ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
20 กรกฎาคม 2025, 02:48:46
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: การทำกรอบแอร์ 3 ปุ่มเนี่ย จำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง หรือแค่ กรอบแอร์ ท่อเยืีองก็พอคร 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: การทำกรอบแอร์ 3 ปุ่มเนี่ย จำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง หรือแค่ กรอบแอร์ ท่อเยืีองก็พอคร  (อ่าน 4481 ครั้ง)
Granturismo
เจ้าสำนัก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 655


« เมื่อ: 27 เมษายน 2012, 21:56:01 »




ถ้าผมจะทำแอร์ 3 ปุ่ม ที่ต้องชื็อจริงๆมี
1 กรอบแอร์ manual หรือ auto
2 ท่อเยื่อง
3. ถ้า เราจะทำ auto นี่ต้องซื้อ ชุด คอนโทรลสปีด  แต่ถ้าเราจะเอา 3 ปุ่มแบบ manual ก็พอ ก็ไม่จำเป็น ต้องซื้อชุดคอนโทรล สปีด  อันนี้ผมเข้าใจถูกมะ

แล้ว ตู้แอร์ ของผม บังเอิญซื้อรถมือ2 มา มันเป็นตู้แอร์นอก แล้ว เราต้องซื้อตู้โบโว่ใหม่ไหมครับ รึของเดิมมันใช้ได้อยู่แล้วเพิ่งแค่เราเอากรอบกับท่อเยืองมาต่อก็ ใช้ไดแล้ว อันนี้เข้าใจถูกใช่ไหมครับ

แล้ว ถ้าผมอยากจะทราบว่าถ้าผมอยากทราบว่าตู้โบโว่ผมเป็นตัวคอนโทร8สปีดได้นี่ต้องดูจุดไหนครับ เพราะรถผม มือ3ได้มั้ง เลยไม่รู้ประวัติรถว่าทำไรมามั่ง รู้อย่างเดียวคือตอนนี้เค้าใส่ตู้แอร์นอกมา มีช่องใส่ กรองอากาศแอร์มาด้วย(เข้าใจว่าบ้านเราไม่มช่องนี้ให รู้มาจากท่านนึงบอกผมจากเวบนี้ เลยรู้ว่าตู้แอร์ตัวเองตู้นอก)
บันทึกการเข้า

lighteningz
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,220


ห นึ่ ง ชี วิ ต ลิ ขิ ต เ อ ง


« ตอบ #1 เมื่อ: 27 เมษายน 2012, 22:03:08 »

บทความนี้เป็นของคุณโอ (MUGEN TYPE R) ขอขอบคุณด้วยครับ

มี 2 ตอน อันนี้ตอนแรกครับ

ก่อนอื่นก็ต้องขออภัยที่บทความนี้ที่ผมทำออกมาค่อนข้างจะช้าซะนิด เพราะเข้าหน้าร้อนมารอบนึงแล้ว เนื่องด้วยติดภาระกิจหลายๆอย่าง และมี D.I.Y. Project ไฟส่องเท้า (ตามสัญญาครับ) มาคั่นนิดหนึ่ง ก็ขออภัยไว้ในที่นี้ด้วยละกันครับ บทความนี้ค่อนข้างจะยาวมากๆ นะครับเหนื่อยหน่อยกว่าจะอ่านจบ

ขอพูดโดยรวมก่อน
วันนี้จะว่ากันด้วยเรื่องแอร์ครับ แต่ไม่ใช่ระบบแอร์พวกคอมเพรสเซอร์, คอยล์ร้อน, คอยล์เย็น, ไดร์เออร์ อะไรทำนองนี้ครับ เพราะบทความพวกนี้หาอ่านได้โดยทั่วไปแล้ว แต่ผมจะเจาะลึกลงไปว่ากันด้วย "หน้าปัดแอร์หรือกรอบแอร์" แบบต่างๆกันให้หายสงสัยกัน ไม่ว่าจะสไลด์, 1 ปุ่ม, 3 ปุ่ม(ทั้งออโต้และไม่ออโต้) ว่าหน้าตามันเป็นยังไง ต้องมี ต้องใช้อะไรเพิ่มบ้าง ติดแล้วเป็นยังไง ได้อะไรบ้าง เสียอะไรบ้าง

เริ่มกันเลย
อืม!! อีกนิดนะครับ คือว่าก็อย่างทุกๆบทความที่ผมทำก็ต้องบอกว่า "ผมก็คนธรรมดาทั่วๆไป (ไม่ใช่ Guru แค่กรูอยากรู้) ผมไม่ใช่ช่าง แค่คนที่รักรถ อยากรู้เรื่องรถ ศึกษาข้อมูลต่างๆเรื่องรถ" ดังนั้นถ้ามีอะไรผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องหรือขาดตกตรงไหนก็เสริมได้เลยครับ และขออนุญาตเจ้าของรูปที่ผมเอามาไว้ ณ.ที่นี้ด้วย เพื่อเป็นความรู้ให้หลายๆคนนะครับ

เริ่มจริงๆล่ะ ยิ้มกว้างๆ
1. ส่วนประกอบอื่นๆก่อน
เอาของที่ต้องมีก่อนละกันครับ ในที่นี้ไม่ใช่กรอบแอร์นะ คงสงสัยว่าทำไมไม่พูดถึงกรอบแอร์ก่อน ก็เพราะว่ามันจะได้มองเห็นถาพได้ง่ายกว่า เดี๋ยวผมพูดถึง ตัวโน้น ตัวนี้จะไม่เข้าใจ มานั่งนึกภาพอยู่มันจะเข้าใจยากครับ และจะได้อ้างถึงได้เวลาพูดถึงกรอบแอร์แต่ละประเภท มาดูกันครับ

1.1 ตู้แบ่งลมที่มี Heater จะเรียกชุดนี้ว่าตู้ Air Mix
โดยหน้าตาของมันแล้วก็เหมือนๆกับตู้แบ่งลมบ้านเรานี้ครับ แต่มีส่วนที่เพิ่มมาคือคอยล์ร้อน, สายลิงค์ และก็มอเตอร์ดึงสายลิงค์เพื่อเปิดวาล์วน้ำ(1.4)เข้าคอยล์ร้อน
- ตัวตู้แบ่งลมที่มีฮีตเตอร์และสายลิงค์(เส้นสีน้ำเงิน)


- ถอดแยกชิ้นออกมาก็จะเป็นแบบนี้


- ดูกันชัดๆคอยล์ร้อนที่ทำจากทองแดง (จับนิดจับหน่อยครีบล้มง่ายมาก)


1.2 ตู้คอยล์เย็น
จริงๆแล้วตู้ตัวนี้ไม่ต้องหาเพิ่มก็ได้ ใช้ของบ้านเรานี่ล่ะ ที่ไม่เหมือนกันกับของนอกคือจะมีช่องใส่ Air Filter ด้วย
ขอพูดเรื่องการติดตั้งเป็นข้อคิดซะนิดนะว่าในการติดตั้งนั้นจะมีการเพิ่มเซนเซอร์ (1.6) เข้าไปในตู้นี้ด้วย 1 ตัว ทีนี้ก็จะได้รู้แล้วว่าตู้แอร์เราเน่าขนาดไหนแล้ว ควรจะเปลี่ยนใหม่หรือแค่ถอดออกมาล้างทำความสะอาดก็ได้แล้ว ถ้าต้องถอดมาล้างก็แน่นอนครับ น้ำยาแอร์ต้องเปลี่ยนใหม่ ผมว่าถ้าชัวว์ๆว่าตู้แอร์เราต้องเปลี่ยนหรือวาล์วตันแล้วก็หาตู้นอกมาเลยดีกว่า เพราะตู้นอกสวยๆก็ไม่น่าเกิน 1500 บ. ได้ครบหมดทั้งเซนเซอร์(1.6)ด้วย แต่ถ้าเอาตู้เดิมแล้วเปลี่ยนวาล์วก็ประมาณ 800 บ. แล้ว ก็คิดเอานะครับแค่แนะนำ ดูกันเลยดีกว่า เพราะเริ่มจะยาวอีกแล้ว ยิ้มกว้างๆ
- ตัวตู้แอร์ + Thermister ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของชุด Trermostat (1.6)


- ถาดใส่ Air Filter


1.3 เสื้อน้ำ (จริงๆไม่รู้เรียกว่าอะไร ใครรู้ช่วยบอกที ผมเรียกนี่ไปก่อนละกัน)
เสื้อน้ำจะเป็นตัวแบ่งน้ำร้อนในระบบหล่อเย็นที่ออกมาจากเครื่องยนต์เพื่อเข้าไปยังตู้ฮีตเตอร์ครับ
สำหรับในเครื่องแคมเดี่ยว(D) นั้นจำเป็นต้องหาตัวนี้เพิ่มครับ แต่สำหรับในเครื่องแคมคู่( นั้นไม่จำเป็นต้องหา เพราะมันมีอยู่แล้ว เพียงแต่มันมีท่อปิดไว้เท่านั้นครับ
- หน้าตาแบบนี้ล่ะ อันนี้ของผมดูเก่าโปราณไปยังไม่ได้ล้าง แต่ใช้ได้ครับ


- หลังติดตั้งแล้วครับ (ชุดที่ Ground Wire สีฟ้ายึดอยู่)


1.4 วาล์วน้ำ
วาล์วน้ำจะทำหน้าที่เปิด-ปิดน้ำร้อนจากระบบหล่อเย็นเข้าฮีตเตอร์ โดยในการเปิด-ปิดนั้นจะใช้สายลิงค์ที่มาจากตู้แบ่งลมซึ่งจะมีมอเตอร์ควบคุมอยู่อีกต่อหนึ่ง
- วาล์วน้ำที่มีสายลิงค์จากตู้แบ่งลมมาควบคุมการเปิด-ปิด


- ชัดๆ ใกล้ๆ ครับ


1.5 ท่อน้ำเข้า-ออกตู้ Heater
หน้าที่ของมันก็เป็นการนำน้ำหล่อเย็น(น้ำร้อน)ที่ได้จากเสื้อน้ำ(1.3) เข้าไปยังฮีตเตอร์ในตู้แอร์มิกซ์
- ท่อน้ำทั้งหมดจะมี 3 ท่อน คือน้ำเข้า 2 ท่อน(มีวาล์วน้ำคั่นกลาง) และท่อน้ำออก 1 ท่อนครับ


- จุดที่ต้องเจาะตัวรถเพื่อให้ท่อฮีตเตอร์และสายลิงค์โผล่ออกมาครับ


- จุดที่บางคนสงสัยว่าท่อน้ำที่ออกจากเครื่องเพื่อเข้าฮีตเตอร์มันอยู่ตรงไหน (มันอยูใต้จานจ่ายครับ อันนี้ถ่ายจากด้านหลังเครื่องฝั่งไอดี)


1.6 Thermostat (เทอร์โมสตัท)
เทอร์โมสตัทนี้จะติดตั้งอยู่ภายในตู้แอร์หรือตู้คอยล์เย็นครับ ลึกเข้าไปด้านในประมาณ 6 ซม. และต้องติดตั้งอยู่ด้านขาออกของลมครับ
เทอร์โมสตัทโดยหน้าที่ของมันแล้วจะเป็นตัวควบคุมอุณหภูมิภายในตู้แอร์(คอยล์เย็น) ไม่ให้เย็นเกินไป เนื่องจากถ้าเย็นจนถึงเป็นน้ำแข็งเกาะที่คอยล์เย็นแล้วจะทำให้แรงลมที่มาจากโบเวอร์จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ จะลมไม่สามารถผ่านแผงคอยล์เย็นได้ ก็จะทำให้ไม่มีลมออกที่ช่องแอร์ซิครับงานนี้ บอกแนวทางไว้ให้ถ้าลมที่ช่องแอร์ใครค่อยๆเบาลงเรื่อยๆ เวลาเปิดนานๆ ก็ลองเช็คตัวเทอร์โมสตัทดูครับ
ลงลึกอีกนิดนะครับกับตัวเทอร์โมสตัท (คงจะไม่เบื่อกันก่อนนะ) เทอร์โมสตัทนั้นจะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ
ส่วนแรก จะเป็นส่วนของ Thermister (เทอร์มิสเตอร์) จะมาจาก Thermo + Resistor เรียกง่ายๆก็ตัวต้านทานความร้อนครับ คือค่าความต้านทานภายในของมันจะเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ โดยตัวที่อยู่ในตู้แอร์แท่งดำๆนั่นล่ะครับ ตัวเทอร์มิสเตอร์
ส่วนที่สอง จะเป็นส่วนของสวิทช์ตัดต่อการทำงานของเทอร์โมสตัทครับ ภายในของตัวนี้จะเป็นทรานซิสเตอร์ทำหน้าที่ on หรือ off โดยมีตัวเทอร์มิสเตอร์เป็นตัวกำหนดกระแส bias ให้ครับ
ตัวนี้แค่นี้ล่ะเดี๋ยวจะไม่เข้าใจและกลายเป็นน่าเบื่อกระทู้ซะอีก

- รูปตัวเซนเซอร์ก็ดูในข้อ 1.2 (ตู้คอยล์เย็น) นะครับ ตัวดำๆ ยาวๆ มีสายไฟ 2 เส้นนั้นล่ะ ค่าความต้านทานของเทอร์มิสเตอร์จะอยู่ประมาณ 7 กิโลโอห์ม(ขณะปิดแอร์)

1.7 Exterior Temperature Sensor
ตัวเซนเซอร์ตัวนี้จะอยู่ตรงกันชนหน้าครับ หลังป้ายทะเบียน หน้าที่ของเซนเซอร์ตัวนี้ก็จะวัดอุณหภูมิภายนอกห้องโดยสาร เพื่อเป็นการกำหนดการเปิด-ปิดวาล์วน้ำ(1.4) ให้น้ำร้อนเข้าฮีตเตอร์ และจะเป็นตัวกำหนดการเปรียบเทียบหรือชดเชยอุณหภูมิในส่วนลมเย็น(แอร์)ที่ต้องทำงานครับ ซึ่งมันเป็นอัลกอริทึม (algorithm) ของระบบครับ ผมไม่ทราบ ยิ้มกว้างๆ
เซนเซอร์ตัวนี้จะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ให้ค่าออกมาเป็นความต้านทาน โดยที่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงค่าความต้านทานจะสูงขึ้น (แปรผกผันกัน) ครับ
- ตำแหน่งติดตั้งครับ อยู่หลังป้ายทะเบียน (รถยังไม่ได้ล้าง ศพแมลงติดเต็มเลย ยิ้มกว้างๆ )


- หน้าตาก็เป็นแบบนี้ครับ ของผมตอนติดตั้งไม่ได้ยึดสายไฟให้แน่ เวลาขับโดนลมปะทะ นานๆไปสายไฟขาดในครับต้องปลอกสายแล้วบัดกรีใหม่ครับ ของเพื่อนๆก็ดูหน่อยล่ะกันเดี๋ยวจะเป็นเหมือนผม


- วัดค่ากันเลยครับ จะได้รู้ค่ามัน ต่อไปถ้าระบบแอร์ผิดปกติก็จะได้รู้ว่ามันเพี้ยนไปหรือเปล่า
การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานนั้นจะเป็นไปอยู่ช้าๆ ถึงแม้อุณหภูมิจะเปลี่ยนแปลงแบบกระทันหัน เนื่องจากการขับรถอาจจะเจอน้ำ เจอแดด เจอร่มเงา เป็นช่วงๆอาจจะสั้น หากเซนเซอร์ไวเกินไปจะทำให้ระบบแอร์ทำงานหนัก เพราะมันจะพยายามเปลี่ยนระบบตามอุณหภูมิด้านนอกมากเกินไป
อันนี้วัดตอนเช้าแดดอ่อนๆ ไม่ร้อน ค่าจะอยู่ประมาณ 1.2 กิโลโอห์ม


วัดกลางคืนอากาศเย็นๆหน่อย(อุณหภูมิต่ำลง)จะอยู่ที่ประมาณ 1.5 กิโลโอห์ม ลองเอาไปจุ่มน้ำเย็นๆในอ่างบัวดู อยู่ประมาณ 1.7 กิโลโอห์ม :p


วัดตอนกลางวันแดดร้อนๆเที่ยงๆ (อุณหภูมิสูงขึ้น) จะอยู่ที่ประมาณ 1 กิโลโอห์ม

1.8 Interior Temperature Sensor
ตัวเซนเซอร์ตัวนี้จะอยู่ตรงช่องที่หัวเข่าซ้ายคนขับครับ หน้าที่ของเซนเซอร์ตัวนี้ก็จะวัดอุณหภูมิภายในห้องโดยสาร (เน้นด้านคนขับเป็นหลัก) และ เซนเซอร์ตัวนี้ก็เหมือนกันกับตัวก่อนคือจะมีคุณสมบัติทางไฟฟ้าที่ให้ค่าออกมาเป็นความต้านทาน โดยที่เมื่ออุณหภูมิต่ำลงค่าความต้านทานจะสูงขึ้น (แปรผกผันกัน) ส่งเข้าประมวลผลด้วยเช่นกัน อืม!! จะเบื่อกันหรือเปล่านะ เริ่มจะออกวิชาการอีกแล้ว ยิ้มกว้างๆ ไปดูตัวจริงๆ กันดีกว่า
- มันอยู่ตรงนี้ล่ะ หลังช่องครับ อากาศภายในห้องโดยสารส่วน


- การดึงอุณหภูมิภายในห้องโดยสารมาก็จะมีท่อดูดอากาศต่อด้านหลัง โดยอากาศจะผ่านเข้าด้านหน้า(สี่เหลี่ยม) ออกด้านหลัง (กลม)


- คนเบื้องหลัง เฮ้ย!! เซนเซอร์เบื้องหลัง ที่มาของอุณหภูมิที่สบายๆ ในห้องโดยสาร


- เอามันออกมาให้ชัดๆ คงไม่ถึงกับต้องแยกชิ้นส่วนนะ ตุ่มกลมๆที่เห็นอยู่ตรงกลาง(กล้องโทรฯ ไม่ชัดเท่าไหร่ ขออภัย) อันเท่าหัวไม้ขีดไฟ นั้นล่ะครับเซนเซอร์มัน


- วัดกันเห็น ๆ ที่อุณหภูมิต่างๆ อันนี้วัดตอนเช้า อากาศเย็นมีลมพัด ซึ่งเซนเวอร์ตัวนี้จะไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภุมิมากกว่า Exterior Temperature Sensor มาก
30 องศา = 1.6 กิโลโอห์ม
29 องศา = 1.8 กิโลโอห์ม
25 องศา = 5.5 กิโลโอห์ม
24 องศา = 6.2 กิโลโอห์ม


เอาล่ะพอแค่นี้เซนเซอร์ตัวนี้ ยังมีตัวเด็ดๆในมึนหัวตึ๊บ!! อีกเยอะครับ ยิ้มกว้างๆ

1.9 UV Sensor
เซนเชอร์ตัวนี้จะอยู่ที่บนคอนโซนหน้าครับ โดยจะทำหน้าที่รังสีอุลตราไวโอเลต (Ultraviolet,UV) ซึ่งรังสีนี้มันก็อยู่ในแสงแดดนี่ล่ะ เอาเป็นว่าผมเรียกว่าเซนเซอร์วัดแสงละกัน ทุกวันนี้แสง UV จะเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เพราะชั้นบรรยากาศถูกทำลายมากขึ้น เราจึงช่วยกันรักษาสิ่งแวดล้อมด้วยนะครับ อุ๊ย!! นอกเรื่องแล้ว กลับมาๆๆ ยิ้มกว้างๆ เหตุที่ต้องวัดแสงนี้ เพราะแสงสามารถส่องผ่านกระจกหน้ารถเข้ามาได้ (จะมากจะน้อยก็ขึ้นอยู่กับฟีล์มกรองแสงด้วย) เมื่อตกกระทบกับอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนต่างๆภายในรถก็จะทำให้เกิดความร้อนขึ้นบนผิววัตถุนั้น โดยเฉพาะพวกคอนโซนดำ 555 + ยิ่งแสงมาก(แดดแรง) ก็จะเกิดความร้อนมาก ก็จะนำค่าที่ได้จากการวัดไปประมวลผลอีกทีร่วมกับเซนเชอร์อื่นๆ คงไม่ต้องเอาอัลกอริทึม (algorithm) มานะ เพราะผมเองก็ไม่รู้ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ เซนเซอร์นี้พูดมายาวแล้ว เดี๋ยวเบื่อกันซะก่อน ดูตัวจริงเลยดีกว่าครับ
- ตำแหน่งติดตั้งครับ จุดนี้ล่ะรับแดดกันเต็มๆ


- ตัวเป็นๆ แบบนี้ล่ะครับ


- แยกชิ้นออกมาดูกัน ชัดๆ ครับ ด้านซ้ายก็กรอบมัน ตรงกลางเป็น filter กรองรังสีอื่นๆที่ไม่ใช่ UV ออกไป(บ้าง)และป้องกันการกระแทกหัวเซนเซอร์ ส่วนด้านขวาคือหัวเซนเซอร์ครับ (ดูบอบบางมาก)


- นี้ล่ะตัวเซนเซอร์มันครับ หลักการก็คล้ายๆกับโซล่าเซลล์ (Solar Cell) นั้นเอง คือจะเปลี่ยนแสงเป็นพลังงานในรูปแรงดันครับ เอาเข้าใจง่ายๆก็เหมือนเครื่องคิดเลขที่ใช้แสงเป็นพลังงาน


- วัดกันเห็น ๆ (อีกแล้ว) เซนเซอร์ตัวนี้มีการทำงานที่ค้านข้างไวแสงมากครับ
แดดจ้า = 495 mV.
แดดอ่อนตอนเช้า = 470 mV.
ไม่มีแดด = 270 mV.
ในเงามืด = 60 mV.
กลางคืน = 0 V.


ก็แค่นี้นะครับสำหรับเซนเซอร์ตัวนี้ ผมไม่ลงลึกถึงวัสดุหรือสารที่เอามาทำเดี๋ยวมันจะยาวน่าเบื่อไป เอาแบบขำๆก็พอ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ

1.10 Relay (รีเลย์)
มันก็คือสวิทช์นี้ล่ะครับ โดยจะป้อนไฟ 12 โวลล์ผ่านขดลวดเข้าไปสร้างสนามแม่เหล็กดึงให้หน้าคอนเท็คของสวิทช์ติดกัน ลักษณะก็เป็นรีเลย์ 4 ขาธรรมดาทั่วไปครับ
ตัวรีเลย์นี้จะทำหน้าที่เฉพาะตอนที่จะให้พัดลมในตู้โบเวอร์ทำงานเต็ม 100 % เท่านั้น ส่วนระดับความเร็วของโบเวอร์อื่นๆ จะเป็นหน้าที่ของ Power Transistor (1.11) ครับ
- อันนี้ของผมหน้าตาโบราณจริงๆ สนิมก็ขึ้น แต่ใช้ได้ครับ ของ DENSO made in japan เหมือนกัน ยิ้มกว้างๆ


1.11 Power Transistor
หน้าที่ของตัวนี้ก็คือมาแทนที่ขดลวดต้านท้านที่อยู่ภายในตู้โบเวอร์ครับ
พูดถึงของเดิมก่อนนะ ของเดิมจะเป็นคอยล์ต้านทานแบบ 3 ขดต่ออนุกรมกันอยู่ ก็จะได้ความแรงลม 4 ระดับตามที่กรอบแอร์มี (ระดับ 4 แรงสุดจะไม่ผ่านคอยล์ต้านทาน)
ที่นี้ก็มาดู power transistor บ้าง ตัวนี้จะติดอยู่กับซิงค์ระบายความร้อนด้วยและติดตั้งลงในตู้โบเวอร์ (แทนที่ของเดิม) เหตุที่ต้องติดตั้งลงในตู้โวเวอร์ก็เพราะทั้งคอยล์ต้านทานและpower transistor มันจะเกิดความร้อนขึ้นขณะมันทำงาน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายก็ต้องอาศัยลมจากโบเวอร์ช่วยระบายให้เย็นลงครับ
Power Transistor ที่ใช้จะเป็นเบอร์ 2SD1460 ชนิด NPN และตัวถังแบบ TO-3 ครับ ก็ไม่ต้องใส่ใจอะไรมากแค่บอกให้รู้ไว้แค่นั้นครับ เดี๋ยวจะเข้าหลักการมากไปอีก ดูกันต่อเลยดีกว่าครับ
- เดิมๆที่อยู่ในตู้โบเวอร์บ้านเราจะเป็นแบบนี้ครับ เป็นคอยล์ต้านทานครับ (ตัวที่ตั้งยืนพิงอยู่)


- อันนี้ล่ะครับ อยู่ในตู้โบเวอร์ครับ ของผมก็เก่าๆ โบราณอีกแล้ว แต่ใช้งานได้ดีครับ ยิ้มกว้างๆ หน้าตาก็จะเป็นแบบนี้ครับทรานซิสเตอร์ ตัวถัง TO-3


1.12 ชุดสายไฟ
ตัวนี้ถ้าจะไม่พูดถึงเลยก็ไม่ได้ เดี๋ยวมันจะเหมือนขาดๆอะไรไป ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่ส่วนที่สำคัญมาก ประมาณว่ามีก็ดีไม่มีก็ได้ เพราะชุดสายไฟนั้นถ้าช่างที่ชำนาญแล้วจะสามารถตัดแต่งดัดแปลงจากชุดสายไฟเดิมได้ครับ แต่ที่ต้องมีแน่ๆ คือ "ปลั๊ก" ครับ ปลั๊กต่างๆ เช่นปลั๊กของชุดกรอบแอร์ ปลั๊กเซนเซอร์ ปลั๊กมอเตอร์ต่างๆ แต่ก็อย่างว่านั่นล่ะครับ ไม่มีก็ได้แต่คงไม่น่าดูและยากต่อการ service หรือกับคนที่ชอบรื้อรถเล่น D.I.Y อะไรเล่นๆ (ผมก็คนหนึ่ง) ยิ้มกว้างๆ
- ชุดสายไฟผมไม่มีรูปให้ดู(ขออภัย) เพราะไม่อยากรื้อ เดี๋ยวจะงานใหญ่ไป ยิ้มกว้างๆ

สรุปก่อนจบ (1.)
เล่นเอาเหนื่อยเหมือนกันครับ กว่าจะจบตอนนี้ได้ รื้อรถตัวเองซะเลย (ไม่เป็นไรครับ รื้อเล่นอยู่บ่อย ยิ้มกว้างๆ ) เพื่อผมพยายามให้เพื่อนๆมองเห็นภาพจริงๆว่ามันเป็นยังไง รูปก็เลยเยอะไปหน่อย จริงๆก็เยอะกว่านี้ครับ แต่ต้องตัดออกไปบ้างเดี๋ยวมันจะโหลดนานไป
จริงๆส่วนที่ 1. นี้มันมีรายละเอียดเยอะมากๆ ถ้าเอาแบบลงลึกเกินไปมันจะน่าเบื่อเปล่าๆ อยากให้อ่านแบบไม่เครียด ไม่ต้องลงวิชาการมากครับ
จบส่วนนี้แล้วมีอะไรสงสัยหรือผมผิดพลาดตรงไหนก็แจ้งได้เลยครับ

ตอนที่ 2 ติดตามกันได้


2. กรอบแอร์ประเภทต่างๆ
สามารถแบ่งออกเป็นแบบไหนบ้างมาดูกันครับ ส่วนเรื่องลายภายนอกจะเคฟล่า หรือดำ หรือลายไม้ ไม่พูดถึงนะ และก็จะเป็นเวอร์ชั่น LEV หรือ Vi-RS หรือ TypeR ก็ไม่พูดถึงเหมือนกัน จะเอาที่ระบบเป็นสำคัญครับ
ก่อนอื่นก็ต้องบอกกันให้คิดก่อนนะครับว่า กรอบแอร์นั้นมีทั้งแบบสำหรับรถพวงมาลัยขวาและพวงมาลัยซ้าย ซึ่งบางคนอาจจะลืมนึกถึงส่วนนี้ไป บางทีเห็นลงประกาศขายอยู่แต่ไม่มีรูปให้ดู ซื้อมาอาจจะมีฮากันล่ะครับ แต่จริงๆแล้วมันก็สามารถใช้งานกันได้เหมือนกันมีอยู่ก็แค่อันเดียวและก็เป็นระบบเดียวเท่านั้นที่(ผมคิดว่า)ไม่น่าจะใช้ได้ แต่ก็คงไม่เกินความสามารถช่างไทยครับ เดี๋ยวมาดูกันครับว่าแบบไหน

- แบบนี้ครับ พวงมาลัยซ้ายแต่ใช้กรอบแอร์พวงมาลัยขวา มันก็ใช้ได้ครับแต่ตำแหน่งปุ่มมันจะไม่เหมาะ ควบคุมยาก(ต้องเอื้อมนิด) การเข้าถ้าปุ่มจะช้ากว่า


- เทียบให้เห็นๆว่ามีทั้งสำหรับพวงมาลัยซ้ายและขวา


ขอพูดเรื่องแบบออโต้กับไม่ออโต้ก่อนนะครับว่าต่างกันยังไง ส่วนจะใช้อะไรบ้างก็จะไปลงในรายละเอียดของแต่ละแบบครับ
- แบบไม่ออโต้ แบบนี้จะไม่มีในส่วนของการประมวลผลหรือตรวจวัดอุณหภูมิ ดังนั้นระดับความร้อน-เย็นที่ออกมาจะได้จาก mix ในตู้แบ่งลมหรือตู้ air mix นั่นเอง ซึ่งในช่วงจังหวะหรือเวลาบางครั้งเราจะรู้สึกว่าแอร์เย็นหรือร้อนไปทั้งๆที่เราปรับปุ่มอุณหภูมิไว้เท่าเดิม เช่นกลางวันต้องปรับลดลง(เร่งเย็น) กลางคืนต้องปรับเพิ่มขึ้น (เร่งอุ่น) ก็จากที่ผมบอกว่าไม่มีส่วนที่จะมาคอยประมวลผลเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม(ปัจจัยอื่นๆ เช่นแสงแดด, ฝน หรือฤดูกาล) ไงครับ มันจะมีแต่สิ่งที่อยู่ในตู้แอร์(Thermostat)เท่านั้นที่เอามาคิด ไม่รู้ว่าจะเข้าใจหรือเปล่านะครับ เดี๋ยวลองอ่านต่อแบบออโต้ดูครับเผื่อจะพอเห็นภาพขึ้นมาบ้าง

- แบบออโต้ แบบนี้จะเพิ่มส่วนของการตรวจสอบอุณหภูมิภายนอกมาใช้ในการประมวลผลในการทำงานของแอร์ด้วย โดยระบบแอร์จะพยายามรักษาระดับอุณหภูมิให้ได้เท่ากับตัวเลขที่เราปรับไว้ตรงปุ่มปรับอุณหภูมิ (ในความเป็นจริงระบบต้องสมบุรณ์จริงๆถึงจะได้ตามนั้น) โดยจะมีเซนเซอร์ที่จะมาเกี่ยวข้องอีก 3 ตัวคือ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.เจ๋ง และ UV Sensor(1.9) และในส่วนควบคุมที่กรอบแอร์ก็จะใช้คนละแบบกันกับแบบไม่ออโต้ การทำงานทั้งหมดจะมีการปรับลด-เพิ่ม-ชดเชย อุณหภูมิกัน และไม่ใช่แค่นั้นในการกระจายทิศทางลมหรือช่องแอร์มีการปรับอยู่ตลอดเวลา(ในโหมดออโต้) เพื่อให้อุณหภูมิเท่ากันทั่วห้องโดยสาร

2.1 แบบสไลต์ แบบนี้จะเป็นของปี 96-98 ครับ
- สไลด์เดิมๆแบบบ้านเรา ไม่พูดอะไรมากล่ะกันนะครับ เพราะรู้กันอยู่แล้ว การทำงานของมันก็ใช้ระบบ Thermostat ในการควบคุมอุณหภูมิ และไม่มีตัวฮีตเตอร์
- สไลด์ตัวนอก (ส่วนใหญ่ก็จะเป็นของ Type R ที่เข้ามา) ตัวนี้หน้าตาก็ไม่ต่างจากของบ้านเรามากนัก (ไม่ใช่ที่ลายนะ) ที่ต่างก็จะเป็นที่ตัวนอกนั้นจะมีส่วนของการควบคุมอุณหภูมิโดยใช้ระบบ air mix คือมันจะมีส่วนของฮีตเตอร์มาเกี่ยวข้องและทำงานร่วมกับ Thermostat ด้วย ทำให้การควบคุมอุณหภูมินั้นอยู่ที่การผสมลมร้อนและลมเย็นด้วยกัน โดยมีสายเคเบิลลิงค์เชื่อมโยงไปยังตู้แอร์มิกซ์ ตรงนี้ล่ะครับ ที่ผมบอกว่ากรอบแอร์บางประเภทซ้าย-ขวามาแทนกันไม่ได้ แต่ช่างไทยก็อย่างว่าครับ "ไม่ใช่ปัญหา" ส่วนใหญ่แล้วกรอบแอร์แบบนี้ที่เอามาใช้ในบ้านเราก็ไม่มีส่วนแอร์มิกซ์จะเหลือแต่ ระบบ Thermostat อย่างเดียว แต่นี้การทำงานก็เหมือนกับแบบสไลด์เดิมๆแบบบ้านเราแล้วครับ ก็ไม่รู้จะอธิบายยังไง ก็คงพอเข้าใจนะครับ
มาเปรียบเทียบกันนะครับว่าต่างกันยังไง ให้ดูที่ส่วนควบคุมอุณหภูมิครับ ของบ้านเราจะมีเฉพาะแถบสีน้ำเงิน(ความเย็น) แต่ส่วนของนอกจะมีแถบสีแดง(ความร้อน) เพื่อผสมเป็นสัดส่วนในตู้ air mix เข้าใจนะครับ ถ้ายังไม่เข้าใจให้นึกถึงนี้หลายๆคนเข้าใจแน่ๆ ให้นึกถึงอ่างอาบน้ำในโรงแรม (อ่างที่อื่นผมไม่รู้ :p ) อยากได้น้ำร้อน-เย็นแค่ไหนก็ผสมเอา ทีนี้ปิ๊งๆๆขึ้นมาล่ะซิ ยิ้มกว้างๆ เอาขำๆพอ มาดูรูปกันเลยดีกว่าครับ


ระบบ
- ออโต้ ==> กรอบแอร์แบบสไลด์นี้ไม่มีแบบออโต้ครับ
- ไม่ออโต้ ==> หากเป็นกรอบแอร์แบบของบ้านเราก็คงไม่ต้องทำอะไรกับมันหรอกครับ แต่ถึงเป็นของนอกมาถ้าจะไม่เอาไม่เต็มระบบก็สามารถเปลี่ยนแทนของเดิมได้เลย แต่ถ้าจะเป็นเต็มระบบก็ต้องมาส่วนของตู้ air mix+heater และสายลิงค์ครับ แต่ส่วนใหญ่คนที่เปลี่ยนก็จะไม่ค่อยทำเพิ่ม ถ้าคิดจะทำเพิ่มส่วนใหญ่ไปเล่นแบบ 1 ปุ่มกับ3 ปุ่มซะมากกว่าครับ

ก็ขอพอแค่นี้นะครับสำหรับแบบสไลด์ ถึงแม้รายละเอียดจะยังมีอีกเยอะ แต่เดี๋ยวมันจะออกไปทางวิชาการไป มันจะน่าเบื่อที่จะอ่านเปล่าๆครับ

2.2 แบบ 3 ปุ่ม 2 DIN แบบนี้จะเป็นของปี 99-00 ครับ
จะแบ่งออกเป็น 2 ระบบอีกครับคือแบบออโต้กับไม่ออโต้ ทั้งสองหน้าตาต่างกันตรงไหนและมีทำงานต่างกันยังไงบ้าง
เอาหน้าตาก่อนละกันครับ ตำแหน่งปุ่มจะเหมือนกันครับ แต่ถ้าดูแต่ละปุ่มจะไม่เหมือนกันซะทีเดียว เรียงทีละปุ่มนะ
ปุ่มที่ 1 (บน) เป็นปุ่มโหมด ในของออโต้จะมีตำแหน่งเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ตำแหน่งคือคำว่า Auto
ปุ่มที่ 2 (กลาง) เป็นปุ่มอุณหภูมิ ในของแบบออโต้จะมีตัวเลขบอกอุณหภูมิแต่แบบไม่ออโต้จะมีแถบสีน้ำเงิน-แดงหรือเรียกว่าแถบแอร์มิกซ์ครับ
ปุ่มที่ 3 (ล่าง) เป็นปุ่มสปีดโบเวอร์ ในของออโต้ ความแรงลมจะมีคำว่า Auto
อันด้านซ้ายแบบไม่ออโต้ ส่วนอันด้านขวาแบบออโต้ครับ


ระบบ
- แบบ 3 ปุ่มไม่ออโต้ แบบนี้ในส่วนของระบบจะเหมือนกับกรอบแอร์แบบสไลด์ของตัวนอกนะครับ จะต่างกันนิดหน่อยตรงที่แบบสไลด์จะใช่สายลิงค์ของตู้ air mix เชื่อมต่อกับปุ่มเลื่อนสไลด์โดยตรง แต่แบบ 3 ปุ่มจะใช้มอเตอร์แทนครับ
ด้านการติดตั้ง
- เต็มระบบ ใช้ของในหัวข้อที่ 1 เกือบทุกตัวจะยกเว้นแค่ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.เจ๋ง และ UV Sensor(1.9)
- ไม่เต็มระบบก็เหมือนกับแบบเต็มระบบครับ และมีส่วนที่เอาออกเพิ่มคือ ตู้แบ่งลมที่มี Heater(1.1), เสื้อน้ำ(1.3), วาล์วน้ำ(1.4) และท่อน้ำร้อนเข้า-ออกตู้ Heater(1.5)

- แบบ 3 ปุ่มออโต้ ก็จะมีเซนเซอร์เพิ่มเข้ามา 3 ตัวจากที่กล่าวมาด้านบน (ต้นหัวข้อ 2)
ด้านการติดตั้ง
- เต็มระบบ ใช้ของในหัวข้อที่ 1ครบหมดทุกตัวเลยครับ
- ไม่เต็มระบบ แบบไม่เต็มระบบของ 3 ปุ่มนี้ยังไงก็ควรมีเซนเซอร์ Exterior Temperature Sensor(1.7), Interior Temperature Sensor(1.เจ๋ง และ UV Sensor(1.9) 3 ตัวนี้ด้วย และที่เอาออกก็เหมือนกับแบบ 3 ปุ่มไม่ออโต้ครับ คือเอาในส่วนของระบบ Heater ออก แต่จะไม่สามารถปรับลด-เพิ่มอุณหภูมิที่ปุ่มปรับได้ ถึงยังไงก็สามารถแปลงได้ โดยใช้ระบบ Thermostat เข้ามาแท็ปเอา มันค่อนข้างจะอธิบายยากครับ ให้คิดอย่างนี้ล่ะกันคือระบบไม่ออโต้จะใช้ Thermostat เป็นการกำหนดการทำงานของคอมแอร์ แต่ระบบออโต้จะใช้ Processor ในการกำหนดการทำงานของคอมแอร์ โดยเอาสัญญาณจากเซนเซอร์แต่ละตัวมาประมวลผลอีกที เพราะฉนั้นในการแปลงก็คือเอาระบบ Thermostar เข้ามาแทนที่ครับ สงสัยยิ่งอธิบายจะยิ่งงงนะ จบแค่นี้ล่ะ ยิ้มกว้างๆ

อื้ม!! ลืมไป เสริมตรงนี้ล่ะกัน คือในแบบ 3 ปุ่มนี้ ส่วนของท่อแอร์นั้นต้องมีการแก้ไขนะครับ เพราะช่องไม่ตรงกัน โดยจะหาตรงรุ่นมาหรือตัดต่อของเดิมเอาก็ได้ครับ

2.3 แบบ 1 ปุ่ม
แบบนี้ทั้งหมดก็จะเป็นออโต้ครับ หน้าตาก็จะมีเยอะหน่อยเช่น มีจอเนฯ, แบบ 1 DIN และแบบ 1 DIN ที่ Biut-in วิทยุมาด้วย ในส่วนของการทำงานของแอร์ก็จะเหมือนกันหมดจะต่างที่ Option มันมากกว่าครับ
- 1 ปุ่ม 1 DIN


- 1ปุ่ม จอเนฯ


การแสดงผล การทำงานของแอร์ระหว่าจอเนฯกับ 1 DIN


ระบบ
- แบบปุ่มเดียวนี้มีเฉพาะออโต้เท่านั้น ดังนั้นการทำก็เหมือนๆกับแบบ 3 ปุ่มออโต้ครับ

แถมๆครับ ในแบบจอเนฯนี้ มีของเล่นเยอะมากครับที่จะมาพ่วงกับมันได้แก่ ชุดเนวิเกเตอร์(มีแผ่นแผนที่+กล่องเนวิเกเตอร์ตัวรับ GPS), ตัวเล่นคาสเซตเทป, ตู้ CD Changer และ ชุด TV Tuner ครับ

3. สิ่งที่ได้มาและสิ่งที่เสียไป
- สิ่งที่ได้มาคือการหลุดพ้นจากของเดิมๆติดรถ (ไม่ใช่ประเด็นเท่าไหร่ ยิ้มกว้างๆ )
การปรับปรุงหรือตรวจเช็คระบบแอร์ใหม่ไปในตัว (ถ้าทำแบบเต็มมีตู้ Heater นะ)
ในส่วนประโยขน์ของการมีตู้ Heater นั้น ก็ช่วยในช่วงฤดูหนาวได้ดีครับออกจากห้องแอร์ที่ทำงานมาก็อยากหาที่อุ่นอยู่ซะหน่อย ยิ้ม
เรื่องของการกระจายความเย็น (ในโหมดออโต้) ก็สามารถทำได้ดี
-สิ่งที่เสียไปก็แน่นอนครับเรื่องเงินอยู่แล้ว
การบำรุงรักษาก็ต้องมีมากว่าแน่นอน
รถช้ำนิดหน่อยยิ่งมีตู้ Heater ด้วยก็ต้องเจาะรถ และต่อเสื้อน้ำที่เครื่อง(บล็อค D เท่านั้น) เพิ่มด้วย

4. ข้อควรระวังนิดหน่อย
ในการติดตั้งแบบเต็มระบบคือมีตู้ Heater ด้วยนั้น ก็จะมีการแบ่งน้ำในระบบหล่อเย็นเครื่องยนต์มาใช้ด้วย ดังนั้นเป็นเรื่องปกติที่ในช่วงแรกๆหลังการติดตั้งมา ต้อง!! หมั่นดูน้ำในระบบหล่อเย็นด้วย เดี๋ยวจะเกิดอาการเครื่องฮีทกันอีก ไม่ใช่เฉพาะต้องทำแอร์เท่านั้น แค่การเปลี่ยนถ่ายน้ำหม้อน้ำของรถทั่วไปก็ต้องหมั่นดูน้ำด้วยเช่นกันครับ

ก่อนจบ. ก็เช่นเคยครับ บทความนี้ที่ผมทำขึ้นมาก็หวังว่าจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆ ชาว EK Gruop บ้างนะครับ ผมพยายามที่จะทำออกมาแบบอ่านสบายๆ อ่านแล้วไม่เครียด อย่าให้มันออกวิชาการมากไป ถึงแม้ว่าในรายละเอียดนั้นจะมีอีกค่อนข้างจะเยอะมากๆๆ ผมคงไม่ลงถึงการติดตั้ง การ wiring หรอกนะครับ การทำบทความนี้ผมใช้เวลานานพอสมควร ทั้งในเรื่องรูปถ่าย การวัดทดสอบอุปกรณ์มาให้ดู การเขียนบทความขึ้น อะไรหลายๆอย่าง เหนื่อยเลยครับบทความนี้ แต่ก็ชอบที่จะทำมาให้อ่านกันครับ และก็เหมือนเดิม ถ้าผิดพลาดตรงไหนก็ขออภัยครับ และอีกอย่างล่ะกันคือบทความนี้ก็น่าจะอยู่ในส่วนของ >>> Knowledge Base <<< แต่ที่ผมลงไว้ที่กระทู้ธรรมดาเพราะหลายๆคนจะไม่ค่อยได้สนใจหรือไม่สังเกตุในหัวข้อที่ติดหมุดกันเท่าไหร่ จึงขออนุญาติลงไว้ที่นี้ให้ได้อ่านกันซักพักก่อน หลังจากกระทู้ตกไปแล้วก็คงต้องรบกวนผู้ดูแลระบบย้ายขึ้นไปไว้ที่ Knowledge Base ด้วยนะครับ ขอบคุณครับ เอาล่ะจบได้แล้ว




Credit : CM club Northern Zone
บันทึกการเข้า

ห นึ่ ง ชี วิ ต ลิ ขิ ต เ อ ง



http://www.facebook.com/mystinbz


แอดมาคุยกันได้คับ ^^

http://www.welovecivic.com/forum/index.php?topic=141867.0

แวะชมกันได้คับ ^^
beer13
ชาวยุทธ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1


« ตอบ #2 เมื่อ: 12 มีนาคม 2013, 10:52:10 »

ไม่เห็นรูป
บันทึกการเข้า
thanawat6
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,230


Japan Garbage Car & THE GANG DIY SERVICE


« ตอบ #3 เมื่อ: 14 มีนาคม 2013, 11:18:19 »

ข้อมูลเยอะดีครับ อยากทำบ้างจัง  เศร้า เศร้า
บันทึกการเข้า

MANUTS
= ท่านรอง รปภ. สป. =
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,972


นัต.....สมุทรปราการ


« ตอบ #4 เมื่อ: 14 มีนาคม 2013, 16:49:42 »


ผมเซพจากในเวปเรานี่แหละแต่ผมจำกระทู้ไม่ได้แล้ว ( ผมไปให้ช่างตู่ทำให้ ผมมีกรอบแอร์3ปุ่ม กับ คอลโทล8สปีด สองอย่างครับ)

1. power transistor ตัวควบคุมพัดลม 8 ระดับ       
2. เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายใน    ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
3. เซ็นเซอร์วัดแสง   ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
4. Relay สำหรับ พัดลม ระดับสูงสุด ใช้คู่กับ power transistor ใส่เพื่อ ลดภาระ และความร้อนของ power transistor
5.  เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายนอก    ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
6. อีกตัว เซ็นเซอร์  Evaporator  (หางหนู)  ส่วนใหญ่จะติดกับ Thermostat       
7. Volume 10k
8. ตู้แบ่งลมแบบมี Heater ตัวนอก ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
9. วาล์วแบ่งน้ำเข้าตู้แบ่งลม     ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้       
10.ท่อแอร์เยื้อง  ทำแอร์ปุ่มเดียวออโต้  ไม่ต้องใช้     
11. เสื้อวาล์วน้ำแบบมีตัวแบ่งน้ำออก 2 ท่อ เครื่อง D15 , B20 ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้       
บันทึกการเข้า

Forgive  AND  Forget
OILZOILZ
Gold Member
ศิษย์พี่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 244


รับทำสี


« ตอบ #5 เมื่อ: 22 มีนาคม 2013, 12:39:23 »

 ลังเล
บันทึกการเข้า
thanawat6
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 3,230


Japan Garbage Car & THE GANG DIY SERVICE


« ตอบ #6 เมื่อ: 23 มีนาคม 2013, 22:06:20 »

ผมเซพจากในเวปเรานี่แหละแต่ผมจำกระทู้ไม่ได้แล้ว ( ผมไปให้ช่างตู่ทำให้ ผมมีกรอบแอร์3ปุ่ม กับ คอลโทล8สปีด สองอย่างครับ)

1. power transistor ตัวควบคุมพัดลม 8 ระดับ       
2. เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายใน    ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
3. เซ็นเซอร์วัดแสง   ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
4. Relay สำหรับ พัดลม ระดับสูงสุด ใช้คู่กับ power transistor ใส่เพื่อ ลดภาระ และความร้อนของ power transistor
5.  เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิภายนอก    ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
6. อีกตัว เซ็นเซอร์  Evaporator  (หางหนู)  ส่วนใหญ่จะติดกับ Thermostat       
7. Volume 10k
8. ตู้แบ่งลมแบบมี Heater ตัวนอก ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้     
9. วาล์วแบ่งน้ำเข้าตู้แบ่งลม     ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้       
10.ท่อแอร์เยื้อง  ทำแอร์ปุ่มเดียวออโต้  ไม่ต้องใช้     
11. เสื้อวาล์วน้ำแบบมีตัวแบ่งน้ำออก 2 ท่อ เครื่อง D15 , B20 ทำไม่เต็มระบบ ไม่ต้องใช้       

ข้อมูลนี้คุ้น ๆ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: การทำกรอบแอร์ 3 ปุ่มเนี่ย จำเป็นต้องใช้อะไรบ้าง หรือแค่ กรอบแอร์ ท่อเยืีองก็พอคร
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |