การคำนวณภาษี/ฐานภาษี
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามอัตราที่ระบุในข้อ 3 โดยคำนวณภาษีสรรพสามิต ได้ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
= (ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม+ภาษี สส+ภาษีเพื่อมหาดไทย) x อัตราภาษี
= ราคาขาย ณ โรงงานอุตสาหกรรม x อัตราภาษี
1-(1.1x อัตราภาษี)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
กรณีสินค้าผลิตในประเทศ
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์ ผลิตรถยนต์นั่ง 1 คัน ขนาดความจุกระบอกสูบ 2,800 ซี.ซี. ราคาขาย ณ โรงอุตสาหกรรม
(รวมภาษีสรรพสามิตและภาษีเพื่อกระทรวงมหาดไทย) คันละ 900,000 บาท อัตราภาษีสรรพสามิตตามมูลค่าร้อยละ 40
วิธีการคำนวณ
ภาษีสรรพสามิต = มูลค่า x อัตราภาษี
= (900,000) x 40/100
= 360,000 บาท
จะต้องชำระภาษีสรรพสามิต = 360,000 บาท
พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย ร้อยละ 10 ของค่าภาษี =36,000 บาท
รวมต้องชำระ = 396,000 บาท
การลดหย่อนภาษี
ผู้ประกอบอุตสาหกรรมมีสิทธิขอลดหย่อนภาษีสำหรับสินค้าที่ผลิตจากสินค้าที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว โดยสามารถนำจำนวนเงิน
ภาษีได้เสียไว้แล้ว สำหรับสินค้าที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหรือ ส่วนประกอบในการผลิตสินค้ามาหักออกจากจำนวนเงินภาษี
ที่ต้องเสียภาษีสำหรับสินค้านั้น ทั้งนี้ให้ยื่นคำร้องและปฏิบัติ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไข ที่อธิบดีกำหนด
การยกเว้น และการคืนภาษี
1. สินค้าที่ส่งออกนอกราชอาณาจักร
2. สินค้าที่จำหน่ายให้แก่ผู้ได้รับสิทธิตามข้อผูกพัน หรือตามกฎหมายระหว่างประเทศ
3. เสียภาษีโดยไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือเสียเกินกว่าที่ควรเสีย มีสิทธิขอคืนภาษีได้ตาม ม.107
หน้าที่ผู้นำเข้า
ความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษี
เกิดขึ้นในเวลาเดียวกับความรับผิดในอันจะต้องเสียภาษีศุลกากร (เว้นแต่ กรณีสินค้าเก็บอยู่ในคลังสินค้าทัณฑ์บน
ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร ให้ถือว่าความรับผิดเกิดขึ้นในเวลานำสินค้าออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บน)
กำหนดเวลายื่นแบบชำระภาษี
ผู้นำเข้าต้องยื่นแบบรายการภาษี พร้อมกับชำระภาษีในเวลาที่ออกใบขนสินค้าให้ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
สถานที่ยื่นแบบรายการและชำระภาษี
ผู้นำเข้ายื่นแบบและชำระภาษีที่กรมศุลกากร หรือด่านศุลกากร
การคำนวณภาษี / ฐานภาษี
ผู้นำเข้ามีหน้าที่เสียภาษีตามมูลค่าในอัตราภาษีตามบัญชีแนบท้ายโดยให้ถือมูลค่า คือ ราคา C.I.F. ของสินค้าบวกด้วยอากรขาเข้า
ค่าธรรมเนียมพิเศษตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการ ลงทุน และค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
แต่ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนี้
ภาษีสรรพสามิต = (C.I.F+อากรขาเข้า+ภาษีค่าธรรมเนียมอื่นไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่ม) x อัตราภาษี
1-(1.1xอัตราภาษี)
ตัวอย่างการคำนวณภาษี
บริษัทผู้นำเข้ารายหนึ่ง นำเข้ารถยนต์นั่ง ชนิดสเตชั่นแวกอน จำนวน 1 คัน ขนาดความจุตรงยอดสูบ 3,400 ซีซี 198 แรงม้า (1-10) ราคา ซี.ไอ.เอฟ 607,914.42 บาท (คือ ราคาสินค้า + ค่าขนส่ง + ค่าประกันภัย) อากรขาเข้า 486,331.54 บาท และ อัตราภาษีสรรพสามิต ตามมูลค่าร้อยละ 50
วิธีคำนวณภาษี
สูตร
ภาษีสรรพสามิต = (C.I.F. + อากรขาเข้า + ภาษีอื่นไม่รวม VAT ) x อัตราภาษีสรรพสามิต
1 ? ( 1.1 x อัตราภาษีสรรพสามิต )
แทนค่าในสูตร
ภาษีสรรพสามิต = ( 607,914.42 + 486,331.54 ) x 50/100
1 ? ( 1.1 x 50/100 )
= 547,122.98
0.45
จะต้องชำระภาษีสรรรพสามิต = 1,215,828 บาท
พร้อมด้วยภาษีเก็บเพิ่มเพื่อมหาดไทย 10% ของค่าภาษี = 121,582.80 บาท
รวมต้องชำระภาษีสรรพสามิต
และภาษีเก็บเพิ่มเพื่อกระทรวงมหาดไทย = 1,337,410.8 บาท
การยกเว้น และการคืนภาษี
1. สินค้านำเข้าที่ต้องเสียภาษีสรรพสามิตให้ได้รับการยกเว้นตามกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร โดยถือตามหลักเกณฑ์
และเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากร
2. สินค้าที่นำเข้าซึ่งได้เสียภาษีแล้ว และหากส่งกลับออกไป ให้คืนภาษีแก่ผู้นำเข้าตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข
และในอัตราเดียวกับการคืนเงินอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. สินค้าที่นำเข้าที่ได้เสียภาษีแล้ เมื่อส่งออกนอกราชอาณาจักรมีสิทธิได้รับการคืนภาษีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ
และเงื่อนไขเดียวกับการคืนเงินอากรขาเข้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร