เดี๋ยวจะมีคนสงสัยว่าในเมื่อเปลี่ยนเขาเปลี่ยนท่อแล้วม้ามานิดเดียวแล้วผมเปลี่ยนทำไม
เดี๋ยวจะท้าวความให้ฟังมันมีเหตุ คือรถผมมันเป็นรถที่มีระบบอัดอากาศ แต่เดิมนั้น
หากใช้เทอร์โบลูกเดิมนั้น มันก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอัพเกรดสิ่งของพวกนี้ คราวนี้ปัญหามันอยู่ตรงที่ว่า
ด้วยเนื้อที่ของรถที่จำกัด และผมทำรถเพิ่มขึ้นไปจากเดิมหลายสเต็ป ทำให้ เฮดเดอร์เดิมจากโรงงาน
มันรองรับไม่ไหว จริงๆไม่เชิงว่ารองรับไม่ไหวเพียงแต่ด้วยข้อจำกัดของเนท้อในห้องเครื่อง
ทำให้เขาเดิมๆนั้น สูบที่5 มันคอดมาก ถ้าหากมีการใช้งานสมบุกสมบันมากๆคือเค้าแช่บูสต์หนัก
วาล์วไอเสียสูบที่5มีโอกาสไหม้ได้สูงมาก เคสพวกนี้ผมไม่จำเป็นต้องเรียนรู้เองเพราะที่เมืองนอก
รถที่ผมใช้ เค้าวัดflow rate ของไอเสีย ออกมาเป็นตัวเลข ด้วยความที่เขาควายของรถผมมันเป็น
Log style ไม่ใช่แบบ4-1 4 2 1 แบบรถทั่วๆไป รวมทั้งจุดประสงค์ผมยังคงต้องการใช้กล่องกรอง
อากาศเดิมๆ และ ด้วยเนื้อที่มันแคบมาก หากผมจะอัพเกรดไปเป็นเขาสแตนเลสนั้น ด้วยความแคบของมัน
ทำให้มันไม่มีช่วงยืดของเขาควายออกมาได้ เพราะผมก็ต้องการใช้กรองอากาศเดิมจึงจำเป็นต้องใช้เขาควาย
แบบเหล็กหล่อแต่เป็นของอัพเกรด เพื่อนผมมีคนทำเขาเลสออกมาใช้ได้อาทิตย์ร้าวเพราะมันทนความร้อนไม่ไหว
ตะเข็บแตกปริตลอด เลยจำเป็นต้องสั่งเขาควายเป็นเหล็กหล่อออกมา รถผมเปลี่ยนฮาร์ดแวร์หลายๆชิ้นครับ
หัวฉีด อินเตอร์ เทอร์โบ ปั๊มเชื้อเพลิง เรกูเรเตอร์ แคมชาร์ฟ แรงม้ามันเพิ่มจากของเดิมอีกเท่าตัว เพราะฉะนั้น ท่อไอเสีย,เขาควายมันจึงเป็น
requirement ที่มันจำเป็นจะต้องเปลี่ยนครับ ทุกอย่างมันรับภาระสูงขึ้นหมดจากบูสต์เดิมแค่1บาร์เศษ โดดขึ้นไป
เกือบๆ2บาร์ EGTรถผมโดดขึ้นมากว่าเดิมเยอะครับ มันเลยจำเป็นจะต้องเปลี่ยน ถามว่าเปลี่ยนแล้วแรงขึ้นมั้ย
กล้าตอบเลยเฉยๆแต่ที่เปลี่ยนเพราะกัน ป๊อก ครับรถเทอร์โบผมเฉยๆกับเรื่องท่อ ไม่สนเรื่องอั้น เรื่องback pressure
มากนัก เพราะ ไอดี มันโดนเทอร์โบดูด และไอเสียก็โดนเทอร์โบ ถ้าอยากให้แรงจริงๆ โดยที่ไม่สนเรื่องเสียง
ไม่ต้องใส่เลยครับ ท่อไอเสีย นั่นแหละ รถเทอร์โบจะประสิทธิภาพดีสุดก็คือไม่มีอะไรไปขวางมัน ไม่ต้องสนว่าไอเสีย
จะออกมารูปแบบไหน เทอร์ไบน์ไอเสียหนะ หมุนที่6-70000รอบ ยันแสนกว่ารอบ ไอเสียมันโดนตีจนกระจายเป็นเสี่ยงๆ
เละตุ้มเป๊ะหมดแล้ว เพราะฉะนั้นพวกหม้อพักแบบบิดเกลียว แบบตอร์ปิโด มิสไซน์ มีใบพัดเรียงไอเสีย คุณว่า
มันจะช่วยหรือครับ กับไอเสียที่โดนปั่นจากเทอร์ไบน์ออกมาเป็นแสนๆรอบ ดาวน์ไปป์ หนะจริงๆถ้าไม่ใส่เลยแล้ว
ทนเสียงแหกปากลั่นของท่อได้นั่นแหละครับ รีดกำลังได้ดีสุดแต่ในชีวิตจริง รถผมใช้ประจำวันครับ ไม่ไหว ยังไงก็ต้องใส่
เรื่องแรงผมไม่สนมากเพราะไม่ได้คาดหวัง แค่คาดหวังว่ามันจะช่วยไม่ให้ ป๊อปเวลาที่เราเค้นๆแค่นั้นเอง ถามว่าผลพอลยได้มีมั้ย
เคสผมมีครับ เพราะรถเทอร์โบ ไอดี ไอเสีย เชื่อมกันโดยแกนเทอร์โบ ความร้อนถ่ายเทถึงกันได้ ถ้าฝั่งไอเสียร้อนน้อยกว่าเดิม
EGT ต่ำลง เท่ากับ อุณหภูมิที่จะถ่ายเทไปฝั่งไอดีก็น้อยลง ทำให้อุณหภูมิ IAT ลดลง อากาศมีมวลหนาแน่นขึ้น เข้าไปสันดาปผสม
กับน้ำมัน มันก็เลยมีประสิทธิภาพมากขึ้น เท่านั้นเองครับ อยากแรงเปลี่ยนเกียร์AT ไปเป็นMT สิเห็นเนื้อเห็นหนัง เพราะ
เราไปลดโหลดตรงระบบขับเคลื่อน(Drivetrain) เกียร์ออโต้มันมีทอล์ค คอนเวอร์เตอร์ มีชุดคลัชท์อีกเป็น10แผ่น loss มันเสียไปเยอะครับ
ในขณะที่เกียร์ธรรมดา มีคลัชท์ชุดเดียว ตัด ต่อ กำลัง ผ่านฟลายวีล เหมือนคุณต่อตรงจาก ข้อเหวี่ยงลงไปที่เกียร์เลย มันก็เบาขึ้นแรงขึ้น
อยู่แล้วครับ แบบนั้น ขนาดฟลายวีลเองยังไม่สองแบบเลย คือ single mass flywheel แบบรถปกติ เป็นแผ่นๆพวกนี้ ตัดต่อกำลังดี
แต่ไม่นุ่มนวล กับอีกแบบเค้าเรียกว่าDual mass flywheel มันจะเป็นflywheelที่มีชุด สปริง ให้ตัวได้ บิดไปบิดมาได้จังหวะที่เรากระชากจุดประสงค์
คือเพื่อความนุ่มนวลเวลา ตัดต่อกำลัง เวลาเราปล่อยคลัชท์แรงๆ ฟลายวีลมันก็จะบิดตัวได้ ไม่ให้ไปกระชากเกียร์ ไปกระชากคลัชท์ แต่ความ
อึดมันสู้แบบsingle mass flywheelไม่ได้ กระชากบ่อย ชุดสปริงข้างในก็จะล้าและพังเสียหายได้
Single

Dual mass

ออกทะเลอีกแระ