จาก
http://www.coronathailand.com/board/index.php?topic=32.0;wap2

ถ้าวัสดุที่เป็นผ้าคลัทช์เหมือนกัน จะเต็มแผ่น หรือ 3 4 6 8 ก้อน . . . ก็จับได้พอๆกันหมด ขนาดพื้นที่ผิวสัมผัสไม่มีผลแบบมีนัยะ(มีผลน้อยมากๆ)ต่อความสามารถในการจับ
ข้อความข้างบนอาจค้านความรู้สึกว่าผ้าเยอะๆ ทำไมมันไม่จับดีกว่า . . เดี๋ยวจะขยายความให้ดูครับ
มามองที่หน้าที่พื้นฐานของคลัทช์ก่อน > คลัทช์ทำหน้าที่จับแรงบิดไม่ใช่แรงม้า . . . ดังนั้นสิ่งที่ต้องมองคือ คลัทช์นั้นรับแรงบิดได้ขนาดไหน . . . คลัทช์ Vigo 160 ม้า มีแรงจับสูงกว่าของเครื่อง B18CR 200 ม้า เพราะแรงบิดของ Vigo สูงกว่า B18 เยอะ แม้ม้าจะน้อยกว่า
ปัจจัยที่ทำให้คลัทช์รับแรงบิดได้ขนาดไหนก้มี . . ขนาดจาน, แรงกดจาน(Cover), ค่าความฝืด (วัสดุที่ใช้ทำผ้าคลัทช์), จำนวนแผ่นของผ้าคลัทช์
มามองในแง่การปรับปรุงคลัทช์ ในปัจจัยต่างๆ
- ขนาดจาน . . มีผลน้อย เพราะเราไม่สามรถเพิ่มขนาดจานคลัทช์ได้ง่ายๆ เพราะทุกอย่างต้องตามมาหมดทั้ง ฟลายวีลและ Cover . . ถึงทำได้ก็คงใหญ่ขึ้นแค่ 10-20 มม. เมื่อเทียบกับขนาดเดิมคิดเป็น % แล้วนิดเดียว เมื่อเทียบความสามารถที่เพิ่มขึ้นกับความยุ่กยาก > ไม่คุ้มเหนื่อย
- แรงกด . . . มีผลโดยตรง ต่อความสามารถในการจับแรงบิด . . . แต่ก้ต้องแลกด้วยการออกแรงที่มากขึ้น น่องโป่ง
- ค่าความฝืด . . . เห็นผลชัดเจน เปลี่ยนจากผ้าธรรมดาเป็นผ้าโลหหะ เช่น ทองแดง หรือโลหะชนิดอื่น หรือวัสดุอื่นๆที่มีค่า มิวสูงกว่า . . จะเห็นผลได้ชัดเจนว่าจับดีขึ้น แม้จะใช้ Cover เดิม . . . บางอย่างยิ่งร้อนยิ่งฝืด บางอย่างอาจจะร้อนแล้วฝืดน้อยลง แต่ก้ยังทนอุณหภูมิได้สูงกว่าผ้าเดิม ที่อุณหภูมิสูงๆก้ยังฝืดกว่าผ้าเดิม . . . . แต่ยิ่งฝืดความนุ่มนวลในการจับก็มักจะหายไปแปรผันตรงกับค่าความฝืด เพราะมันยอมให้ Slip ตอนคลัทช์กำลังจะจับได้น้อยลง
- จำนวนแผ่น . . . นี่ก็เห็นผลชัดเจนที่สุด เพิ่มคลัทช์เข้าไปอีกแผ่น แรงจับเพิ่มขึ้นเท่าตัวในทันที แม้จะใช้แรงกดเท่าเดิม . . คลัทช์หลายแผ่นจึงไม่หนักแต่จับแรงบิดได้สุงกว่ามากๆ . . . . คลัทช์แผ่นเดียวทำยังไงมันก็มี limit สูงสุดที่มันจะรับแรงบิดได้ ไม่ว่าจะใช้ผ้าเนื้ออะไร เพิ่มแรงกดเป็นเท่าไร . . . รถแรงๆที่ยังไงก็มีแรงบิดเกินกว่าที่แผ่นเดียวจะรับได้ ก้ต้องเพิ่มแผ่น เพราะสามารถรับแรงบิดได้เท่าตัวในทันที
ดังนั้นในรถที่ไม่แรงจริงๆ เช่นรถ NA ม้าไม่เกิน 300 แรงบิดไม่เยอะ ส่วนใหญ่คลัทช์แผ่นเดียวดีๆก็เอาอยู่ . . . ดังนั้นการใส่คลัทช์เกินกว่า 1 จึงเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นและจะทำให้รถช้าลง เพราะมากแผ่น ชุดคลัทช์ก็หนักขึ้น . . ชุดคลัทช์มันก็ต้องหมุนไปกับฟลายวีลตลอด ก็ต้องหมุนของหนักให้มันกินแรงเล่นไปเปล่าๆ . . . คลัทช์หลายแผ่นเขาไว้ใช้กับรถแรงจริงๆที่คลัทช์แผ่นเดียวเอาไม่อยู่แล้ว . . . ถ้ายังไม่ถึงจุดนี้ อย่าใช้ เสียเงินเปล่า แพงและหนัก
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
ทีนี้มาลองมองที่ว่า . . ทำไมขนาดพื้นที่หน้าสัมผัสไม่มีผล ต่อการรับแรงบิด

> แรงกดจาก Cover สมมุติมีแรงกด 100 กิโล . . . พื้นที่จานจะมีเท่าไร แรงกดก้คือ 100 เท่าเดิม แต่การกระจายแรงไปในแต่ละพื้นที่ต่างกันไป 3 ก้อนก็มีแรงกด 33.3 กิโลต่อก้อน . . 4 ก้อนเหลือ 25 . . 6 ก้อนเหลือ 16.6 . . . แต่แรงกด รวมยังเท่าเดิม . . . ดังนั้นการรับแรงบิดจึงเท่าเดิม
แล้วมีมากก้อน น้อยก้อน เต็มแผ่น . . ต่างกันยังไง?
> ต่างกันที่ความนุ่มนวลในการจับ และความทนทาน . . . . ตอนก่อนคลัทช์จะจับเต็ม ช่วงที่เกิดการ Slip . จากการเฉลี่ยแรงกดต่อพื้นผิวสัมผัส พื้นที่มาก แรงกดเฉลี่ยน้อยลง การค่อยๆจับจะเป็นไปได้ดีกว่าการกดโครมลงไปในพื้นที่เล็กๆ . . . ซึงการเฉลี่ยแรงกดนี้ ก็สืบต่อไปถึงเรื่องของความทนทานด้วย กดแรงก็สึกเยอะ(เหมือนเหยียบเบรคแรงๆ กดหนักสึกเร็ว กดเบาๆก็ทนหน่อย) ดังนั้นพื้นที่เยอะ เฉลี่ยแรงกดลงมาน้อยลง ก้สึกช้าหน่อย . . . . นี่คือเหตุผลว่าทำไม รถเดิมๆจากโรงงานจึงใช้ผ้าเต็มแผ่น นุ่มนวล ทนทาน
ทีนี้สืบเนื่องจากแรงกดเฉลี่ยต่อพื้นที่น้อยลง ก็ทำให้การทำงานของคลัทช์ในการใช้งานหนักๆต่อเนื่อง ได้ดีขึ้น . . . ทุกครั้งที่คลัทช์จะจับ จะเกิดความร้อน พื้นที่เยอะการกระจายความร้อนเฉลี่ยก็ดีขึ้น เกิดความร้อนน้อยลง . . . ความร้อนที่น้อยลง ตัวผ้าคลัทช์เองก้สามรถรักษาค่าความฝืดได้อย่างมีเสถียรภาพดีขึ้น (ซึ่งอาจจะหมายถึงยังจับดีกว่า เมื่อต้องทำงานหนักๆต่อเนื่อง)
แต่ที่อุณหภูมิเดียวกัน . . . ขนาดพื้นที่ผิวที่มากหรือน้อย ไม่มีผลต่อความสามรถในการจับแบบมีนัยยะครับ
เรื่องพื้นที่สัมผัส อาจขัด อาจค้านความรู้สึก . . . แต่เรื่องจริงๆมันเป็นเช่นนี้ครับ
เรื่องแรงกดเฉลี่ยต่อพื้นที่ก็สามรถนำไปใช้อธิบายเรื่องเบรคได้เช่นเดียวกัน . . . ผ้าเบรคใหญ่ ดีเรื่องทน คาลิปเปอร์ลูกสูบเยอะๆ เฉลี่ยแรงกดต่อพื้นที่ได้ดีขึ้น ผ้าทน เฟดช้ากว่าและจับนุ่มนวลขึ้นกว่าผ้าเบรคพื้นที่เล็กๆ . . . บังเอิญเบรคมันสร้างความร้อนเยอะ ผ้าเล็กๆจึงร้อนและเฟดจนกลายเป็นเบรคห่วยไป
-------------------------------------------------------------------------------------------------------
เพิ่มเป็น 2 แผ่น ทำไมเพิ่มแรงจับเท่าตัว

มันเพิ่มขึ้นเพราะ มันสามารถทำให้แรงกดรวมที่ลงบนผ้าคลัทช์ทั้งหมดเพิ่มขึ้น
มองให้ง่ายขึ้น
เอาไม้มาแผ่นนึง เอาน้ำหนัก 100 กก. มากดลงไป ที่พื้นก้รับน้ำหนัก 100 ที่แผ่นไม้เองก้ 100 . . . . เอาไม้มาเพิ่มเป็น 2 แผ่น น้ำหนัก 100 เหมือนเดิม ที่พื้นก็ยังรับแรงกด 100 . ไม้ทั้ง 2 แผนแต่ละแผ่นก้ยังมีแรงกด 100 อยู่เท่าเดิม . . . . ถ้านับที่หน้าสัมผัสของแผ่นไม้แต่ละหน้า ทุกหน้าสัมผัสมีแรงกด 100 เท่ากันหมด . . . จะ 1 หรือ 2 แผ่น แต่ละหน้าสร้างแรงเสียดทานได้เท่าเดิม แต่แรงเสียดทานรวมที่พื้นผิวมากขึ้น 1 เท่าตัว
มองแบบคณิตศาสตร์ ของคลัทช์ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น การรับแรงบิดของคลัทช์เกิดจากสูตรดังนนี้
แรงบิดคลัทช์ = ขนาดเส้นผ่าน0กลาง x ค่าสัมประสิทธิแรงเสียดทาน x แรงกด x จำนวนแผ่น
มองตัวแปรทั้งหลาย
- ขนาดจานเพิ่มขึ้น อย่างเก่งไม่เกิน 10-20% . . .ผลลัพธ์ก็แตกต่างไม่เกิน 10%
- ค่าสัมประสิทธิแรงเสียดทาน . . . ผ้าธรรมดามีค่านี้แถวๆ 0.25 . . . ผ้าโลหะทั้งหลายมี แถวๆ 0.3 -0.32 . . . แตกต่างกัน 20-25% . . . คลัทช์ก็มีความสามารถรวมขึ้น 20-25% . . . ผ้าคลัทช์เนื้อแปลกๆบางตัวมีค่านี้เพิ่มขึ้นได้ถึง 50%
- แรงกด . . . มีปัญญาเพิ่มเท่าไรเท่าที่เหยียบไหว เพิ่มขึ้นกี่% การรับแรงบิดก็เพิ่มขึ้นเท่านั้นครับ
- ผ้าคลัทช์ . . เพิ่มจาก 1 เป็น 2 มัน 100% ในทันที . . 3 แผ่นก็ 200% ทันทีเหมือนกัน
มองเป็นสูตรแบบนี้ คงพอมองเห้นง่ายขึ้นนะครับว่าทำไมเพิ่มแผ่นแล้วแรงกดเพิ่มขึ้น 1 เท่าตัว
รถโดยทั่วไป ใช้ผ้าคลัทช์ฝืดๆ + เพิ่มแรงกดซัก 20-30% ก็รับแรงบิดเพิ่มขึ้นได้ ประมาณ 50% ซึ่งก็น่าจะเหลือพอสำหรับรถที่ไม่โมกันแบบแรงชนิดแรงขึ้นเป็นเท่าตัว