ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
18 พฤษภาคม 2024, 05:36:06
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Cafe => ห้องนั่งเล่น  |  หัวข้อ: คปส.-เครือข่ายต้านเซ็นเซอร์ ค้าน "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์" หวั่นถูกใช้ปิดเว็บการเมือง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คปส.-เครือข่ายต้านเซ็นเซอร์ ค้าน "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์" หวั่นถูกใช้ปิดเว็บการเมือง  (อ่าน 782 ครั้ง)
jojo-civic 96
ผมเป็นบุคคลอันตรายหมายเลข " หนึ่ง " ของ
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,658


Playboy Club No. 1


« เมื่อ: 20 กรกฎาคม 2007, 02:17:06 »



18 ก.ค.50 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) ออกจดหมายเปิดผนึกถึงพลเมืองไทย ในวาระที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 19 ก.ค.นี้ เพื่อเป็นการเตือนว่ากฎหมายฉบับนี้ให้อำนาจกับรัฐมากเกินไป และอาจส่งผลกระทบในการลิดรอนสิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิเสรีภาพในการแสดงออก สิทธิทางการเมืองของประชาชนหนักข้อขึ้นด้วยการใช้กฎหมายป้องปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์นี้เป็นข้ออ้าง

 จดหมายดังกล่าว ยังได้ตั้งข้อสังเกตสนับสนุนความกังวลใจดังกล่าว พร้อมเรียกร้องให้สื่อมวลชน ชุมชนสื่อออนไลน์ ช่วยเผยแพร่ ข่าวสาร ความคิดเห็น หรือส่งเสียงประท้วงคัดค้าน ในกรณีที่มาตรการตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน

?การเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้า ค้น ยึด อายัด สื่อคอมพิวเตอร์ได้นั้น ย่อมไม่ต่างจากแนวคิดรัฐอำนาจนิยมในอดีตที่ออกกฎหมายให้มีการยึดแท่นพิมพ์ หรือจับกุมเครื่องส่งกระจายเสียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ถ้ารัฐเห็นว่าการกระทำใดขัดต่อกฎหมาย หรือความมั่งคงของรัฐ ทั้งที่กระบวนการร่างกฎหมาย ดังกล่าวนี้ไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนโดยตรงของประชาชนเลย  แต่ผลก็คือเราทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างยอมจำนน? จดหมายระบุ

เนื้อหาของจดหมายมีดังนี้


  จดหมายเปิดผนึกจาก คปส. และ FACT ถึง พลเมืองไทย

 ว่าด้วยการบังคับใช้ พ.ร.บ. ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ 19 กรกฎาคม เป็นต้น

วันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2550 คือวันที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ประการใช้ในราชกิจจานุเบกษา ซึ่ง พ.ร.บ. ฉบับนี้เป็นกฎหมายฉบับแรก ที่ถูกผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ภายหลังจากการรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ.2549

ทั้งนี้ หลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติดังกล่าว มีผลบังคับใช้จริงภายใน 30 ดังนั้นในวันพรุ่งนี้คือวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 เป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ต่อพลเมืองไทยทุกคน โดยเฉพาะปัจเจกบุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่ความเกี่ยวข้องกับการใช้คอมพิวเตอร์ในทุกมิติ อีกทั้งกระทรวงไอซีทีกำลังดำเนินการผลักดันกฎกระทรวงซึ่งเป็นกฎหมายประกอบ พ.ร.บ. ความผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 จำนวน 3 ฉบับ คือ

หลักเกณฑ์การเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ
หลักเกณฑ์เกี่ยวกับคุณสมบัติของพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.
กฎกระทรวงว่าด้วยการยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอร์

คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส.) และเครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT) เห็นความสำคัญในการมีกติกาสำหรับการป้องกันการก่ออาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ที่ส่งผลกระทบต่อสาธารณชน แต่เราไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งกับการใช้พระราชบัญญัติฯ ดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการควบคุมสิทธิเสรีภาพในการสื่อสาร (Communication Rights) ของพลเมือง 

ทั้งนี้เรามีข้อสังเกตว่า

การออกพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ฯ เป็นการออกกฎหมายที่ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างมากในการตรวจสอบข้อมูลทั้งโดยผ่านศาลและอำนาจโดยตรงของ เจ้าหน้าที่ ซึ่งกฎหมายยังกำหนดด้วยว่าผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ท (Internet Service Providers-ISP) จะต้องเก็บข้อมูลย้อนหลังไว้นานถึง 90 วัน ไว้ให้เจ้าหน้าที่รัฐตรวจสอบ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องรับรู้ ดังนั้นหากเปรียบก็เหมือนเราจะถูกค้นบ้านได้โดยไม่ต้องมีหมายศาลและไม่ต้องแจ้งเรา นอกจากจะถูกค้นได้ภายในวันนั้นแล้ว ยังสามารถถูกย้อนหลังตรวจได้อีก 90 วัน ซึ่งนอกจากจะถูกลิดรอนสิทธิการตรวจสอบข้อมูลที่ถือได้ว่าเป็นสิทธิส่วนบุคคลในการสื่อสารแล้ว ขณะนี้ยังมีประเด็นที่เป็นข้อกังวลถึงความพร้อมในการบังคับใช้กฎหมายด้วยว่า เมื่อมีกฎหมายมาแล้ว แต่ในกฎหมายกลับยังไม่มีการระบุคุณสมบัติของเจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามกฎหมายนั้นว่าจะได้มาอย่าง ใครจะเป็นผู้แต่งตั้งมา ดังนั้นจึงต้องติดตามต่อไปว่าจะมีการระบุกติกาที่มาของเจ้าหน้าที่อย่างไร

การออกกฎหมายการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นการออกกฎหมายตามที่เคยต้องการให้มีกฎหมายควบคุมสื่ออิเล็กทรอนิคส์ ที่เดิมออกแบบกฎหมายไว้ 6 เรื่องซึ่งจะมีทั้งการป้องกันปราบปราม และการคุ้มครองสิทธิส่วนบุคคล แต่ปรากฏว่าในการออกกฎหมายครั้งนี้ รัฐบาลตั้งใจเลือกจะออกแต่เฉพาะกฎหมายที่เป็นการปราบปราม ซึ่งกระทบและลิดรอนสิทธิประชาชนผู้สื่อสาร โดยรัฐบาลไม่คิดที่จะยกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมาใช้บังคับร่วมกันเลย ซึ่งหากจะออกฎหมายที่มีผลตรวจสอบข้อมูลการสื่อสารของบุคคลย้อนหลังได้ถึง 90 วัน รัฐก็ควรผลักดันให้ออกร่างกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลด้วย

เราเกรงว่า นับตั้งแต่พรุ่งนี้เป็นต้นไป รัฐจะใช้กฎหมายดังกล่าวในการลิดรอนสิทธิความเป็นส่วนตัว (Right to privacy) และสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก (Freedom of Expression) ของประชาชนหนักข้อขึ้นด้วยการใช้กฎหมายโดยมีเหตุผลซ่อนเร้นทางการเมืองมากกว่าการป้องปรามอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์อย่างแท้จริง โดยเฉพาะในสถานการณ์การเมืองปัจจุบันที่สังคมไทยขาดความเป็นประชาธิปไตย และแนวโน้มในอนาคตที่รัฐอำนาจนิยมจะครอบงำสิทธิเสรีภาพพลเมืองไทยมากขึ้น เช่นการผลักดันกฎหมายว่าด้วยความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ... หรือทิศทางการสืบทอดอำนาจของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช) เป็นต้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่สังคมไทยจะต้องตื่นตัวเฝ้าระวังการใช้อำนาจรัฐคุกคามสิทธิของประชาชนอย่างจริงจังมากขึ้น

เราเห็นด้วยกับหลักการในการคุ้มครองเด็ก หรือ บุคคลหนึ่งบุคคลใดที่รับความเสียหายจากการใช้คอมพิวเตอร์ แต่เราไม่เห็นด้วยที่รัฐจะมีอำนาจมากเกินไปในการควบคุม เซ็นเซอร์ เนื้อหาสาระในสื่อคอมพิวเตอร์ หรืออินเตอร์เน็ต จนกระทั่งทำให้เส้นแบ่งระหว่างการที่รัฐจะปกป้องผู้ที่ถูกกระทำจากคอมพิวเตอร์ กับการละเมิดสิทธิของพลเมืองโดยรัฐเองนั้นคลุมเครือยิ่ง

การเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่รัฐสามารถเข้า ค้น ยึด อายัด สื่อคอมพิวเตอร์ได้นั้น ย่อมไม่ต่างจากแนวคิดรัฐอำนาจนิยมในอดีตที่ออกกฎหมายให้มีการยึดแท่นพิมพ์ หรือจับกุมเครื่องส่งกระจายเสียงสื่อวิทยุและโทรทัศน์ ถ้ารัฐเห็นว่าการกระทำใดขัดต่อกฎหมาย หรือความมั่งคงของรัฐ ทั้งที่กระบวนการร่างกฎหมาย ดังกล่าวนี้ไม่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่สำคัญกฎหมายฉบับนี้ไม่ได้มาจากสภานิติบัญญัติซึ่งเป็นตัวแทนโดยตรงของประชาชนเลย  แต่ผลก็คือเราทุกคนต้องอยู่ภายใต้กฎหมายอย่างยอมจำนน

วันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2550 เป็นวันที่กฎหมายดังกล่าวเริ่มมีผลบังคับใช้

คปส. และ เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย ขอเรียกร้องให้สื่อมวลชน ชุมชนสื่อออนไลน์ ช่วยเผยแพร่ ข่าวสาร ความคิดเห็น หรือส่งเสียงประท้วงคัดค้าน ในกรณีที่มาตรการตามกฎหมายดังกล่าวนี้จะส่งผลกระทบต่อสิทธิความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการแสวงหาข้อมูล เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ และสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะเสรีภาพของประชาชนที่มีจุดยืน ความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกทางการเมืองแตกต่างจากอำนาจรัฐ

ถึงเวลาแล้วที่พลเมือง ผู้ไม่ยอมรับการคุกคามสิทธิเสรีภาพผ่านสื่อออนไลน์ (Cyber dissidents) จักต้อง รวมพลังกันติดตาม ตรวจสอบ คัดค้าน หรือประท้วงการใช้อำนาจของรัฐในทางมิชอบ ก่อนที่เราจะตกเป็นฝ่ายที่ถูกรัฐจัดการ ตรวจสอบและดำเนินคดีกับเราคนใดคนหนึ่งโดยไม่ทันรู้ตัว

เราต้องไม่ยอมให้รัฐรุกล้ำ คุกคาม สิทธิความเป็นส่วนตัว สิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมืองมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อสิทธิเสรีภาพถูกยึดกุมไปได้แล้ว ยากที่เราจะเรียกร้องให้คืนกลับมา

ที่สำคัญ ความผิดทางอาชญากรรมเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์  เป็นคนละเรื่อง กับเสรีภาพการนำเสนอข้อมูลและแสดงความคิดเห็นผ่านสื่ออินเตอร์เน็ต  เพราะการพูด การเขียน การแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่อาชญากรรม อีกทั้งเว็บไซต์การเมืองไม่ใช่เว็บโป๊เปลือย  การอ้างเรื่องการควบคุมเว็บไซต์ลามกอนาจารพ่วงแถมด้วยการควบคุมเว็บไซต์ทางการเมืองด้วยนั้น เท่ากับรัฐกำลังทำให้การเมืองเป็นเรื่องอนาจารที่ประชาชน ไม่ควรดู ไม่ควรอ่าน ไม่ควรคิด ไม่ควรพูด หรือแสดงความคิดเห็น ความรู้สึกใดๆ ในพื้นที่สาธารณะ

เสรีภาพในการแสดงออกผ่านสื่อคอมพิวเตอร์ ไม่ต่างจากเสรีภาพสื่ออื่น เช่น หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ หรือสื่อสารมวลชนใดในยุคที่เทคโนโลยีการสื่อสารเชื่อมถึงกันหมด (Convergence) ดังนั้นจึงต้องได้รับการปกป้องคุ้มครอง เพราะสิทธิเสรีภาพสื่อเหล่านี้ มันคือสิ่งชี้วัดสิทธิเสรีภาพของประชาชน ซึ่งถือ เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย

 

คณะกรรมการณรงค์เพื่อการปฏิรูปสื่อ (คปส)

เครือข่ายเสรีภาพต่อต้านการเซ็นเซอร์ประเทศไทย (FACT)

18  กรกฎาคม พ.ศ. 2550



  ที่มา ผู้จัดการออนไลน์
บันทึกการเข้า

Honda miracle civic ferio
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Cafe => ห้องนั่งเล่น  |  หัวข้อ: คปส.-เครือข่ายต้านเซ็นเซอร์ ค้าน "พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์" หวั่นถูกใช้ปิดเว็บการเมือง
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2009, Simple Machines -->
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |