อาหารต้านโรค
โรคโลหิตจาง
ควรรับประทานวิตามินบี 12 มากๆ แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 12 คือ นม เนยแข็ง ปลาชนิดต่างๆ และเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ
โรคผิวหนังอักเสบ โรคนอนไม่หลับ โรคขนร่วง
หมั่นรับประทานอาหารที่มีไบโอตินมากๆ แหล่งอาหารที่มีไบโอตินมากๆ ก็คือ ตับ ถั่ว ยีสต์
โรคโลหิตจาง โรคปลายเส้นประสาทอักเสบ โรคตะคริว โรคผิวหนังอักเสบ
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง จะช่วยต้านโรคดังกล่าวได้ แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 6 สูง คือ ข้าวโพด นม ถั่วเหลือง ไข่ ปลา ข้าวสาลี
โรคเหนื่อยง่าย เฉื่อยชา โรคตาแดง โรคริมฝีปากอักเสบ โรคผิวพรรณเป็นตุ่ม
หมั่นรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 2 จะช่วยต้านได้ แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี 2 คือ ตับ ไข่แดง นม เนยแข็ง ผักบุ้งฝรั่ง ถั่วหมัก เนื้อสัตว์ต่างๆ และไข่ปลา
โรคเหน็บชา โรคอาการประสาท (ฉุนเฉียวง่าย)
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินบี 1 อาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินบี 1 คือ ถั่วลิสง สาหร่ายทะเล ตับ ถั่วหมัก ถั่วแระ กระเทียม เต้าหู้ เนื้อหมู ข้าวซ้อมมือ รำข้าว
โรคลักปิดลักเปิด โรคเลือดออกตามไรฟัน โรคเฉื่อยชาไม่กะปรี้กะเปร่า
ต้องรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีมากๆ แหล่งอาหารที่มีวิตามินซี คือ ดอกกะหล่ำ พริกหยวก มะเขือเทศ สตรอเบอร์รี่ ส้ม มะนาว ผลไม้ต่างๆ
โรคภูมิต้านทานโรคต่ำ โรคตาบอดกลางคืน โรคผิวหนังแห้ง
ควรรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอสูง เพื่อให้วิตามินเอ ช่วยถนอมเยื่อบุหลอดลมและอวัยวะย่อยอาหาร แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเอ คือ ตับ ไข่แดง เนย แครอท ฟักทอง สาหร่าย ผักสีเขียว และผักสีเหลือง
โรคกระดูกอ่อน
หมั่นรับประทานวิตามินดีเป็นประจำ เนื่องจากวิตามินดีมีหน้าที่ช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินดี คือ ตับ เห็ดหอม ปลาทูน่า ปลาแห้งต่างๆ
โรคผิวพรรณแตกแห้งได้ง่าย เกิดจุดด่างดำได้ง่ายและแพ้อากาศ
รับประทานวิตามินอีมากๆ จะช่วยต้านโรคเหล่านี้ได้ เพราะวิตามินอีมีคุณสมบัติคือ ช่วยบำรุงระบบโลหิตให้ไหลเวียนได้ดี แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินอี คือ ตับ ไข่แดง นม ถั่วลิสง เนื้อหมู เนื้อวัว ผักบุ้ง
โรคสมอง (ในเด็ก)
หมั่นรับประทานวิตามินเค ที่สามารถจะทำให้เลือดแข็งตัวได้ดีหากเกิดบาดแผล แหล่งอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินเค คือ ตับ เนย ผักชีฝรั่ง สาหร่าย ทะเล กะหล่ำปลี โสม ผักบุ้ง ถั่วหมัก
โรคนิ่ว
สามารถต้านโรคนิ่วด้วยการรับประทานรำข้าวเป็นประจำ เนื่องจากในรำข้าวนั้นมีโปรตีนที่จะช่วยลดการดูดซึมแคลเซียมในลำไส้ หากไม่สะดวกในการรับประทานรำข้าวละเอียด ควรนำมาดัดแปลงเป็นขนมหรืออัด หมั่นรับประทานข้าวซ้อมมือเสมอๆ ก็จะช่วยต้านโรคนิ่วได้
****************************************************************************************************************************************************************************
เอามาฝากกันค่ะ
