ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
23 กรกฎาคม 2025, 06:16:24
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: จะปีใหม่แล้ว อยากขึ้นดอย เลยมีเรื่องอยากถามผู้รู้หลายข้อเลยช่วยหน่อยนะครับ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: จะปีใหม่แล้ว อยากขึ้นดอย เลยมีเรื่องอยากถามผู้รู้หลายข้อเลยช่วยหน่อยนะครับ  (อ่าน 1803 ครั้ง)
heaedd
เข้าวงการ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2012, 11:14:50 »



1 เพิ่งวางเครื่อง B20B มา ขึ้นดอยไหวมั๊ย
2 ต้องเช็คอะไรบ้าง ข้อละเอียดหน่อยนะครับ
3 หม้อน้ำเปลี่ยนมาใหม่ ขึ้นดอยกลัวเรื่องความร้อนอะ
4 ใช้เกียร์อะไรขึ้นและลงครับ ไม่เคยมีประสพการการขึ้นดอยเลย
สุดท้ายข้อให้ผู้ตอบทุกคนมี่ความสุขและความเจริญในปีใหม่นี้นะครับ เจ๋ง เจ๋ง
บันทึกการเข้า
lighteningz
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 1,220


ห นึ่ ง ชี วิ ต ลิ ขิ ต เ อ ง


« ตอบ #1 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2012, 11:42:25 »

1 เพิ่งวางเครื่อง B20B มา ขึ้นดอยไหวมั๊ย
2 ต้องเช็คอะไรบ้าง ข้อละเอียดหน่อยนะครับ
3 หม้อน้ำเปลี่ยนมาใหม่ ขึ้นดอยกลัวเรื่องความร้อนอะ
4 ใช้เกียร์อะไรขึ้นและลงครับ ไม่เคยมีประสพการการขึ้นดอยเลย
สุดท้ายข้อให้ผู้ตอบทุกคนมี่ความสุขและความเจริญในปีใหม่นี้นะครับ เจ๋ง เจ๋ง

เอาเท่าที่รู้และพอตอบได้นะคับ

ขึ้นไหวแน่ ๆ เช็คอะไรมั้ยหรอ ผมเช็คแค่ลมยาง น้ำในหม้อน้ำ แล้วก็เงินในกระเป๋า

ส่วนเกียร์ใช้เกียร์ต่ำทั้งขาขึ้นและลง ( แล้วแต่ประสบกานในการขับด้วยคับ ) แต่แนะนำว่า ไม่ควรแช่เกิน 3000 rpm ไว้นาน ๆ

รอท่านอื่นนะคับ

 อายจัง

บันทึกการเข้า

ห นึ่ ง ชี วิ ต ลิ ขิ ต เ อ ง



http://www.facebook.com/mystinbz


แอดมาคุยกันได้คับ ^^

http://www.welovecivic.com/forum/index.php?topic=141867.0

แวะชมกันได้คับ ^^
junkhung
เจ้าสำนัก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 674



« ตอบ #2 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2012, 11:51:17 »

   เมื่อสิบกว่าปีก่อนตอนเรียน ปวช เคยขับมอเตอร์ไซค์ ขึ้นดอยอินทนนท์ แถววนั้นเขาก็ขับขึ้นกันปรกติครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม แต่ที่เห็นแน่ๆเลย คือมีคนเอาไดฮัทสุ มิร่า
ขึ้นดอยฯมาแล้ว เห็นกับตาครับ ตอนแรกก็ไม่เชื่อว่ามันจะขึ้นไปได้ แต่เป็นไปแล้ว
    สำหรับ B20 หากวางสมบูรณ์ ระบบความร้อนตรวจเช็คอยู่ตลอด ก็ไม่มีปัญหาหรอกครับ ขึ้นได้สบายเลย CR V ตัวเก่า(เครื่องเดียวกัน) ก็วิ่งกันให้เห็นเยอะไปครับ
     วีออสเพื่อนขับขึ้นไปนั่งสามคน และอุปกรณ์เต๊นท์ เสื้อผ้าต่างๆ ด้วยก็ขึ้นได้ไม่มีปัญหา
    B20B แรงบิดดี CC เยอะ ถ้าวางมาจบๆใช้แล้วไม่มีปัญหาใดๆ ขึ้นวันละสองสามเที่ยวก็ได้ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ปกติถ้าเป็น at มันก็ทดเกียร์ให้อยู่แล้ว หรือไม่ไว้ใจก็เกียร์ต่ำไงครับ ทั้งขึ้น-ลง
   ของผม B18 C ปลายปีนี้มีแปลนว่าจะไปเขาค้ออยู่ครับ  จุมพิต จุมพิต
บันทึกการเข้า

VTA
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #3 เมื่อ: 05 พฤศจิกายน 2012, 16:44:49 »

เรื่องรถที่จะขับขึ้นดอยขึ้นเขา  ขับขึ้นได้ทุกขนาดของรถ   เพียงแต่ต้องรู้ถึงกำลังของรถ  ความสมบูรณ์ของเครื่องยนต์   แต่หลักๆที่ควรจะเตรียมพร้อมไว้รับสถานการณ์  ในการขับรถขึ้นเขา
เรื่องแรกก็ควรตรวจสอบเรื่องระบบเบรค  ผ้าเบรค  ควรนำไปให้ช่างตรวจสอบ ทั้งระบบ ว่ามีน้ำมันเบรครั่วซึม ที่กระบอกสูบปั้มน้ำมันเบรคของ ดิสเบรคและดรั้มเบรคหรือไม่  ตรวจสอบให้เรียบร้อย   เพราะในการขับรถขึ้นเบาลงเขาต้องใช้ระบบเบรคมากเป็นพิเศษ  โดยเฉพาะขาลง  จะต้อใช้ควบคู่กับตำแหน่งของเกียร์รถ  ที่ใช้เกียร์ช่วยในการเบรคหรือ เอ้นจิ้นเบรคด้วย  เพื่อลดการใช้เบรคจากดรั้มและดิสเบรค ในบางจังหวะของความเร็วในทางลงที่ลาดชัน  แม้แต่ทางขึ้นเรื่องเบรคก็สำคัญ  อย่ามองข้าม  หากระบบเบรคที่มีปั้มกระบอกสูบของระบบเบรคเกิดรั่ว  หากในจังหวะที่รถไต่ระดับไม่ไหว  เพราะการใช้เกียร์ไม่ถูกกับการใช้แรงบิดของรอบเครื่องยนต์กับการทดเกียร์   ทำให้รถขึ้นไม่ไหว  ต้องเหยียบเบรคไม่ให้รถไหลลง  หากเบรคที่รั่วซึมของยางโอริงของกระบอกสูบเบรครั่ว   มันก็จะเอาไม่อยู่  รถจะไหลลงอันตรายมาก

ประการที่สอง   เรื่องระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์    จะต้องตรวจสอบว่าระบบระบายความร้อน  หม้อน้ำยังใช้งานปกติหรือไม่  ไม่ตัน พัดลมหม้อน้ำ  ยังมีคตวามเร็วรอบแรงปกติดีหรือไม่   เพราะว่ารถที่ใช้ขับขึ้นเขาในทางชัน  นอกจากจะใช้เกียร์ต่ำ ที่ทำให้รอบเครื่องยนต์สูง  เพื่อเค้นแรงบิดให้กับกำลังของเครื่องยนต์ ในการไต่ระดับ   หากเส้นทางที่ไปนั้น มีระดับความชั้นมีระยะทางยาวเป็นกิโลเมตร  เครื่องยนต์หากระบบระบายความร้อนไม่ดี   ความร้อนจะสูงขึ้นมาก     จะพบว่าเมื่อใดก็แล้วแต่ที่ขับรถขขึ้นเขาที่มีความชั้นสูง   เมื่อความร้อนเครื่องยนต์ขึ้นสูงนานๆ  ผลที่ตามมาก็คือนอกจากจะทำให้ระบบเครื่องยนต์มีปัญหา  ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบระบายความร้อน  กิดแรงดันของไอน้ำมาก  อาจจะทำให้ท่อยางของทางเดินน้ำ และส่วนที่เป็นตาน้ำของผนังเสื้อสูบ  เกิดรั่ว  ก็งานเข้าจัดหนักแน่    หากเ้ผลอก็ฝาสูบโก่ง  มีพบให้เห็นบ่อยๆตามข้างทาง  จะมีทั้งครัชท์ไหม้  เบรคมีกลิ่นไหม้  หากเบรคมีกลิ่นไหม้ ให้พึงระวังเบรคจะเอาไม่อยู่   

ดังนั้นการขับรถขึ้นเขาไต่เขา ลงทางลาดชัน  ต้องมีทักษะในการขับ     แต่อย่าวิตกจนเกินไป  ถือว่าเป็นเรื่องปกติ   หากท่านที่ไม่เคยขับเส้นทางตามที่กล่าวจะขอแนะนำแบบเคร่าๆ  ให้พอเป็นแนวทางในการขับรถ   

เมื่อใดก็ตามที่ทราบว่าข้างหน้าเริ่มเป็นทางชัน  หรือเริ่มจากทางเนินชันขึ้นไปเรื่อยๆ  หากท่านที่ใช้เกียร์สูงในขณะนั้น  ให้ลดเกียร์ที่ใช้ในทางลาดที่ปกติลดลงมาหนึ่งเสต็ป  เช่นที่เกียร์ 4 ลงมาท่่เกียร์สาม  พร้อมกันนั้นหากทางข้างหน้าที่ขับไปนั้นเป็นเส้นทางตรงและมีโค้งบ้างเล้กน้อย   ให้พยยายามใช้ความเร็วรถที่เกียร์ 3 ให้อยู่ในระดับรอบไม่สูงนัก ประมาณ 2500-3000 รอบ  อย่าให้สูงไปกว่านี้  ดูกำลังเครื่องตกลงหรือไม่  หากปรากฏว่ารอบเครื่องยนต์ไม่ต่ำลง แสดงว่าที่เกียร์สามนั้น สามารถลดความเร็วรอบเครื่องยนต์ลงมาอีกได้   เพื่อไม่ให้เครื่องยนต์มีรอบสูงเกินไป   เครื่องจะได้ไม่ร้อน    และเมื่อใดก็ตามที่อยู่ระหว่างการไต่ระดับที่เกียร์สาม  รถเริ่มมีความเร็วลดลงหรืออืด   อย่าปล่อยระยะเวลารอให้เครื่องหรือรอบเครื่องยนต์ตกลงมามาก  เพราะว่าจะทำให้เวลาการเปลี่ยนเกียร์รถ  เกิดการกระตุกอย่างแรง  เสียทั้งแรงส่งของรถที่กำลังไต่ระดับ ทำให้ใช้รอบเครื่องยนต์สูง ที่เกียร์ต่ำ หรือเกียร์หนึ่ง   ไม่ควรจะกระทำ     หากรู้ว่าเครื่องยนต์หรือความเร็วรถเริ่มลดลง  ให้ทำการเปลี่ยนเกียร์ต่ำลงอีกเสต็ปทันที   จะทำให้ไม่เสียกำลังและรอบของเครื่องยนต์   

ในกรณีที่เริ่มไต่ในทางชัน และทราบว่าข้างหน้ามีโค้งหักศอกและต้องไต่ระดับขึ้นไปอีก    อย่าตกใจให้ทำใจเป็นปกติสบายๆ มองในแนวทางข้างหน้าเท่านั้น  ในช่วงนี้หากรถที่ลดระดับเกียร์มาอยู่ที่เกียร์สอง  เมื่อกำลังจะถึงโคงหักศอก  หากว่าในระหว่างนี้ความเร็วยังไม่ตก  แต่รู้ว่าข้างหน้าไม่เกินสิบห้าเมตร  ต้องเสียกำลังเครื่องยนต์แน่นอน  นอกจากเสียความเร็วในการหักศอกที่ทำให้เสียกำลังรถและต้องไต่ระดับอีก   ให้ทำดังนี้ใให้ผ่อนคันเร่งเล็กน้อยพร้อมกับเข้าเกียร์หนึ่งอย่างลวดเร็ว  อย่าให้ความเร็วรถชะงักเพราะจะขาดแรงส่ง  ถึงแม้ว่าเกียร์หนึ่งจะมีรอบสูงขึ้นมาเป็นสองพันถึงสองพันห้าร้อยรอบ  และไม่น่าจะเกินสามพันรอบ  ในกรณีที่ทางชันมาก   เมื่อมาอยู่ในตำแหน่งเกียร์หนึ่ง หากทราบว่าที่ความเร็วรอบขณะนั้น  สามารถที่จะส่งหรือรถมีกำลังในการไต่ระดับ และความเร็วรถไม่ตกหรืออืด  ให้ผ่อนคันเร่งลงมานิดหน่อย กะว่าความเร็วระดับนั้นรถมีกำลังพอที่จะไต่ระดับ  ก็ให้เร่งไว้ที่เท่านั้นต่อไป  จนกว่าจะถึงระดับทางปกติแล้วค่อยเปลี่ยนเกียร์สูงขึ้นไำปตามลำดับ

มีสิ่งที่ควรจะจดจำไว้เสมอว่า  เมื่อใดที่รถสามารถทำความเร็วในแนวราบได้  แล้วรู้ว่าทางข้างหน้าเริ่มขึ้นเนิน   หากความเร็วในขณะนั้นไม่เร็วเกินไป เช่นที่ประมาณ เจ็ดแปดสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง   ก็ให้เพิ่มความเร็วรถขึ้นไปอีก  เพื่อชดเชยความเร็วและเอาแรงเฉื่อยของรถช่วย  และเมื่อถึงเนินรถก็จะไม่เสียกำลังมาก   นอกจากจะทำให้ระบบระบายความร้อนได้รับลมที่สวนมาที่หน้ากระจังรถ  ทำให้ความร้อนเครื่องยนต์ไม่สูง 

ในทางกลับกัน  เมื่อรถเริ่มลงในทางลาดต่ำมาก   และเป็นทางยาวเป็นกิโลเมตร บางท้องที่อาจสี่ห้ากิโลเมตร    ดังนั้นรถที่เคลื่อนที่ใช้ความเร็วจะเสี่ยงอันตรายมาก  เพราะน้ำหนักรถจะเป็นแรงบวกความเร็วในการเคลื่อนที่ เครื่องยนต์แทบจะไม่มีโหลด  อย่าเข้าเกียร์ว่างปล่อยให้รถไหลลงเป็นอันขาด อันตรายมาก แม้จะเบรคก็เบรคแทบไม่อยู่ หรือเบรคไหม้    สิ่งที่ควรปฏิบัติก็คือให้ใช้เกียร์ต่ำ เช่นจากสี่เป็นสาม หรือบางที่ ให้คำแนนะนำว่า  ขึ้นเขาใช้เกียร์ไหน  ลงเขาก็ให้ใช้เกียร์นั้น  ก็พอยึดถือได้  ดูความเหมาะสมเป็นหลัก   อย่าให้ความเร็วรถมากไป ดูระดับความลาดชันของถนนเป็นหลัก     รักษาระดับความเร็วที่อยู่ในช่วงไม่เร็วนัก  ห้าสิบหกสิบ    และที่ประการสำคัญมากๆก็คือ  ให้พยายามใช้เบรคย้ำเป็นจังหวะ  อย่าเบรคแช่ เดี๋ยวผ้าเบรคจะไหม้ หากว่ารถเริ่มมีความเร็วเพิ่มขึ้น  เพื่อชลอความเร็วรถให้มีความเร็วพอจะเบรคให้อยู่ได้โดยไม่เสียหลัก   ก็ประมาณสี่สิบถึงห้าสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง   ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่ถนนในขณะนั้น  หากว่าสามารถใช้ความเร็วมากกว่านั้นก็สามารถเพิ่มได้   

สำหรับรถที่ใช้เกียร์ออโต้ ขาลงควรเข้าเกียร์ในจังหวะ L2  หรือแล้วแต่สภาพเส้นทางนั้น   หากเห็นว่าลาดชันมาก ก็เข้า L2  หากธรรมดาก็ใช้ตามปกติที่ตัว D   แต่แนะนำว่าการเดินทางท่องเที่ยวอย่าใช้ความเร็วกับสถาพถนนที่เป็นทั้งทางลาดชัน ทั้งขึ้นและลง  ขอให้นึกเสมอว่าเรามาเที่ยวหาความสุข ทั้งเราและเพื่อนร่วมเ้ดินทาง   อย่าคะนอง ว่ารถแรง ต้องซิ่ง  จุดจบก็คือไปเที่ยวในเมืองที่ไม่สามารถกลัีบมาได้

สำหรับท่านที่ไม่เคยขับในการขึ้นเขา   ในช่วงแรกๆค่อยๆขับหาประสบการณ์ไปทีละน้อยๆ  จะพบว่าหากผ่านไปสักระยะหนึ่งท่านก็จะพอใช้ทักษะและเรียนรู้กำลังรถที่ท่านใช้ได้ว่า  ควรจะทำอย่างไรในการขับรถขึ้นเขาลงเขา    ก็เคร่าๆเท่านี้ก่อน   ก็ขอให้ทุกท่านที่ใช้รถในการท่องเที่ยวปลอดภัยทุกท่านนะครับ  ....srithanon
บันทึกการเข้า
DUSITTO
ศิษย์พี่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 150


Dusitto


« ตอบ #4 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2012, 11:07:09 »

แนะนำได้ดีมากๆเลยครับ
บันทึกการเข้า
heaedd
เข้าวงการ
*
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 20


« ตอบ #5 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2012, 11:09:37 »

ขอบพระคุณในข้อมูลทั้งหมดเลยนะครับ ช่วยได้มากเลย
บันทึกการเข้า
srithanon
เจ้ายุทธภพ
******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 1,135


« ตอบ #6 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2012, 12:02:06 »

ขอเพิ่มเติมให้อีกสักนิด    ในกรณีที่ขับรถขนไหล่เขาที่มีทางคดเคี้ยว ทั้งหักศอกและโค้งที่มีไหล่ทางของถนนทางด้านซ้ายของรถ  เป็นหุบเหว  เมื่อถึงโค้งหักศอก  ที่ไม่สามรถมองเห็นรถที่สวนมา  ควรใช้สัญยาณแตรกดให้สัญญาณกับรถที่สวนมา   ให้ทราบว่ามีรถวิ่งสวนทางมา  จะได้ระมัดระวัง  ทั้งรถของเราและคันที่ขับสวนทางมา   เพราะบ่อยครั้งโนโค้งหักศอกที่รถกำลังสวนเรามา  เป็นทางที่ชัน  รถที่สวนมาจะพยายามเร่งเครื่องยนต์ไต่ระดับและเข้าโค้งหักศอก    เขาจะพยายามขับคร่อมเส้นแบ่งทางกินมาทางที่รถเรากำลังสวนกัน  หากไม่ให้เสียงสัญญาณ   อาจจะเกิดการปะทะหรือเฉี่ยวชน  ทำให้รถเสียหลักพุ่งลงเหวข้างทาง     ก็มีให้เห็นบ่อยๆ     

ดังนั้นในเส้นทางที่เราขับรถในมุมโค้งทางเรียบบนไหล่เขา   หากไม่สามรถมองรถที่สวนมาได้   ควรให้สัญญาณเสียงจากการบีบแตรรถด้วย    หากเป็นกลางคืน  บางครั้งไม่เห็นแสงไฟจากหน้ารถที่สวนมา  เพราะมุมเขาบัง   ดังนั้นเมื่อขับรถบนเขาในยามค่ำคืน   ให้พยายมใช้ไฟสูงหน้ารถเป็นระยะ   ให้รถที่กำลังขับสวนเรามาเห็นได้แต่ไกล    ทำให้คนขับที่กำลังขับรถสวนเรามาได้ทราบว่ากำลังมีรถแล่นสวนเขาเช่นเดียวกัน   จะได้ปลอดถภัยทั้งสองฝ่าย

และในกรณีที่รถมีปัญหา   เกิดเสียระหว่างทาง  ทั้งขึ้นเขาและลงเขา   พยามหาทางนำรถเข้าแนบไหล่ทางให้มาก  และหากิ่งไม้มากองให้ห่างจากรถสัก สามสิบเมตร  เพื่อให้รถที่ใช้เส้นทางนั้นมองเห็นสิ่งกีดขวาง  ให้ทราบว่ามีรถเสียในเส้นทางนั้น   จะช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุลงได้
และแถมท้ายอีกสักนิด   ไฟฉาย    น้ำใส่ถัง  และน้ำดื่ม   รวมทั้งขอนไม้ สำหรับหนุนล้อรถ   จับโยนใส่ท้ายรถบ้างก็ไม่น่าจะเสียความรู้สึกตรงไหน  เพราะหลายครั้ง เมื่อขับรถในเวลากลาวคืน   หากมีอะไร   สื่งที่กล่าวมาช่วยได้อย่างไม่ผิดหวัง    อย่าถือว่าระดับมืออย่างข้าแล้ว   ไม่สน    หากคิดดังนี้แล้วจะรู้สึก   เมื่อมีเหตุการที่มีความจำเป็นต้องใช้   เรื่องเล็กๆกลายเป็นเรื่องใหญ่    เรื่องใหญ่ๆที่เตรียมไว้เมื่อมีเหตุการกลับกลายเป็นเรื่องเล็กๆให้ขำๆ
ก็แล้วความถนัดของแต่ละท่านก็แล้วกัน   ก็มาบอกแนะนำกันไว้แบบรู้ไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหาม......srithanon
บันทึกการเข้า
dirtyshoes
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 338



« ตอบ #7 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2012, 15:17:34 »

D16Y8 ก็ขับขึ้นภูทับเบิกมาแล้ว  B20 นี่กำลังเหลือๆเลยครับ

แต่ขาลงนี่คิดถึงเกียร์ 1 มากเลย มันมีต่ำสุดแค่ 2 เกียร์ออโต้คับ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 พฤศจิกายน 2012, 15:22:59 โดย dirtyshoes » บันทึกการเข้า
commentdear
เจ้าสำนัก
*****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 515


●Benz Metal●


« ตอบ #8 เมื่อ: 06 พฤศจิกายน 2012, 23:49:27 »

D16y8 ขึ้นเขาค้อ ยังสบายเลยครับ ห่วงแค่เรื่องเบรคเท่านั้นละครับ อย่าย้ำมันจนไหม้ละกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: จะปีใหม่แล้ว อยากขึ้นดอย เลยมีเรื่องอยากถามผู้รู้หลายข้อเลยช่วยหน่อยนะครับ
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |