การถอดตัวเรือนปีกผีเสื้อออกมาทำความสอาด สิ่งที่จะต้องระมัดระวังที่จะต้องไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับระบบเซ็นเซอร์ ที่ติดอยู่ที่ตัวเรือนปีกผีเสื้อ โดยเฉพาะที่ตัว TPS sensor เวลาจะถอดต้องทำเครื่องหมายมาร์คที่ขอบตัวเรือน TPS กับตัวเรือนปีกผีเสื้อ เวลาประกอบกลับจะได้อยู่ในต่ำแหน่งเดิม ทั้งนี้เพราะแกนลิ้นปีกผีเสื้อมันเป็นแกนเดียวกับตัวปรับตำแหน่งมุมองศาการปิดและเปิดที่มีตัว TPS เป็นตัวตรวจจับต่ำแหน่งของลิ้นปีกผีเสื้อ
หากถอดตัวเรือน TPS ออกจากตัวเรือนปีกผีเสื้อ แล้วประกอบกลับ จะทำให้มุมต่ำแหน่งองศาการปิดของลิ้นปีกผีเสื้อไม่ตรงกับตำแหน่งเดิม หากช่างที่รู้วิธีการปรับจะทราบว่าการปรับที่ตัวเรือน TPS จะต้องตั้งปรับให้อ่านค่าโวลเต็จที่ส่งไปให้ ECU อ่านค่าโวลเต็จได้ประมาณ 0.5 Volt ในขณะที่ลิ้นปีกผีเสื้อปิดอยู่ในตำแหน่งรอบเดินเบา จึงจะทำให้รอบเครื่องยนต์ที่อยู่ในรอบเดินเบาทำงานได้ถูกต้อง พบว่าบางช่างบางอู่ที่ไม่ทราบการตั้งปรับตัว TPS sensor เวลาตรวจก้ปัญหาเรื่องการคอนโทรลรอบเดินเบาไม่ได้ ก็จะใช้วิธีปรับสกรูดันวงล้อแกนปีกผีเสื้อให้เผยอออก ให้อากาศหน้าลิ้นปีกผีเสื้อผ่านเข้าไปในห้องไอดี ทำให้ดูเหมือนว่าเราคอยเหยียบคันเร่งน้อยๆ พยุงไม่ให้รอบเดินเบาของเครื่องยนต์ตกเมื่อมีโหลดจากการเข้าเกียร์เปิดแอร์
การที่ไปปรับแบบนั้นเหมือนกับการถอดตัวเรือน TPS sensor ออกมาโดยไม่ได้ทำเครื่องหมายมาร์คตำแหน่งเอาไว้ เวลาประกอบกลับ ทำให้ตำแหน่งมุมองศาที่มีค่าโวลเต็จ 0.5 Volt ไม่ตรวตามต่ำแหน่งเดิม อาจจะไปอยู่ในตำแหน่งก่ำกึ่งระหว่างรอบเดินเบาและรอบอัตราเร่งของเครื่องยนต์ ทำให้การสตาร์ทเครื่องยนต์ในตอนแรกที่เครื่องยังเย็น จะทำให้รอบเครื่องยนต์สวิงขึ้นลง เพราะ ECU ไม่ทราบค่าตำแหน่งที่ถูกต้อง ประกอบกับการทำงานในขณะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ ECU จะอาศัยตัว เซ็นเซอร์ของอุณหภูมิน้ำ มาเป็นข้อมูล ในการสั่งฉีดน้ำมันให้มีส่วนผสมหนาในการจุดระเบิด ทำให้เป็นผลในการคอนโทรลรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ มีรอบสูงสวิงไปมา
จนกว่าอุณหภูมิน้ำของเครื่องยนต์สูง ECU ก็จะสั่งให้หัวฉีดน้ำมันลดการฉีดน้ำมันเพิ่มมาอยู่ที่ปกติในรอบเดินเบา ที่อาศัยข้อมูลจาก TPS sensor เป็นตัวส่งข้อมูล ว่าอยู่ในรอบเดินเบาหรืออัตราเร่ง เหตุที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้มาจากการปรับตัว TPS ไม่ถูกต้องครับ
สำหรับที่ตัว TPS เมื่อถอดออกมาจากตัวเรือนปีกผีเสื้อ ห้านำน้ำยาประเภทน้ำยาล้างคอนแท็ค หรือน้ำมันเบ็นซิลหรือดีเซล ฉีดเข้าไปใในตัวเรือน TPS เป็นอันขาด เพราะว่าที่ตัวเรือน TPS ข้างในมันมีค่าความต้านทานแบบคาร์บอนด์ รูปเกือกม้าเหมือนวอลลุ่มเร่งเสียงของวิทยุหรือเครื่องแอมปริไฟร์ หากโคนน้ำยาดังกล่าว จะทำให้แนวร่องของแขนกรีดลงบนค่าความต้านทานมีตำแหน่งเบี่ยงเบนออกไปจากแนวร่องเดิม อาจจะทำให้การสัมผัสไม่สนิท เป็นผลให้โวลเต็จที่ถูกดร๊อปบนค่าความต้านทานที่แนวแขนกรีดผิดไป คราวนี้งานงอกแน่ ต้องเปลี่ยนใหม่มันแก้ไขไม่ได้ ก็ให้เกิดปัญาหตามมาเรื่องรอบเดินเบาและอัตราเร่ง ....ถามนิดเดียวตอบยาวเอาแค่นี้ก็แล้วกันครับ ขี้เกียจนั่งพิมพ์ครับ....srithanon
แล้วเราจะแก้ไขเองได้ไหมครับ ที่จะให้ค่า TPS เป็นปกติ