ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
26 กรกฎาคม 2025, 06:48:45
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: เอามาฝากครับ การตรวจเช็ครถยนต์ ..หลังน้ำท่วม,รถจมน้ำ‏ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: เอามาฝากครับ การตรวจเช็ครถยนต์ ..หลังน้ำท่วม,รถจมน้ำ‏  (อ่าน 922 ครั้ง)
Elf_Zaa
จอมยุทธ
****
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 262


เมื่อได้เป็นพ่อแม่คน จึงจะรู้ว่าพ่อแม่รักเราแค่ไหน


« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2011, 11:58:38 »



ตอนนี้เราไปดูกันบ้างว่า  ถ้ารถจมน้ำเข้าให้  ไม่ว่าจะจำใจ  จงใจ ไม่ตั้งใจนั้น  เราควรจะทำอย่างไร?
         อันที่จริงแล้วผมไม่อยากจะเอามาบอกนักนัก? ด้วยว่าไม่อยากให้ใครเที่ยวได้เอารถยนต์ไปหล่นตูมตามลงในน้ำลึก? และไม่ได้อยากเห็นใครมีปัญหาเมื่อรถจอดอยู่กับที่แล้วน้ำไม่รักดีบ่าเข้าไปท่วมรถ? แต่อ่านข่าวที่เดี๋ยวนี้ชัก ไม่ค่อยอยากอ่านเท่าไร? ด้วยว่ามีแต่เรื่องน่ากลุ้มใจไปหมดไม่ว่าบ้านเราหรือบ้านเมือง? ก็ยังได้พบข่าวน้ำท่วมประปราย? เลยจับเอาอาการแก้ไขหลังน้ำท่วมรถขึ้นมาเล่าสู่กันฟังเสียตรงนี้ล่ะครับ

แรกทีเดียว อย่าพยายามรีบร้อนติดเครื่องยนต์รถที่เพิ่งเอาขึ้นจากน้ำหรือน้ำลดลงไปจากการท่วมมิดเครื่องยนต์เป็นอันขาด? เพราะน้ำที่อัดอยู่ในเครื่องยนต์อาจจะทำให้ก้านสูบกับก้านกระทุ้งวาล์วในกรณีที่เป้นรถโบราณเช่นโฟล์กสวาเกน? เต่าทองนั้น? คดงอได้เลยทีเดียว?
อย่าพ่วงไฟเพื่อติดเครื่องยนต์รถที่ไหม่กว่ารุ่นปี ค.ศ. 1989? หรือ พ.ศ. 2532? ขึ้นมา? ด้วยว่านั้นจะเปิดโอกาสให้แอลเทอร์เนอเตอร์ซึ่งมักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ไดชาร์จ? และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานาประดามีในรถไหม้เสียหายได้
 
ก่อนที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่? หรือเอาแบทเตอรี่ไปอัดไฟให้เต็มอีกทีแล้วเอามาใช้? หรือพูดให้ชัดก็ได้ว่า? ต่อขั้วแบตเตอรี่เข้ากับรถอีกครั้งหลังจากพ้นน้ำแล้วนี่? ปลดฟิวส์ของระบบถุงลมนิรภัยเพื่อไม่ให้ทำงานขึ้นมาได้ในระยะแรกนี้ก่อน? ด้วยว่าถ้าวงจรไฟฟ้าในระบบถุงลมนิรภัยเกิดลงดินหรือชอร์ตกันได้แล้วล่ะก็? ถุงลมระเบิดตูมแบบว่าทำงานให้ใช้ได้ขึ้นมาเฉย ๆ เสียของไปเปล่าๆ หลายหมื่นทีเดียวนะครับ
 
ปกติเมื่อรู้ว่ารถจะจมน้ำ? เราก็ควรถอดสายไฟยกแบตเตอรี่ขึ้นที่สูงบนบ้านบนเรือนก่อน? ถ้าทำไม่ทันแบตเตอรี่จมน้ำอยู่ก็จะหมดไฟไปก่อนที่จะเข้าทำให้เกิดกระแสลัดวงจรทที่เสียหายเพราะน้ำได้? แต่เมื่อน้ำแห้งแล้ววงจรอาจจะลงดินอยู่? มีกระแสเข้าไปเมื่อไรลัดวงจรเมื่อนั้น? จึงควรรีบถอดสายแบตเตอรี่ออกทันทีที่รถพ้นน้ำ? ถ้าไม่ได้เอาแบตเตอรี่ออกไปเสียก่อน? โดยเฉพาะรถที่ตกน้ำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจนั่น
 
ทีนี้? เมื่อปล่อยให้วงจรอุปกรณ์หลายอย่างแห้งแล้ว? ก็ปลดฟิวส์ของวงจรที่มั่นใจได้ออกเสียก่อน? เช่นวงจรถุงลมนิรภัยเป็นต้น
 
ตรวจรถยนต์ที่เพิ่งพ้นน้ำของคุณให้ถี่ถ้วน? ถ้าพบน้ำในที่เขี่ยบุหรี่? ก็เชื่อเอาไว้ก่อนว่า? น้ำคงเข้าไปถึงระบบไฟฟ้าบนหน้าปัด? เช่น? มาตรมัดต่าง ๆ และสวิตช์ได้??? และดดยที่วงจรเหล่านี้มักจะทำเป้นแผงจึงสามารถทำความสะอาดและแห้งเอามาใช้ได้ใหม่อีก? แต่ตามที่ปรากฏกันมาก็คือคุณมักจะพบปัญหาของวงจรในการใช้งานต่อไปภายหน้า? และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จมน้ำหรือเปียกน้ำนี้? อายุการใช้งานหลังจากนั้นจะค่อนไปทางข้างสั้น
 
อย่าไปหวังอะไรให้มากนักเลยครับ? นอกเสียจากจะเปลี่ยนกันใหม่หมด? แพงอีกใช่ไหมล่ะ
 
เกียร์อัตโนมัติกับทอรืกคอนเวิร์ตเตอร์? ต้องได้รับการล้างเอาน้ำมั่นและน้ำออกให้หมด? เช่นเดียวกับเฟืองท้าย? หรือส่วนมากในตอนนี้จะไปอยู่ข้างหน้าแล้ว? กับพวกทรานสเฟอร์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ? ด้วยว่าทั้งสองอย่างนี้มีรูระบายอากาศน้ำจึงเข้าไปทางนั้นได้? ก็ต้องทำอย่างเดียวกับเกียร์อัตโนมัติ
 
เพลาขับที่ยางหุ้มเพลาขาด? น้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป? ต้องอัดจารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย
 
อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้? เมื่อตรวจเกี่ยวกับระบบส่งกำลังนี่คือ ลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป?? ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่? ใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด
 
ล้างและเปลี่ยนน้ำระบายความร้อน? เอาโคลนเลนที่ติดอยู่ตามรังผึ้งหม้อน้ำออกให้หมด? ใส่น้ำยาลดความร้อน? หล่อลื่น? และรักษาโลหะลงผสมในน้ำระบายความร้อนใหม่อีกครั้งให้ได้ตามลำดับที่กำหนด
 
การกำหนดอัตราส่วนผสมน้ำยากับน้ำในระบบระบายความร้อนนี้ที่กระป๋องหรือขวดน้ำยาจะมีบอกชัดเจน? ถ้าเป็นฟอร์ดก็จะมีป้ายบอกไว้ที่ระบบหรือหม้อน้ำสำรอง? โดยให้ใช้น้ำยาของฟอร์ด? 50 %? กับน้ำสะอาด? 50 %?? เป็นต้น
 
การใช้น้ำยาสีเขียว? ราคาประหยัด? ใส่เพียงกระป๋องเดียวหกเจ็หดสิบบาทนั่น? ช่วยอะไรทางด้านการลดความร้อนและการสึกกร่อนของอะลูมิเนียมผสมในเครื่องยนต์ไม่ได้หรอกครับ? เรื่องแบบนี้ไม่ควรประหยัดเพราะจะเป็นการเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย? เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมเครื่องยนต์ด้วยค่าใช้จ่ายหลาย ๆ หมื่นบาท
 
อย่างน้อยก็ต้องล้างทำความสะอาดภายนอกของระบบห้ามล้อเปลี่ยนน้ำมันเบรก? และหากแช่น้ำอยู่นานก็อาจจะต้องถึงขนาดซ่อมใหญ่เบรกทั้งระบบกันเลยก็ว่าได้? ตรงนี้ไม่ต้องถึงรถจมน้ำทั้งคันหรอกครับ? แค่แช่อยู่ทั้งวันลึกท่วมล้อเท่านั้นก็ได้เรื่องแล้ว
 
รถกระบะหนึ่งตันที่ชอบลุยน้ำลึก? เพราะเห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซล ไม่มีระบบไฟฟ้าจุดระเบิด? ไม่ต้องกลัวน้ำเข้าระบบไฟฟ้าแล้วเครื่องดับนั้น? ถ้าน้ำเข้าเครื่องก็เสร็จเหมือนกัน? หนักกว่ารถเบนซินด้วยซ้ำไป??? และเมื่อลุยน้ำลึกมากบ่อยเข้า? น้ำก็เข้าไปในระบบห้ามล้อจนเกิดนิม? และน้ำมันเบรกเน่าเสียไปจนห้ามล้อไม่อยู่ได้นะครับ? อย่าทำเป็นล่นไป
 
อันตรายไม่ได้น้อยก่าเขาอื่นหรอก? ถึงจะขับพ้นตรงที่น้ำท่วมได้ด้วยความเร็วจนน้ำกระจายเป็นปีกไปสาดรถอื่นเขาได้สนุกดีนั่นน่ะ??? เผลอ ๆ เป็นไข้สารตะกั่วเอาแถวนั้นเลยก็ยังเคยมี
 
ของที่จมน้ำแล้วอาจจะต้องถึงกับเปลี่ยนเลยทีเดียวก็คือสตาร์ตเตอร์? เพราะน้ำเข้าไปนี่ฝรั่งบอกว่าซ่อมยากเสียเวลา? แต่บ้านเราคงเอาไปให้ช่างไฟฟ้าตามร้านทั่วไปล้างทำความสะอาด? ตรวจเช็กและปรับสภาพใช้ใหม่ได้? ไม่ต้องกับถึงกับต้องเปลี่ยนใหม่? แต่ต้องเอาออกมาทำแน่นอนถ้าจมน้ำครับ
 
มาถึงตรงนี้? ที่หนักอีกอย่างคงจะเป็นพวกมอเตอร์ไฟฟ้าของกระจกไฟฟ้า? ที่นั่งปรับไฟฟ้า? และเสาอากาศไฟฟ้า? ตรงนี้อาจถึงกับต้องเปลี่ยนเพราะซ่อมยากไปก็ได้ครับ? หลายสตางค์อยู่เหมือนกัน? เพราะฉนั้นอย่าเที่ยวได้ขับรถลงไปแช่น้ำเล่น? ไม่สนุกเลยเมื่อขึ้นมาได้
 
หมดพวกราคาแพงและเป้นปัญหาได้มาก? ก็ถึงส่วนที่มีปัญหาได้ในระดับรองลงมา? จะเปลี่ยนหรือซ่อมก็ต้องตรวจสภาพกันดูทุกส่วน? อย่าวางใจละเว้นละเป็นดี
 
เริ่มที่แผ่นคลัตช์? จานคลัตช์? ลูกปืนคลัตช์? บางทีพอน้ำแห้งอาจจะทำท่าว่าใช้งานได้เหมือนเดิม? ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เท่าไรนัก? ใช้ไปไม่เท่าไรมักจะมีเสียง? และเริ่มแสดงอาการของปัญหาเกียร์เข้ายากขึ้นมาให้พบได้เสมอ
 
แร็กพวงมาลัย? โดยเฉพาะพวกของพาวเวอร์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งทที่ต้องตรวจเช็ก? แม้จะเป็นความเป็นไปได้ที่จะเสียหายเป็นรองของที่บอกมาแล้วในตอนต้น? ก็มีโอกาสเสียหายได้? รวมทั้งช็กอัพตัวยาวตัวสั้นที่ใช้มานานก่อนหน้ารถจมน้ำ? ชีลกันน้ำหลวมแล้ว? น้ำเข้าได้นะครับ? ควรเปลี่ยนถ้าพบความผิดปกติหรือไม่น่าไว้วางใจ
 
รีเลย์? เซ็นเซอร์ต่าง ๆ สวิตช์ไฟ? และกล่องฟิวส์ก็ต้องได้รับการตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย?? ยังทำงานได้ดี? โดยเฉพาะกล่องฟิวส์ต้องลงดินได้ดีเช่นเดิมถ้าเกิดมีการจมน้ำอยู่ระยะหนึ่ง? เอาแค่วันเดียวหรือหลายชั่วโมงก็ไม่ดีแล้วนะครับ
 
จานจ่ายนี่ก็ตัวดี? ถ้าเป็นแบบใช้ทองขาวยังไม่เท่าไร?? แต่เบรกทรานซิสเตอร์ขึ้นมานี่? บางทีถึงต้องเปลี่ยนกันเลยทีเดียว? เพราะต่อไปมักทำให้เครื่องยนต์สั่นโดยไม่ทันนึกว่ามาจากตัวนี้ได้
 
แผงวงจรที่ผมว่าไว้ตอนแรกนั้น? พอจะล้างได้ด้วยน้ำซึ่งทำการ DEIONIZED?? จากนั้นก็เอาไปอบที่ความร้อน? 120? องศาฟาเรนไฮต์สัก? 30? นาที? แล้วพ่นด้วยสเปรย์แล็กเกอร์เคลียร์ก่อนจะนำมาใช้ใหม่? ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าจะทนทานต่อไปได้สักเพียงไร? โชคดีก็รอดตัว
 
คลัตช์ของแอร์คอมเพรสเซอร์ควรได้รับการตรวจเช็กว่าใช้การได้หรือไม่
 
ดวงไฟฟ้าหน้ารถก็อย่ามองข้าม? น้ำอาจจะเข้าไปค้างอยู่? เอาออกเสียให้หมดก่อนที่จานจ่ายจะกลับบ้านเก่าเพราะน้ำทำเหตุ


ที่มา  http://www.nakhongarage.com

และ   http://v2.one2car.com/Car2Care

การแก้ปัญหา... หลังน้ำท่วมรถ

ผู้เขียน                    ธเนศร์  เสนีวงศ์  ณ อยุธยา

หนังสือ                  กลับให้ได้  ไปให้ถึง

สำนักพิมพ์             บริษัทพิฆเณศ  พริ้นท์ติ้ง  เซ็นเตอร์  จำกัด

พิมพ์ครั้งที่             8  เมษายน  2543

หน้า                        238-243

                 ตอนนี้เราไปดูกันบ้างว่า  ถ้ารถจมน้ำเข้าให้  ไม่ว่าจะจำใจ  จงใจ  ไม่ตั้งใจนั้น  เราควรจะทำอย่างไร
       
                อันที่จริงแล้วผมไม่อยากเขียนนัก  ด้วยว่าไม่อยากให้ใครเที่ยวได้เอารถยนต์ไปหล่นตูมตามลงในน้ำลึก  และไม่ได้อยากเห็นใครมีปัญหาเมื่อรถจอดอยู่กับที่แล้วน้ำไม่รักดีบ่าเข้าไปท่วมรถ  แต่อ่านข่าวที่เดี๋ยวนี้ชัก ไม่ค่อยอยากอ่านเท่าไร  ด้วยว่ามีแต่เรื่องน่ากลุ้มใจไปหมดไม่ว่าบ้านเราหรือบ้านเมือง  ก็ยังได้พบข่าวน้ำท่วมประปราย  เลยจับเอาอาการแก้ไขหลังน้ำท่วมรถขึ้นมาเล่าสู่กันฟังเสียตรงนี้ล่ะครับ

                แรกทีเดียว  อย่าพยายามรีบร้อนติดเครื่องยนต์รถที่เพิ่งเอาขึ้นจากน้ำหรือน้ำลดลงไปจากการท่วมมิดเครื่องยนต์เป็นอันขาด  เพราะน้ำที่อัดอยู่ในเครื่องยนต์อาจจะทำให้ก้านสูบกับก้านกระทุ้งวาล์วในกรณีที่เป้นรถโบราณเช่นโฟล์กสวาเกน  เต่าทองนั้น  คดงอได้เลยทีเดียว

                อย่าพ่วงไฟเพื่อติดเครื่องยนต์รถที่ไหม่กว่ารุ่นปี ค.ศ. 1989  หรือ พ.ศ. 2532  ขึ้นมา  ด้วยว่านั้นจะเปิดโอกาสให้แอลเทอร์เนอเตอร์ซึ่งมักจะเรียกกันง่าย ๆ ว่า ไดชาร์จ  และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นานาประดามีในรถไหม้เสียหายได้
 
                ก่อนที่จะเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่  หรือเอาแบทเตอรี่ไปอัดไฟให้เต็มอีกทีแล้วเอามาใช้  หรือพูดให้ชัดก็ได้ว่า  ต่อขั้วแบตเตอรี่เข้ากับรถอีกครั้งหลังจากพ้นน้ำแล้วนี่  ปลดฟิวส์ของระบบถุงลมนิรภัยเพื่อไม่ให้ทำงานขึ้นมาได้ในระยะแรกนี้ก่อน  ด้วยว่าถ้าวงจรไฟฟ้าในระบบถุงลมนิรภัยเกิดลงดินหรือชอร์ตกันได้แล้วล่ะก็  ถุงลมระเบิดตูมแบบว่าทำงานให้ใช้ได้ขึ้นมาเฉย ๆ เสียของไปปล่า ๆ หลายหมื่นทีเดียวนะครับ

            ปกติเมื่อรู้ว่ารถจะจมน้ำ  เราก็ควรถอดสายไฟยกแบตเตอรี่ขึ้นที่สูงบนบ้านบนเรือนก่อน  ถ้าทำไม่ทันแบตเตอรี่จมน้ำอยู่ก็จะหมดไฟไปก่อนที่จะเข้าทำให้เกิดกระแสลัดวงจรทที่เสียหายเพราะน้ำได้  แต่เมื่อน้ำแห้งแล้ววงจรอาจจะลงดินอยู่  มีกระแสเข้าไปเมื่อไรลัดวงจรเมื่อนั้น  จึงควรรีบถอดสายแบตเตอรี่ออกทันทีที่รถพ้นน้ำ  ถ้าไม่ได้เอาแบตเตอรี่ออกไปเสียก่อน  โดยเฉพาะรถที่ตกน้ำลงไปโดยไม่ได้ตั้งใจนั่น

                ที นี้  เมื่อปล่อยให้วงจรอุปกรณ์หลายอย่างแห้งแล้ว  ก็ปลดฟิวส์ของวงจรที่มั่นใจได้ออกเสียก่อน  เช่นวงจรถุงลมนิรภัยเป็นต้น

                ตรวจรถยนต์ที่เพิ่งพ้นน้ำของคุณให้ถี่ถ้วน  ถ้าพบน้ำในที่เขี่ยบุหรี่  ก็เชื่อเอาไว้ก่อนว่า  น้ำคงเข้าไปถึงระบบไฟฟ้าบนหน้าปัด  เช่น  มาตรมัดต่าง ๆ และสวิตช์ได้    และดดยที่วงจรเหล่านี้มักจะทำเป้นแผงจึงสามารถทำความสะอาดและแห้งเอามาใช้ได้ใหม่อีก  แต่ตามที่ปรากฏกันมาก็คือคุณมักจะพบปัญหาของวงจรในการใช้งานต่อไปภายหน้า  และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่จมน้ำหรือเปียกน้ำนี้  อายุการใช้งานหลังจากนั้นจะค่อนไปทางข้างสั้น

                 อย่าไปหวังอะไรให้มากนักเลยครับ  นอกเสียจากจะเปลี่ยนกันใหม่หมด  แพงอีกใช่ไหมล่ะ

                เกียร์อัตโนมัติกับทอรืกคอนเวิร์ตเตอร์  ต้องได้รับการล้างเอาน้ำมั่นและน้ำออกให้หมด  เช่นเดียวกับเฟืองท้าย  หรือส่วนมากในตอนนี้จะไปอยู่ข้างหน้าแล้ว  กับพวกทรานสเฟอร์ของระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ  ด้วยว่าทั้งสองอย่างนี้มีรูระบายอากาศน้ำจึงเข้าไปทางนั้นได้  ก็ต้องทำอย่างเดียวกับเกียร์อัตโนมัติ

                เพลาขับที่ยางหุ้มเพลาขาด  น้ำจะเข้าไปนำเอาจารบีออกไป  ต้องอัดจารบีใหม่และเปลี่ยนยางหุ้มเพลาด้วย

                อีกอย่างหนึ่งที่มองข้ามไม่ได้  เมื่อตรวจเกี่ยวกับระบบส่งกำลังนี่คือลูกปืนล้อทั้งหน้าและหลังที่มีอยู่ในรถทั่วไป   ต้องนำออกมาล้างอัดจารบีใหม่  ใส่กลับคืนที่ด้วยการปรับใหม่ให้แน่นตามลำดับไม่แน่นเกินไปจนล้อหมุนฝืด

                 ล้างและเปลี่ยนน้ำระบายความร้อน  เอาโคลนเลนที่ติดอยู่ตามรังผึ้งหม้อน้ำออกให้หมด  ใส่น้ำยาลดความร้อน  หล่อลื่น  และรักษาโลหะลงผสมในน้ำระบายความร้อนใหม่อีกครั้งให้ได้ตามลำดับที่กำหนด

                การกำหนดอัตราส่วนผสมน้ำยากับน้ำในระบบระบายความร้อนนี้ที่กระป๋องหรือขวดน้ำยาจะมีบอกชัดเจน  ถ้าเป็นฟอร์ดก็จะมีป้ายบอกไว้ที่ระบบหรือหม้อน้ำสำรอง  โดยให้ใช้น้ำยาของฟอร์ด  50 %  กับน้ำสะอาด  50 %   เป็นต้น

                 การใช้น้ำยาสีเขียว  ราคาประหยัด  ใส่เพียงกระป๋องเดียวหกเจ็หดสิบบาทนั่น  ช่วยอะไรทางด้านการลดความร้อนและการสึกกร่อนของอะลูมิเนียมผสมในเครื่องยนต์ไม่ได้หรอกครับ  เรื่องแบบนี้ไม่ควรประหยัดเพราะจะเป็นการเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย  เมื่อถึงเวลาต้องซ่อมเครื่องยนต์ด้วยค่าใช้จ่ายหลาย ๆ หมื่นบาท

                 อย่างน้อยก็ต้องล้างทำความสะอาดภายนอกของระบบห้ามล้อเปลี่ยนน้ำมันเบรก  และหากแช่น้ำอยู่นานก็อาจจะต้องถึงขนาดซ่อมใหญ่เบรกทั้งระบบกันเลยก็ว่าได้  ตรงนี้ไม่ต้องถึงรถจมน้ำทั้งคันหรอกครับ  แค่แช่อยู่ทั้งวันลึกท่วมล้อเท่านั้นก็ได้เรื่องแล้ว

                รถกระบะหนึ่งตันที่ชอบลุยน้ำลึก  เพราะเห็นว่าเครื่องยนต์ดีเซล ไม่มีระบบไฟฟ้าจุดระเบิด  ไม่ต้องกลัวน้ำเข้าระบบไฟฟ้าแล้วเครื่องดับนั้น  ถ้าน้ำเข้าเครื่องก็เสร็จเหมือนกัน  หนักกว่ารถเบนซินด้วยซ้ำไป    และเมื่อลุยน้ำลึกมากบ่อยเข้า  น้ำก็เข้าไปในระบบห้ามล้อจนเกิดนิม  และน้ำมันเบรกเน่าเสียไปจนห้ามล้อไม่อยู่ได้นะครับ  อย่าทำเป็นล่นไป

อันตรายไม่ได้น้อยก่าเขาอื่นหรอก  ถึงจะขับพ้นตรงที่น้ำท่วมได้ด้วยความเร็วจนน้ำกระจายเป็นปีกไปสาดรถอื่นเขาได้สนุกดีนั่นน่ะ    เผลอ ๆ เป็นไข้สารตะกั่วเอาแถวนั้นเลยก็ยังเคยมี

                 ของที่จมน้ำแล้วอาจจะต้องถึงกับเปลี่ยนเลยทีเดียวก็คือสตาร์ตเตอร์  เพราะน้ำเข้าไปนี่ฝรั่งบอกว่าซ่อมยากเสียเวลา  แต่บ้านเราคงเอาไปให้ช่างไฟฟ้าตามร้านทั่วไปล้างทำความสะอาด  ตรวจเช็กและปรับสภาพใช้ใหม่ได้  ไม่ต้องกับถึงกับต้องเปลี่ยนใหม่  แต่ต้องเอาออกมาทำแน่นอนถ้าจมน้ำครับ

                 มาถึงตรงนี้  ที่หนักอีกอย่างคงจะเป็นพวกมอเตอร์ไฟฟ้าของกระจกไฟฟ้า  ทีท่นั่งปรับไฟฟ้า  และเสาอากาศไฟฟ้า  ตรงนี้อาจถึงกับต้องเปลี่ยนเพราะซ่อมยากไปก็ได้ครับ  หลายสตางค์อยู่เหมือนกัน  เพราะฉนั้นอย่าเที่ยวได้ขับรถลงไปแช่น้ำเล่น  ไม่สนุกเลยเมื่อขึ้นมาได้

                 หมดพวกราคาแพงและเป้นปัญหาได้มาก  ก็ถึงส่วนที่มีปัญหาได้ในระดับรองลงมา  จะเปลี่ยนหรือซ่อมก็ต้องตรวจสภาพกันดูทุกส่วน  อย่าวางใจละเว้นละเป็นดี

                เริ่มที่แผ่นคลัตช์  จานคลัตช์  ลูกปืนคลัตช์  บางทีพอน้ำแห้งอาจจะทำท่าว่าใช้งานได้เหมือนเดิม  ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้เท่าไรนัก  ใช้ไปไม่เท่าไรมักจะมีเสียง  และเริ่มแสดงอาการของปัญหาเกียร์เข้ายากขึ้นมาให้พบได้เสมอ

                แร็กพวงมาลัย  โดยเฉพาะพวกของพาวเวอร์ก็เป็นอีกอย่างหนึ่งทที่ต้องตรวจเช็ก  แม้จะเป็นความเป็นไปได้ที่จะเสียหายเป็นรองของที่บอกมาแล้วในตอนต้น  ก็มีโอกาสเสียหายได้  รวมทั้งช็กอัพตัวยาวตัวสั้นที่ใช้มานานก่อนหน้ารถจมน้ำ  ชีลกันน้ำหลวมแล้ว  น้ำเข้าได้นะครับ  ควรเปลี่ยนถ้าพบความผิดปกติหรือไม่น่าไว้วางใจ

                รีเลย์  เซ็นเซอร์ต่าง ๆ สวิตช์ไฟ  และกล่องฟิวส์ก็ต้องได้รับการตรวจเช็กให้แน่ใจว่าไม่มีอะไรเสียหาย   ยังทำงานได้ดี  โดยเฉพาะกล่องฟิวส์ต้องลงดินได้ดีเช่นเดิมถ้าเกิดมีการจมน้ำอยู่ระยะหนึ่ง  เอาแค่วันเดียวหรือหลายชั่วโมงก็ไม่ดีแล้วนะครับ

                 จานจ่ายนี่ก็ตัวดี  ถ้าเป็นแบบใช้ทองขาวยังไม่เท่าไร   แต่เบรกทรานซิสเตอร์ขึ้นมานี่  บางทีถึงต้องเปลี่ยนกันเลยทีเดียว  เพราะต่อไปมักทำให้เครื่องยนต์สั่นโดยไม่ทันนึกว่ามาจากตัวนี้ได้

                แผงวงจรที่ผมว่าไว้ตอนแรกนั้น  พอจะล้างได้ด้วยน้ำซึ่งทำการ DEIONIZED   จากนั้นก็เอาไปอบที่ความร้อน  120  องศาฟาเรนไฮต์สัก  30  นาที  แล้วพ่นด้วยสเปรย์แล็กเกอร์เคลียร์ก่อนจะนำมาใช้ใหม่  ซึ่งก็ยังไม่แน่นักว่าจะทนทานต่อไปได้สักเพียงไร  โชคดีก็รอดตัว

คลัตช์ของแอร์คอมเพรสเซอร์ควรได้รับการตรวจเช็กว่าใช้การได้หรือไม่
     
                ดวงไฟฟ้าหน้ารถก็อย่ามองข้าม  น้ำอาจจะเข้าไปค้างอยู่  เอาออกเสียให้หมดก่อนที่จานจ่ายจะกลับบ้านเก่าเพราะน้ำทำเหตุ      ผมได้ข้อมูลนี้มาจากการตอบปัญหาเพื่อช่วยเหลือกันเองของช่างเทคนิคทั่วโลก  อันเป็นสมาชิก   IATN  หรือ  Internation  Automotive  TechnicianNetwork  ซึ่งผมก็เป็นสมาชิกหนึ่งในสามของคนไทยขณะนี้  (สิงหาคม  2540)  อยู่ด้วย ขอยกเครดิตในเรื่องนี้ให้กับคุณ  Brent Black  ผู้ก่อตั้ง  Network  และคุณ  Rob Cagen    ผู้รวบรวมคำตอบที่ตัวท่านเองถามไป  แล้วได้รับการตอบมาจากช่างเทคนิคทั่วโลกของ  Net Work  จนปรับสภาพรถจมน้ำได้เรียบร้อย  แล้วนำมาแจ้งให้สมาชิกทุกท่านกว่าเจ็ดพันคนรอบโลกทราบทาง  e-mail  น่ะครับ

                ผมเอามารวบรวมไว้ให้  เผื่อคุณไปป่าแล้วน้ำมาอย่างแรง  หนีไม่พ้นท่วงที  จะได้มีโอกาสแก้ไขได้ภายหลัง

เผื่อเป็นประโยชน์ครับ


* bf38bc61db12651L.jpg (61.17 KB, 630x378 - ดู 242 ครั้ง.)
บันทึกการเข้า


เจ๋ง เวลาไม่มีเงิน คนแรกที่คิดถึงคือ พ่อแม่ แต่พอมีเงิน คนแรกที่คิดถึงคือ แฟนและเพื่อน รูดซิบปาก
RONIN
ศิษย์น้อง
**
ออฟไลน์ ออฟไลน์

กระทู้: 148


« ตอบ #1 เมื่อ: 08 ตุลาคม 2011, 20:06:29 »



...................กด LiKE  ให้เลยครับ  เยี่ยม      เจ๋ง
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Discuss => ห้องคนขับ  |  หัวข้อ: เอามาฝากครับ การตรวจเช็ครถยนต์ ..หลังน้ำท่วม,รถจมน้ำ‏
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |