่านมาผมได้กล่าวไว้ว่า การทำงานของระบบตัว Flasher ที่เป็นแบบอีเลคโทรนิคส์ ที่มีพวกวงจร Flip Flop เข้ามาเกี่ยวข้อง หรือวงจรอื่นๆที่ทำงานคล้ายกัน แล้วแต่ผู้ผลิตเขาจะใช้ แต่ตัวที่ผมทำการทดสอบการทำงาน เป็นของ
TOYOTA 12-01 / DENSO 79007 DOT การทำงานของมันขึ้นอยู่กับการใช้กระแสของหลอดไฟที่เป็นโหลดของวงจร
ดังนั้นววิธีการที่จะให้วงจรมันทำงานแบบการใช้กระแสของหลอดที่มีใส้หลอด ก็จำเป็นที่จะต้องสร้างโหลด Resistance หรือค่าความต้านทาน มาทำการใช้กระแสไฟแทนหลอดแบบมีใส้ เพราะหลอด LED และเปร่งพลังงานแสงออกมาในรูปของการเคลื่อนที่ของอีเลคตรอนอิสระ และประการสำคัญ หลอด LED มันกินกระแสไฟน้อย จึงจำเป็นที่จะต้องทำตามวิธีที่ผมจะแนะนำต่อไปนี้
ประการแรกเราต้องทำการวัดกระแสไฟของหลอดกลม ในขณะที่ใช้งานคือเปิดไฟเลี้ยว จะซ้ายหรือขวาก็ได้ ให้มา VOM มิเตอร์ ต่ออันดับกับสายไฟที่มาจาก SW ของสวิชไฟเลี้ยว มาเข้าที่ขา L (แอล) ที่ด้านล่างของตัวแฟรชเชอร์ ตรงที่มีขั่วเสียบสามขาเสียบเข้ากับขาของตัวแฟขชเชอร์ เขาจะเขียนตำแหน่งของสายออกว่า ตัว L
โดยให้ตั้ง Range วัดกระแสที่ 10 Amp (ในมิเตอร์ทั่วๆไปมีให้วัดได้ 10 A ) หากไม่เข้าใจดูภาพที่ผมแนบมาประกอบ รูปที่ 2A