ทุกคนล้วนมีความคิดแตกต่างกันออกไป ควรเคารพความคิดของแต่ละคนแล้วเอาความรู้มาแบ่งปันกัน อย่ามัวคิดว่าเราถูกเสมอทุกคนผ่านโง่มาก่อนที่จะฉลาดทุกคน ผิดถูกบอกกล่าวกันมีน้ำใจให้กันนะครับ 
ถูกต้องครับ อย่างน้อยผมไม่เคยสบถออกมาว่า ใครโง่ หรืออวดรู้ครับ ถ้าพิมโจ๋งครึ่ม แบบนี้ไม่ต้องอ่านแล้วนั่งนึกถึงนัยของความหมายที่พิมพ์มาแล้วครับ
straight forward โต้งๆเลยว่า พาดพิง ถึงไอ้คนที่ตอบแน่นอน เรียกง่ายๆด่ากันตรงๆว่า อย่ามาอวดรู้ ก็เอาเป็นว่าผมยอมรับผิดว่าอวดรู้จริงๆ ก็ไหนลองคนที่
บอกว่าผมอวดรู้(ผมร้อนตัว) ลองอธิบายให้ผมฟังหน่อยว่า แล้วคอยล์ใหญ่ๆ ใหญ่กว่าเครื่อง ใหญ่กว่าความต้องการ ในการ supply current ไปที่ หัวเทียน
มีประโยชน์ ยังไงครับ แล้วทำไมมันถึงแรงครับ หรือว่าไฟแรงๆ แล้วมันจุดแรง ไม่อยากจะบอกว่า หลายๆคน เข้าใจคำว่า ไฟ น้ำมัน อากาศ ดี แล้วรถจะแรง
ลองไปถามดูสิครับ 100 คนจะมีซักกี่คน เข้าใจ กฎสามเหลี่ยมอันนี้บ้าง น้ำมัน หลายๆคนตอบได้ ว่าอืมน้ำมัน มาพอ อากาศมาพอ แต่ผมเชื่อว่ามีคนอีกไม่น้อย
เข้าใจคำว่าไฟ เนี่ยหมายถึง ไฟมาแรงๆ จริงๆ มันคือ Ignition Timing ลองดูครับ ต่อให้ คุณmap ตาราง ออกมา ให้มันได้ตามlambda Target เท่ากับ 1.00
หรือStoisch คือ A/F ได้ส่วนผสม ที่สมบูรณ์ที่สุด คือ 14.6-7 : 1 ,รถจะวิ่งได้ไม่ดีเลยหากขาดเรื่อง Ignition timing คือ องศาไฟที่พอดี เวลาที่เค้าจูนรถ
แบบreal time จริงๆ เค้าต้องเอาขนาด ไอ้เจ้าหูฟัง เนี่ย เสียบฟังเลยว่า Advance / retard เอาให้จนได้ยินว่ามันน๊อค (Detonation) แล้วปรับองศาไฟ ถอยกลับมา
ต้องทำแบบนี้ให้ครอบคลุมมากที่สุดในทุกๆย่านload ของเครื่องในแต่ละรอบ แต่ละความเร็ว ไม่ใช่หมายถึงไฟแรง ใส่คอยล์แรง แบบที่เข้าใจกัน
พิมพ์ทีไรออกทะเลเรื่อยเลย เอาเป็นว่าใครที่เข้ามาอ่านแล้ว ถามตัวเองดูว่าเคยคิดแบบที่ผมอธิบายจริงๆรึปล่าวครับ เจ้ากฎสามเหลี่ยมเนี่ย
อีกเรื่องไหนๆก็ไหนๆขออวดรู้อีหน่อยแล้ว เรื่องปั๊มติ๊กที่บอกว่าใส่แล้วแรงเนี่ย มาทำความเข้าใจกันเสียใหม่ แล้วสาเหตุทำไมถึงต้องใส่ปั๊มติ๊กแรงๆ
ในรถที่ทำมา ระบบน้ำมันในรถเนี่ย หลักๆเลยมีอยู่ 3ตัว ปั๊มติ๊ก เรกูเรเตอร์น้ำมัน หัวฉีด พวกรถที่แรงๆทำไมต้องใส่ปั๊มตัวใหญ่ๆ ประโยชน์มันไม่ใช่
ว่าใส่แล้วเพื่อให้มันแรง แต่เค้าใส่ไว้เพื่อไม่ให้เครื่องมันวินาศจากการ ขาดน้ำมัน เพราะ รถที่ทำมาไว้ใช้ในสนามนั้น เค้นสมรรถนะจากเครื่องเต็มที่
A/F เนี่ยต้องแม่น ลองคิดสภาพว่า ถ้าเค้นๆอยู่ บูสต์หนักอยู่ดีๆปั๊มแรงตกปุ้บ A/F จะกลายเป็นextremely lean ทันที ความหมายคือ ส่วนผสมมันจะบาง
โดยเฉียบพลัน เมื่อนั้นหละก็วินาศสันตะโลทันที ถึงไม่ต้องสงสยัว่า ทำไมบางคันใช้ปั๊มติ๊ก 2 ตัว แถมต่อparallel มีถัง A ถังB ต่อไว้อีก ปั๊มติ๊กจะส่งน้ำมันตาม
แรงดันของมันที่สเป็คระบุไว้ จะ8บาร์ 9บาร์ ก็ว่ากันไป แล้วต่อเข้ามาที่เรกูเตอร์ ตัวนี้คือตัวคุมแรงดัน ถ้าเกินที่กำหนดกรูก็ปล่อยโบลว์กลับถังไป
แล้วหัวฉีดก็ฉีดน้ำมันไปตาม duty cycle ว่าจะที่งานกี่cc/m ก็ว่าไป ว่ามาถึงเรกูเรเตอร์น้ำมัน หลายๆคนก็ยังเข้าใจผิดอีก สมมติ เรกูเรเตอร์น้ำมัน
1 ตัว บอกว่า เรกูเรเตอร์ 3บาร์ มีใครเข้าใจบ้างว่าคำว่า 3 บาร์ในที่นี้ ความหมายคืออะไรครับ? มันไม่ได้หมายความว่าเรกูเรเตอร์นี้ คุมแรงดันที่
3บาร์คงที่ และไม่ได้แปลว่าเรกูเรเตอร์ตัวนี้ คุมแรงดันได้สูงสุดแค่3บาร์ อันนี้ผมเข้าใจ ช่างซ่อมรถแมร่มยังมั่วเลย ยังไม่รู้ อีกครึ่งประเทศ
ผมคอนเฟิร์มเคยสงสัยมั้ยว่าทำไมว่า ทำไมต้องมีสายแวคคั่มจากหลังลิ้น ปีกผีเสื้อต่อเข้าเรกูเรเตอร์? เคยสงสัยกันมั้ยครับ? คำว่า3 บาร์ที่
ปะไว้ที่เรกูเรเตอร์ ความหมายคือ เมื่อเครื่องยนต์อยู่ในสภาวะ ไม่มีแวคคั่ม หรือ แรงดัน(บูสต์) เรกุเรเตอร์ตัวนี้จะคุมแรงดันในรางหัวฉีดที่
3บาร์ แต่เมื่อเราสตาร์ทเครื่อง ชึ่ง โดยปกติ ทั้งรถเทอร์โบ หรือรถNA ที่ไม่ทำแคมลิฟท์สูงจนแมร่มเดินเบาไม่ได้ พวกนี้ ค่ามันจะเป็นแรงดูดคือแวคคั่ม
ค่ามันจะต่ำกว่าศูนย์ เป็นค่าติดลบ โดยมาก ก็จะประมาณ -0.5bar ณ ตอนนั้น เรกูเรเตอร์ จะเอาค่าแวคคั่ม ตัวนั้นไปยกลิ้นไดอะแฟรมข้างใน
ให้แรงดันในรางหัวฉีดลดลง ถ้าเป็นตัวเลข ณ รอบเดินเบา แรงดันในรางหัวฉีดจะเท่ากับ 3-0.5 = 2,5bar
ถ้าเป็นรถเทอร์โบ เวลาที่ติดบูสต์ สมมติ รถคันนึง บูสต์ 2 bar ณ เวลาที่มันบูสต์ แรงดันหัวฉีดในรางจะท่ากับ 3+2=5bar
เห็นภาพรึยังว่าเรกูเรเตอร์ 3 บาร์ไม่ได้แปลว่า มันคุมแรงดันสูงสุด ได้3บาร์ ไม่ได้แปลว่า มันมีแรงดันคงที่ ที่3บาร์ พิมพ์แล้วเมื่อยมือชะมัด

บอกแล้วอย่าให้ติดลม เดี๋ยวได้ตาลายกันนะจ้ะ