เอารูปถ่ายตะกวดมาให้ดูครับ วิจารย์ทีนะ

<< < (2/4) > >>

gahofish:
ตุ๊ดตู่
Red-headed Monitor(Harlequin Monitor)

ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Varanus dumerilii

ลักษณะทั่วไป

        ลำตัวยาว 50-125 เซนติเมตร เมื่อเล็กตั้งแต่ปลายปากถึงคอสีส้มถึงแดงเข้ม เมื่อโตสีจะจางลง มีขีดสีดำตั้งแต่ขอบตาถึงคอ ลำตัวมีขวั้นสีเหลืองตั้งแต่คอถึงปลายหาง ตุ๊ดตู่เป็นสัตว์ที่เล็กที่สุดในกลุ่มสัตว์จำพวกเหี้ย-ตะกวดที่พบได้ในประเทศไทย และเป็นสัตว์ไม่มีพิษ

ถิ่นอาศัย, อาหาร

        พบอาศัยในป่าดิบชื้นภาคใต้ของประเทศไทยและพบในมาเลเซีย สุมาตรา บอร์เนียว สิงคโปร์ ตุ๊ดตู่กินเนื้อสัตว์และแมลงต่าง ๆ

พฤติกรรม, การสืบพันธุ์

เป็นสัตว์เชื่องช้า ไม่ค่อยออกไปหากินไกลจากที่หลับนอน ชอบนอนตามโพรงไม้ หรือซอกหิน เมื่อหิวจึงจะออกหากิน แล้วก็กลับเข้าหลับนอนตามเดิม ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละ 23 ฟอง ระยะฟักไข่ 203 - 230 วัน

gahofish:
การผสมพันธุ์
        เมื่อถึงช่วงผสมพันธุ์ในฤดูฝน ตัวเหี้ยจะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวเหี้ยเพศผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยปกติแล้ว ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น จำนวนมากน้อยนั้นขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของแม่พันธุ์ ตัวเหี้ยส่วนใหญ่จะวางไข่ประมาณ 6-30 ฟองหรืออาจจะถึง 50 ฟอง ในขณะที่ตุ๊ดตู่วางไข่ครั้งละประมาณ 4-14 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง และใช้เวลาฟัก 45-50 วัน หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม ทั้งนี้ตัวเหี้ยจะวางไข่ในปลายฤดูร้อนต่อเนื่องฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่
การหากิน
        ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู นก ปลา ปู หอย งู หนู นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา ส่วนเห่าช้างและตุ๊ดตู่ จะกินอาหารที่มีขนาดเล็กกว่าอาหารโปรดของตัวเหี้ย ส่วนมากจะเป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่ห่างจากแหล่งชุมชน ขณะที่ตะกวดจะกินแมลงตามเปลือกไม้เป็นอาหาร รวมทั้งไข่ของสัตว์อื่นๆ ที่มีขนาดพอดีกับความกว้างของปาก

การบริโภคเหี้ยของมนุษย์
        เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางที่เรียกว่า " บ้องตัน " จะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย

ที่มาของคำด่าทอ
        ในสมัยอดีต ชาวบ้านมักจะเลี้ยงไก่ไว้ในบริเวณบ้าน ตัวเหี้ยมักจะมาขโมยไก่ของชาวบ้านลากไปกินในน้ำ ทำให้เป็นสัตว์ที่ผู้คนเกลียดมาก เลยนำมาใช้เรียกคนไม่ดี ว่า "ไอ้เหี้ย" และกลายเป็นคำด่าทอมาจนปัจจุบัน อนึ่ง มีความเชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง "

 สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง
        ด้วยมีการล่าสัตว์ในตระกูลนี้เป็นจำนวนมาก ประกอบกับการลดลงของป่าไม้ ที่อยู่อาศัยในธรรมชาติ จึงมี "สวนสัตว์เปิดตัวเงินตัวทอง " ให้ได้ชมตัวจริง ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยเขตกำแพงแสน อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

 สถานภาพปัจจุบัน
        เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535

gahofish:
โทดทีพอดีว่าง ไปละ ฟิ่ววววววววววววว :-[

Smile_jung:
ได้เความรู้ดี

fomote:
 >:( ตัวเงินตัวทอง

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว