ปัญหาสำหรับรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงสองระบบ แก็สและน้ำมัน เจ้าของรถหลายท่านคิดว่า เมื่อหันมาใช้ระบบแก็ส ก็ไม่ใส่ใจกับระบบน้ำมัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ควรที่จะใส่ใจไม่น้อยไปกว่าระบบแก็สที่ใช้อยู่ จริงอยู่ที่ท่านใช้แก็สเป็นส่วนมาก ก็อยากจะให้ข้อคิดดังนี้
รถที่ใช้ระบบน้ำมันอยู่ครั้งแรกเมื่อหันมาใช้ระบบแก็ส ควรอย่างยิ่งที่จะใช้ระบบน้ำมันควบคู่ไปด้วย แต่ให้เหมาะ เหมาะสมอย่างไร ลองมาคิดตามอ่านดูที่ผมกล่าวถึง ว่าสมควรหรือไม่ อาจจะมีผู้แย้ง ก็ไม่เป็นไร ความคิดที่แตกต่างออกไป ย่อมทำให้เกิดการเปรียบเทียบ และนำมาแก้ไข ว่าสิ่งที่กล่าวมีเหตุมีผล มากน้อยเพียงไร ดีก็เอาไปใช้ ไม่ถูกต้อง ก็ดูข้อมูลท่านอื่น ที่ทรงความรู้ต่อไป นึกว่าเอาความรู้และประสบการณ์ มาแชร์ แลกเปลี่ยนกันครับ
สิ่งแรกที่ควรจะกระทำก็คือระบบน้ำมัน อย่าไปปรับแต่ง แก้ไข ในระบบการคอนโทรลรอบเดินเบาและอัตราเร่งของเครื่องยนต์ เดิมเป็นอย่างไรก็ให้เป็นอย่างนั้น เพราะเมื่อใดที่สวิชท์กลับมาใช่ระบบน้ำมันจะได้ไม่มีปัญหา และสามารถใช้รถได้ตามปกติ
น้ำมันในถังเชื้อเพลิงควรเติมไว้สักครึ่งถัง เพราะอะไร ภายในถังน้ำมัน หากไม่มีน้ำมันหรือน้ำมันเหลืออยู่ก้นถังนิดหน่อย จะทำให้ช่องว่างภายในถังน้ำมันมีอากาศออกซิเจนเข้าไปแทนที่ อากาศออกซิเจนอาจจะมีความชื้น ทำให้เกิดละอองน้ำจับตามผนังโลหะภายในถังน้ำมัน
การเกิดสนิมก็เพราะว่าเกิดการรวมตัวของธาตุออกซิเจนกับโลหะ และตัวที่ทำให้เกิดการรวมตัวของออกซิเจนกับโลหะให้เร็วขึ้น ก็คือน้ำ ละอองน้ำที่เกิดจากอากาศชื้น ที่ถูกเข้าไปแทนที่ระดับน้ำมันในถัง จึงเ กิดสนิมจับตามผิวส่วนต่างๆในถังน้ำมัน จึงทำให้เกิดสนิมตัวปั้มติ๊ก ที่ทำหน้าที่ปั้มน้ำมัน จะเกิดสนิมอ๊อกไซด์ ตามชิ้นส่วนของตัวปั้มติ๊ก รวมถึงซิลยางต่างๆหมดสภาพเร็ว สนิมที่เกิดภายในถังน้ำมัน เมื่อมีน้ำมันน้อย จะทำให้ระบบกรองน้ำมันของตัวปั้มติ๊กอุดตันจากคราบสนิม และเข้าไปในระบบปั้มของตัวปั้มติ๊ก เกิดความเสียหายกับตัวปั้ม ก้านและชุดวัดระดับน้ำมันภายในของถัง ที่ประกอบไปด้วยค่าความต้านทาน แบบขดลวดความต้านทาน เกิดสนิมจับ ทำให้ผิวสัมผัส มีจุดสัมผัสของกระแสไฟที่ผ่าน อาจจะไม่สัมผัสหรือกระแสไฟเดินไม่สะดวก การแสดงตำแหน่งขอ เกจวัดระดับน้ำมัน คลาดเคลื่อน หรือไม่ทำงาน นอกจากนี้คราบสนิมที่เกิดขึ้น หากมีส่วนเล็ดลอดไปตามท่อส่งน้ำมันไปที่ กรองเบ็นซิล เลยไปถึงรางหัวฉีด
ที่กรองเบ็นซิล ก็จะอุดตัน ทำให้แรงดันน้ำมันที่ส่งไปที่รางหัวฉีดมีเพรชเชอร์ต่ำ เป็นปัญหากับแรงดันในท่อรางหัวฉีด ทำให้เครื่องยนต์สะดุดและเร่งไม่ขึ้น
และเมื่อคราบสนิมหลุดเข้าไปในท่อรางหัวฉีด ก็เข้าไปอุดตันที่หัวฉีดน้ำมัน ผลก็คือ เครื่องยนต์มีการจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ เพราะระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงอุดตัน มีน้ำมันเข้าไปน้อย หรือไม่มีหากอุดตันมาก ทำให้เครื่องยนต์จุดระเบิดไม่สมบูรณ์ เครื่องไม่มีกำลัง รอบสวิงและต่ำจนเครื่องยนต์ดับในรอบเดินเบา ส่วนในรอบอัตราเร่ง ก็ไม่ตอยสนอง เครื่องยนต์กระตุก บางครั้งดับ
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นสาเหตุหลักที่ เมื่อมีการใช้ระบบแก็ส แล้วไม่เติมน้ำมันใส่ถังไว้ ปัญหาที่เกิดตามมายังมีอีกหลายอย่าง ขอกล่าวอย่างย่อๆก็แล้วกัน
การทำงานของเครื่องยนต์ที่ควบคุมด้วยระบบ ECU ถึงแม้ว่าจะใช้ระบบแก็สก็ตาม สิ่งที่ต้องคำนึงถึง มีสองอย่างด้วยกัน
ในการที่จะทำให้เครื่องยนต์ มีสภาพการใช้งานได้สมบูรณ์ทั้งสองระบบ ก็คือระบบน้ำมันและแก็ส
ประการแรก ในตอนเช้า หรือทุกครั้งที่มีการใช้ระบบแก็ส เราควรที่จะสตาร์ทเครื่องยนต์ด้วยระบบน้ำมันเสียก่อน เพื่อให้การทำงานของเครื่องยนต์ที่คอนโทรลด้วยระบบ ECU ทำงานตามสเต็ป ในระบบเซ็นเซอร์ต่างๆที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูล
เท่ากับว่าตรวจสอบสภาพการทำงานของเครื่องยนต์ในระบบน้ำมัน (พวกรถที่ติดตั้งแก็สแบบ Fix mixer) หากเป็นแบบหัวฉีดแก็ส ที่ตัวหม้อต้มแก็สจะมี sensor temperature อุณหภูมิของน้ำที่หม้อต้มแก็ส เป็นตัวกำหนดการเปลี่ยนระบบจากน้ำมันเป็นแก็ส
โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถยนต์ที่ติดตั้งแก็สระบบดูด จำเป็นที่จะต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งแรกหรือทุกครั้งที่มีการสตาร์ทเครื่องยนต์ รอจนน้ำในหม้อน้ำร้อน หรือสังเกตง่ายๆก็คือมีพัดลมหม้อน้ำเริ่มทำงานระบายความร้อน ที่ให้ปฏิบัติดังนี้เพราะในระบบแก็สต้องอาศัยความร้อนของน้ำจากหม้อน้ำรถ ไปให้หม้อต้มแก็ส เพื่อให้อุณหภูมิของห้องเปลี่ยนสถานะน้ำแก็สให้เป็นไอแก็ส ทำงานเปลี่ยนสถานะเป็นไอแก็สได้สมบูรณ์ เมื่อเปลี่ยนเป็นไอแก็สได้สมบูรณ์ ก็จะไม่เกิดขี้แก็ส(เหนียวคล้ายน้ำมันเครื่อง) หากความร้อนที่หม้อต้มยังร้อนไม่ได้อุณหภูมิ อันมาจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ในตอนแรกด้วยระบบแก็ส จะทำให้การเปลี่ยนสถานะน้ำแก็สให้เป็นไอแก็ส มีขี้แก็สหลงเหลือในระบบของหม้อต้มแก็ส ปัญหาที่ตามมาก็คือ ทำให้ขี้แก็สจับที่บริเวณผิวของแผ่นไดอะแฟรมหม้อต้ม ทำให้แรงดูดแว็คคั่มที่มาจากท่อไอดีกระทำต่อผิวของแผ่นไดอะแฟรม มีแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์ฉิ่งฉับ ที่เป็นวาวล์ปล่อยแก็สไปห้องม็กเซอร์ มีแรงกดมากทำให้วาวล์เปิดค้าง เพราะขี้แก็สจับที่ผิวทำให้มีน้ำหนักเพิ่มแรงกดก้านกระเดื่องวาวล์ และแรงดูดแว๊คคั่มบวกแรงกดอีกหนึ่งส่วน โดยที่ความตึงของแผ่นกรวยไดอะแฟรม ไม่มีแรงยกหรือต้านการดูดของแว็คคั่ม เพื่อให้เกิดความสมดุลย์แรงต้านของสปริงปรับไอเดิล ที่มีการปรับให้เกิดการบาล้านซ์ กำหนดปริมาณการจ่ายแก็สในรอบเดินเบาของเครื่องยนต์
เมื่อเป็นดังนี้วาวล์ฉิ่งฉับจะเปิดกว้างตลอดเวลา ทำให้มีปริมาณแก็สมากในอัตราส่วนผสมในรอบเดินเบา ทำให้การจุดระเบิดในรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ไม่สมบูรณ์ ก่อให้กิดรอบเครื่องยนต์ต่ำสวิง เมื่อเครื่องยนต์มีโหลด เช่นการเปิดแอร์
หรือเครื่องยนต์ดับในจังหวะถอนคันเร่ง(ลิ้นปีกผีเสื้อปิด) และยังทำให้เครื่องยนต์กินแก็สมากกว่าปกติ
ขี้แก็สที่เกิดขึ้นภายในหม้อต้ม จะมีบางส่วนถูกแรงดูดของแว็คคั่มของท่อไอดี ดูดเข้าไปในระบบตัวเรือนโซลินอยวาวล์
รวมไปถึงขอบลิ้นปีกผีเสื้อ มีเขม่าผสมกับขี้แก็สจับ ทำให้ไปขัดขวางอากาศเข้าท่อไอดี ในจังหวะลิ้นปีกผีเสื้อปิด ในรอบเดินเบา ก็เป็นปัญหาอากาศช่วยรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ก็ทำให้รอบเครื่องยนต์ต่ำและสวิงได้เช่นกัน และต้องถอดตัวเรือนปีกผีเสื้ออกมาล้าง
มันเป็นผลของการที่ในเวลาเช้าๆหรือสตาร์ทเครื่องยนต์ในครั้งแรกๆ ไม่ใช้ระบบน้ำมันสตาร์ทก่อน เพื่อให้เกิดอุณหภูมิห้องเครื่องหรือหม้อน้ำ ที่เป็นปัจจัยให้หม้อต้มแก็สมีอุณหภูมิความร้อนในห้องเปลี่ยนสถานะน้ำแก็สกลายเป็นไอแก็ส
ที่กล่าวมาข้างบนนี้ เพื่อจะให้เห็นว่า รถที่ใช้เชื้อเพลิงสองระบบควรทำอย่างไร ในการใช้รถยนต์ ที่ก่อให้เกิดความพร้อมและการใช้งานที่ดีทั้งสองระบบครับ……srithanon