หัวข้อ: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: vteconly ที่ 14 มิถุนายน 2010, 16:19:01 รถใช้แก๊สมาได้ประมาณปีมีปํญหารอบเดินต่ำมากเหมือนจะดับบางทีตอนขับออกมาได้นิดหน่อยก็ดับไปเลยแต่พอขับได้สักระยะไม่ดับจะเป็นตอนต้นบางครั้งแต่รอบเดินเบาต่ำมากเครื่องเดินเหมือนรถจะดับเคยเป็นแล้วไปจูนมาใหม่ก็หายแต่กลับมาเป็นอีกใช้ระบบดูดจะแก้ปัญหายังไงช่วยตอบทีครับ
หัวข้อ: Re: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 15 มิถุนายน 2010, 09:33:40 กับปัญหายอดฮิตสำหรับรถยนต์ที่ทำการติดตั้งแก็สระบบ Fix mixer เรื่องปัญหารอบเดินเบาและกำลังของเครื่องยนต์ การติดตั้งแก็ส LPG ระบบ Fix mixer ไม่ใช่สูตรสำเร็จตายตัว ที่จะยึดถือเป็นแม่แบบหรือต้นแบบ ที่นำไปติดตั้งได้สมบูรณ์และไม่มีปัญหา ช่างแต่ละท่านก็มีวิธีการติดตั้งตามความถนัดและความเข้าใจของตัวเอง ผลออกมาก็เป็นที่ยอมรับกันได้ ณ.ระดับหนึ่ง แล้วแต่ว่าใครจะมีวิธีการ รู้การทำงานของระบบแก็สและการทำงานของระบบเครื่องยนต์ ที่จะนำเอาระบบแก็สมาแทนน้ำมันได้มากน้อยแค่ไหนและอย่างไร ผมคงมิก้าวล่วงในความคิดของช่างและท่านผู้รู้ท่านอื่นได้ ผมคิดว่าท่านเหล่านั้นก็พยายามที่จะหาทางที่ดีที่สุดออกมาแนะนำให้กับผู้ใช้รถเท่าที่จะทำได้ แต่ผลที่ได้ยังไม่เป็นที่สบายใจกับผู้ใช้ ยังมีปัญหาติดตามมาให้แก้ไข โดยเฉพาะเรื่องรอบเดินเบา และอัตราเร่งของเครื่องยนต์ เพราะระบบการทำงานของระบบการจ่ายแก็สของหม้อต้มและวิธีการนำแก็สเข้าสู่ระบบท่อไอดีของเครื่องยนต์ มีข้อจำกัดทางด้านเท็คนิคของระบบ ซึ่งไม่สามารถจ่ายแก็สได้ตามความเร็วรอบของเครื่องยนต์ได้อย่างสมบูรณ์ จำเป็นที่จะต้องมีระบบอีเลคโทรนิคส์เข้ามาแก้ไขส่วนบกพร่องของระบบให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นระบบ แลมด้าคอนโทรล จนกระทั้งออกมาเป็นระบบที่ควบคุมการทำงานด้วย ECU ในระบบหัวฉีดของแก็ส
แต่ผมก็อยากจะบอกให้เพื่อนๆและน้องๆในที่นี้ได้ทราบว่า การติดตั้งแก็ส LPG ในระบบ Fix mixer ก็ยังเป็นที่น่าใช้ และราคาค่าติดตั้งที่พอคบกันได้ หากได้ช่างผู้ที่เข้าใจในระบบการทำงานของหม้อต้มแก็ส วิธีการจ่ายแก็สให้กับระบบของครื่องยนต์ รวมทั้งการทำงานของระบบเครื่องยนต์ มีส่วนใดที่จะต้องนำเอาผลการทำงานของเครื่องยนต์ไปใช้คอนโทรลการทำงานของหม้อต้มแก็ส ให้ส่วนคอนโทรลระบบการทำงานหม้อต้มแก้สจ่ายแก็ส ได้อย่างสมดุลย์กับสภาวะการทำงานของเครื่องยนต์ ขนาดของหม้อต้มแก็สกับขนาดของเครื่องยนต์ให้มีความเหมาะสม หรือมีเทคนิคในการแก้ไข ในความไม่พอดีให้เกิดความสมดุลกันได้ โดยเฉพาะเรื่องแว็คคั่มที่เกิดจากท่อร่วมไอดี ที่ช่างต่อท่อยางเอาไปดูดแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มแก็สและเป็นตัวดึงแก็ส(ไอแก็ส)ให้กับเครื่องยนต์ จะต้องทำให้มีแรงดูดจากท่อร่วมไอดี มีความสมดุลย์กับแรงที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มแก็ส หากมีแรงดูดมากเกินไป จะทำให้วาวล์ที่คอนโทรลการจ่ายไอแก็สไปยังห้องมิ๊กเซอร์ วาวล์จะถูกเปิดมาก เป็นผลให้แก็สถูกจ่ายออกไปมากในจังหวะของรอบเดินเบา แต่อย่าเพิ่งว่าปัญหารอบเดินเบาเกิดที่นี้เท่านั้น มันเ ป็นส่วนประกอบ ในหลายแฟคเตอร์ของการคอนโทรลการจ่ายแก็สในรอบเดินเบาเท่านั้น เพียงแต่ให้เห็นว่าระยะทางและขนาดของท่อยาง ที่ต่อจากห้องมิ๊กเซอร์มายังหม้อต้มแก็ส มีผลทำให้เกิดแรงดูดทีแผ่นไดอะแฟรมกดกระเดื่องวาวล์ของการห้องจ่ายแก็ส ดังนั้นการติดตั้งจะต้องหาขนาดของท่อยางและระยะความยาวของท่อ ที่ให้พอดีกับแรงดูดของแว็คคั่มที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมหม้อต้มแก็ส ว่าควรจะให้มีแรงดูดก่อนเข้าหม้อต้มแก็สกี่ปอนด์ ดังนั้นช่างที่ติดตั้งก็ควรจะทราบข้อมูลของหม้อต้มแก็สนั้นๆ แต่ดูเหมือนว่าไม่มีข้อมูลเหล่านี้ของหม้อต้มแก็ส นอกจากจะทำการทดลองหาข้อมูลด้วยตัวเอง ก็แล้วแต่วิธีของแต่ละท่าน นี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของแนวทางในการติดตั้งแก็สระบบนี้ ความจริงในเรื่องนี้มีหลายภาคส่วนที่จะต้องทำความเข้าใจในการติดตั้ง แต่ก็ขอเน้นว่าปัญหาทั้งหมดส่วนใหญ่มาจากหม้อต้มแก็สและที่ตามมาก็มาก็วิธีการนำแก็สเข้าสู่ห้องไอดี ผู้ที่ติดตั้งจะต้องทราบหลักการและคุณสมบัติของแก็ส ในเรื่องของอัตราส่วนผสมระหว่างแก็สกับอากาศ ซึ่งจะมีความต่างจากระบบน้ำมันอยู่บ้าง ว่าความต้องการสิ่งไหนมากหรือน้อยกว่ากันระหว่างระบบน้ำมันกับแก็ส เมื่อทราบแล้วก็จะรู้ว่าทำอย่างไร บางครั้งจะเห็นว่าการที่จะยิงแก็สเข้าท่อร่วมไอดี ไม่จำเป็นที่จะต้องยิงเข้าที่ห้องมิ๊กเซอร์อย่างที่ทั่วไปติดตั้งก็ได้ เพราะวิธีนี้ มีข้อที่ทำให้อัตราส่วนผสมระหว่างอากาศกับแก็สบกพร่องในจังหวะของรอบเดินเบา เนื่องจากในจังหวะของรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ลิ้นปีกผีเสื้อจะปิด ทำให้แก็ส(ไอแก็ส)และอากาศมีอัตราส่วนไม่เหมาะสม ในการที่จะไหลผ่านไปยังท่อร่วมไอดี ความจริงแล้วควรจะยิงแก็สเข้าท่อร่วมไอดีโดยตรง จะทำให้การคอนโทรลแกสเข้าท่อร่วมไอดีมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับระบบหัวฉีดแก็ส หลักการก็ไม่ต่างกัน เพียงแต่สร้างระบบการจ่ายแก็สให้เป็นไปตามรอบของเครื่องยนต์ สักสามระดับ ระดับในรอบเดินเบา ระดับกลาง และระดับรอบเครื่องยนต์เต็มฟิกัด การคอนโทรลการจ่ายแก็สที่ว่านี้ก็ไม่มีอะไรซับซ้อน เพียงแต่โมดิฟายน์ระบบออโตสวิชท์ มาคอนโทรลตัวจ่ายแก็สเข้าท่อร่วมไอดี วิธีการนี้จะทำให้ตัวเรือนปีกผีเสื้อและลิ้นสะอาดเช่นเดียวกับระบบน้ำมัน การไหลของอากาศจากหน้าลิ้นปีกผีเสื้อจะจ่ายได้ดีเช่นเดียวกับระบบน้ำมัน ถึงอย่างไรก็ตามความบกพร่องของระบบเครื่องยนต์ทั้งในจังหวะของรอเดินเบาและอัตราเร่งกำลังของเครื่องยนต์ ในระบบแก็สก็ยังมีอยู่ เช่นเดียวกับระบบหัวฉีดแก็ส ทั้งนี้ทั้งนั้นก็มาจากแหล่งจ่ายแก็สที่สำคัญก็คือระบบของหม้อต้มแก็ส ที่มีสภาพเสื่อมไปตามเวลาของการใช้งาน ต้องหมั่นคอยตรวจเช็คและซ่อมให้มีสภาพสมบูรณ์ มันเป็นเรื่องปกติของหม้อต้มแก็ส ที่เมื่อเวลาเปลี่ยนสภาพแก็สที่เป็นน้ำให้กลายเป็นไอแก็ส ย่อมมีความหลงเหลือของการเปลี่ยนสถานะที่ไม่สมบูรณ์ เหลือเป็นขี้แก็ส ที่มีสภาพเหมือนน้ำมันหล่อลื่น เหนียวเกรอะกรัง ขี้แก็สนี้ยังไปทำให้แผ่นผ้าไดอะแฟรมเสียรูปทรง ย่นทำให้การคอนโทรลกระเดื่องวาวล์บกพร่อง รวมทั้งไปอุดตันตามช่องบ่าวาวล์ ทำให้วาวล์ปิดไม่สนิท และไปอุดตันในช่องสกรูปรับของ sensitive และประการสำคัญ ในห้องที่เป็น ส่วนที่เก็บของน้ำร้อนในหม้อต้ม จะมีแผ่นยางที่กั้นน้ำร้อนและถ่ายเทความร้อนไปยังห้องเปลี่ยนสถานะน้ำแก็สให้เป็นไอแก็สที่ มีสภาพเสื่อมหดย่นมีผิวไม่สัมผัสกับแผ่นโลหะ ทำให้การถ่ายเทความร้อนไปยังห้องเปลี่ยนสถานะแก็สลดลง เป็นผลให้ความร้อนที่จะทำให้น้ำแก็สกลายเป็นไอทำงานไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดขี้แก็สตามมา ความจริงในเรื่องรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ที่ใช้แก็ส ไม่ได้หมายความว่าจะขึ้นอยู่กับหม้อต้มแก็สเพียงอย่างเดียว มันจะมีผลกับสภาพของเครื่องยนต์อีกด้วย เพราะการทำงานของระบบการจุดระเบิดของเครื่องยนต์ ที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ย่อมมาจากความสมบูรณ์ของชิ้นส่วนของห้องสูบที่ประกอบไปด้วยลูกสูบ แหวน วาวล์ บ่าวาวล์ และระบบการควบคุมคอนโทรลด้วย ECU เครื่องยนต์ที่มีการจุดระเบิดที่สมบูรณ์ ย่อมทำให้เกิดแรงดูดที่ท่อร่วมไอดี(แว็คคั่ม) ที่มีเสถียรภาพ นั้นมีผลกับระบบแก็สและน้ำมันอย่างมาก โดยระบบแก็สจะเห็นผลได้ชัดเจนกับระบบรอบเดินเบา เพราะต้องการความสม่ำเสมอของแรงดูด ที่กระทำต่อแผ่นไดอะแฟรมของหม้อต้มแก็ส หากมีแรงดูดไม่คงที่จะทำให้การจ่ายแกสสวิงเครื่องยนต์รอบตก หากเป็นระบบน้ำมันก็จะทำให้รอบเดินเบาตกไม่คงที่เช่นกัน อันเนื่องมาจากตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์ ที่ทำหน้าที่อ่านค่าแรงดูดของแว็คคั่มที่ท่อร่วมไอดีแล้วเปลี่ยนเป็นโวลเต็จเป็นตัวแปรหรือข้อมูลให้กับ ECU ทราบ และสั่งจ่ายน้ำมันในจังหวะของรอบเดินเบา หากกำลังอัดของเครื่องยนต์ตกลงอันมาจากหลายสาเหตุ เช่นบ่าวาวล์ปิดไม่สนิท วาวล์ยัน ทำให้กำลังอัดของเครื่องยนต์ตกลง และมีผลต่อแรงดูดที่ตัวแว็คคั่มเซ็นเซอร์ เปลี่ยนไป ทำให้การจ่ายโวลเต็จที่ส่งให้กับ ECU ผิดไปจากการโปรแกรมของข้อมูลในสถาพที่เครื่องยนต์สมบูรณ์ในครั้งแรก ทำให้การสั่งจ่ายยน้ำมันในจังหวะรอบเดินเบาผิดไป (บางครั้งตัวของแว็คคั่มเซ็นเซอร์ก็เสียทำให้รอบเดินเบาสวิงได้) ดังนั้นการที่จะวิเคราะห์เรื่องรอบเดินเบา จะต้องทำการปรับตั้งวาวล์ของเครื่องยนต์เป็นอันดับแรกเสียก่อน แล้วค่อยหาสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับระบบเดินเบาต่อไป บางครั้งหลังจากที่ทำการปรับตั้งวาวล์ของเครื่องยนต์แล้วระบบรอบเดินเบากลับมาสู่สภาพปกติก็มี ต้องขออภัยเพื่อนๆและน้องๆสมาชิกทุกท่าน ที่ผมอาจจะกล่าวเนื้อหามากไป แต่ก็อยากจะให้ทราบว่าระบบรอบเดินเบาที่เกิดกับเครื่องยนต์ที่ใช้แก็ส มันมาจากส่วนไหนบ้าง จริงแล้วผมยังไม่ได้กล่าวถึงอีกหลายส่วนที่ หัวข้อ: Re: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 15 มิถุนายน 2010, 09:36:50 เกี่ยวข้องกับรอบเดินของแก็ส เอาเป็นว่าพอสังเขปก็แล้วกัน พูดกันยาวก็เบื่อคนอ่านก็เซ็งคนพิมพ์ก็ขี้เกียจ ก็ขอแนะนำต่อเจ้าของกระทู้ดังนี้ก็แล้วกัน ขั้นแรกให้น้องนำรถไปทำการปรับตั้งวาวล์เสียก่อน หากยังเหมือนเดิม
ให้ตัดปัญหาโดยการไปเปลี่ยนแผ่นไดอะแฟรมชุดซ่อมของหม้อต้มแก็สใหม่ แล้วทุกอย่างก็จะกลับสู่สภาพปกติ ตอนนี้หากนำไปให้ช่างปรับจูนแก็ส มันก็กลับมาเป็นอีก เพราะสภาพภายในของหม้อต้มแก็สเสื่อมสภาพ จะเห็นว่าเมื่อหม้อต้มแก็สมีสภาพปกติ การปรับจูนแก็สจะทำได้ง่าย เครื่องยนต์มีกำลังบางครั้งช่างที่ชำนาญการปรับจูน จะทำให้เครื่องยนต์มีกำลังแค่กดคันเร่งเบาๆ รถมีกำลังออกตัว บางครั้งดีกว่าน้ำมันเสียอีก เรื่องของหม้อต้มแก็สบางท่านก็บอกว่าใช้มาสองปีก็ไม่มีปัญหา บางท่านใช้มาไม่ถึงครึ่งปีก็มีปัญหา อย่าไปถือเป็นกดตายตัวเพราะมีตัวแปรของการใช้มากมายครับ ก็ขอให้น้องโชคดีครับ?..srithanon หัวข้อ: Re: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: green_zone ที่ 17 มิถุนายน 2010, 15:26:11 ขอความรู้ด้วยคนครับ
แล้วถ้าตอนสตาร์ทน้ำมันเวลาเครื่องเย็นรอบสวิงขึ้นๆลงๆบางครั้งดับเลยละครับ(เปิดแอร์พัดลมเบอร์1)จะต้องไปดูตรงไหนครับพี่ๆ เปลี่ยนหัวเทียนกับหัวฉีดตั้งวาล์วและมอเตอร์รอบเดินเบาแล้วล้างลิ้นปีกผีเสื้อแล้วด้วยครับ ทำตามนี้แล้วอาการดีอยู่สองสามอาทิตย์ตอนนี้เหมือนเดิมเลย หัวข้อ: Re: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 17 มิถุนายน 2010, 22:25:41 ผมตอบปัญหาของคุณแล้วเวลาโพสเกิดการผิดพลาดทำให้ข้อความทั้งหมดหายไป พรุ่งนี้จะส่งให้ใหม่ครับ..srithanon
หัวข้อ: Re: มีปํญหารอบเดินเบา เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 18 มิถุนายน 2010, 01:12:32 ต้องขออภัยที่ตอบกระทู้ถามของคุณในรอบที่สอง รอบแรกเกิดการผิดพลาดในการโพสข้อความ ขออภัยด้วย
ในกรณีเรื่องปัญหาของคุณ ที่บอกว่าในขณะที่เครื่องเย็นอาจจะเป็นตอนเช้า หรือจอดรถนานๆจนเครื่องเย็น เวลาสตาร์ทแล้วรอบเดินเบาต่ำและสวิงขึ้นๆลงๆ และบอกว่าไปทำการตรวจซ่อมเปลี่ยนหัวเทียน หัวฉีด มอเตอร์รอบเดินเบา และล้างเรือนปีกผีเสื้อ อาการดีขึ้นระยะหนึ่งแล้ก็กลับ มาเป็นอีก อาการที่กล่าวมานี้ปัญหาน่าจะมาจาก sensor อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็นอาจจะมีค่าผิดและมีค่าความต้านทานเปลี่ยนไป เมื่ออุณหภูมิของน้ำอยู่ในสภาพปกติหรือเย็น ปกติแล้วตัวเซ็นเซอร์ที่ว่านี้จะทำหน้าที่ตรวจเช็คอุณหภูมิของน้ำ ประกอบไปด้วยสารเทอร์มิสเตอร์ ที่มีค่าความต้านทานไวต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของน้ำ เมื่ออุณหภูมิน้ำสูงขึ้นค่าความต้านทานของมันก็จะลดน้อยลง ค่าความต้านทานที่เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเทอร์ทิสเตอร์ จะถูกป้อนไปยัง ECU เพื่อให้ ECU สั่งฉีดน้ำมันให้กับเครื่องยนต์ในจังหวะรอบเดินเบาที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ และในขณะเดียวกันก็จะป้อนโวลเต็จให้กับตัวโรตารี่โซลินอยวาวล์ ที่ตั้งติดกับเรือนปีกผีเสื้อ(บางท่านเรียกสเต็ปมอเตอร์ ความจริงเรียกผิด ในรถ HONDA CIVIC ตาโตไม่มีสเต็ปมอเตอร์ครับ) ตัวโรตารี่โซลินอยวาวล์จะทำหน้าที่เปิดให้อากาศจากหน้าลิ้นปีกผีเสื้อผ่านเข้าไปในท่อร่วมไอดี ในจังหวะการสตาร์ทเครื่องยนต์ในสภาวะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ หรือจอดรถทิ้งไว้นานๆ ทั้งนี้เพื่อต้องการที่จะให้อัตราส่วนผสมอากาศกับน้ำมันมีส่วนผสมที่หนา เพื่อช่วยให้รอบเครื่องยนต์เพิ่มขึ้นเอาชนะความฝืดของชิ้นส่วนของเครื่องยนต์ที่ยังมีอุณหภูมิของห้องเครื่องยนต์ เย็นอยู่ จะเห็นว่าในจังหวะที่เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ตัวที่ทำหน้าที่คอนโทรลรอบเดินเบาในครั้งแรกของการสตาร์เครื่องยนต์ จะมีสามตัวประกอบในการทำงาน สองตัวแรกก็คือ sensor อุณหภูมิน้ำหล่อเย็น โรตารี่โซลินอยวาวล์ และตัว sensor อุณหภูมิอากาศ ในกรณีรถของคุณผมคาดว่าน่าจะมาจาก sensor ระบบน้ำหล่อเย็น การตรวจเช็คเซ็นเซอร์ตัวนี้หากไม่ใช่ช่าง ก็คงต้องลองเปลี่ยนหรือสลับกับรถของเพื่อนที่เป็นรุ่นเดียวกัน หากเป็นช่างอีเลคโทรนิคส์ ก็คงจะหาค่าความต้านทาน(resistor)ที่มีค่าความต้านเท่ากับตัว sensor ตัวที่ดี(โดยการวัดเปรียบเทียบ) แล้วนำตัว resistor นี้ มาต่อลงกราวด์ โดยให้ปลายด้านหนึ่งต่อกับแช็ชซิสเครื่องยนต์ อีกด้านหนึ่งก็ต่อเข้ากับสายไฟที่เสียบไว้ที่ตัว sensor เดิม (ดึงออกมาแล้ต่อเข้ากับอีกด้านหนึ่งของ resistor) แล้วลองสตาร์ทเครื่องยนต์ หากเครื่องยนต์มีรอบปกติเหมือนเดิมก็หมายความว่า ตัว sensor อุณหภูมิน้ำเสีย ก็หาซื้อมาเปลี่ยน หากอาการยังเหมือนเดิมไม่หาย ก็อย่าเพิ่งวิตก ก็ต้องตรวจเช็คที่ตัวโรตารี่โซลินอยวาวล์ว่ามันทำงานหรือไม่ เพราะว่ามันจะต้องเปิดให้อากาศผ่านช่องพอร์ทในตัวมันให้มีช่องอากาศไหลผ่านมากกว่าปกติ แล้วจะรู้ได้อย่างไร ก็ต้องถอดตัวเรือนโรตารี่ออกมา แล้วป้อน 5 volt เข้าที่ตัวมัน เราจะเห็นว่ามันเปิดช่องพอร์ทกว้างขึ้น (ผมคงไม่ต้องอธิบายการทำงานของมันนะครับ) สมมุติว่ามันทำงานปกติ ที่นี้ก็ต้องมาตรวจสอบอไฟโวลเต็จที่ ECU จ่ายมาที่สายไฟของตัวโรตารี่ ว่ามีหรือไม่(ต้องติดเครื่องยนต์) สมมุติว่าไม่มี นั้นหมายความว่าเกิดความบกพร่องขึ้นในตัวกล่อง ECU ผมคงไม่ต้องแนะนำให้ตรวจเช็คนะครับ เอาเป็นว่าตรวจเช็คกันต่อ สมมุติอีกว่าหากเราประกอบเจ้าตัวโรตารี่โซรีนอยวาวล์กลับเข้าที่เดิม แล้วหาไฟ + 5V จากแหล่งจ่ายไปภายนอกเช่นชุดเพาเวอร์ซัพพลาย ที่สามารถปรับโวลเต็จ เอ้าพุทได้ตามต้องการ ( 0-15 volt ) สตาร์ทเครื่องยนต์แล้วป้อนไฟเข้าที่สายไฟของโรตารี่ โซลินอยวาวล์ หากเครื่องยนต์มีรอบปกติ ก็หมายความว่าตัวโรตารี่ทำงานปกติ ก็ต้องหาทางนำกล่อง ECU ไปตรวจซ่อม ที่ผมกล่าวมาทั้งหมดก็เป็นแนวทางในการตรวจเช็คอาการที่เกิดขึ้น แต่ผมก็ขอบอกว่าอาการที่เกิดขึ้นกับรถคุณนี้ อาจจะไม่ใช่สาเหตุที่ผมกล่าวก็ได้ แต่ที่พบมาก็ดังที่ผมกล่าว ความจริงแล้วการที่จะชี้เป้าบอกไปว่าตรงนี้ตรงนั้นมันเสีย คงจะไม่ใช่กฎที่ตายตัว มันมีหลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ก็ต้องตรวจสอบไปแต่ละจุดที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบ ก็เหมือนกับที่คุณไปเปลี่ยนมา บอกว่าเปลี่ยนหัวเทียน หัวฉีด ตัวมอเตอร์ ล้างเรื่อนปีกผีเสื้อ แต่ละอย่างหากรู้ว่ามันมันทำงนอย่างไรก็จะทำให้ตรวจเช็คได้ง่าย อย่างกรณีที่หัวฉีดเสีย รั่ว อาการที่แสดงออกก็คือมีน้ำมันหยดไหลเข้าห้องสูบในขณะที่ดับเครื่องแล้วจอดรถ ไปทำธุระสักพักกลับมาขับรถต่อ แต่สตาร์ทยาก เพราะมีน้ำมันค้างภายในกระบอกสูบ ทำให้อัตราส่วนผสมหนาเกินไป สตาร์ทติดอยาก สำหรับหัวเทียนก็เกี่ยวกับระบบไฟจุดระบิด แต่ผลที่เห็นได้ชัดก็ต่อเมื่อใช้กำลังของเครื่องยนต์ที่รอบสูงๆ สะดุด ผมมีคำถามทิ้งท้ายไว้สำหรับอาการของรถคุณ เพราะอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้อง คุณบอกว่าไปตั้งวาวล์มา สังเกตหรือไม่ว่า(ถามช่าง) ที่ภายในฝาสูบเครื่อง(ตรงบริเวณเขี้ยวของหัวเทียน) มีเขม่าตระกรันเกาะมากหรือไม่ ผมคิดว่าคงไม่ทราบ ก็จะขอบอกให้ก็แล้วกัน ในกรณีที่เครื่องยนต์ใช้งานมานานๆและลูกสูบหลวมแหวนหลวม จะทำให้การจุดระเบิดไม่สมบูรณ์ ทำให้เกิดคราบน้ำมันเครื่องเกาะเป็นตระกรันพอกหนา ดังนั้นในการสตาร์ทเครื่องยนต์ครั้งแรกประกายไฟจากหัวเทียนจะถูกลีคลงกราวด์เพราะความชื้นจากคราบน้ำมันที่เกาะไว้ ทำให้เครื่องยนต์สั่นรอบต่ำในตอนแรก เนื่องจากไฟที่หัวเทียนมีแรงไฟตกลง จุดระเบิดไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อผ่านไปสักพักความร้อนที่ได้จากการจุดระเบิดทำให้บริเวณนั้นแห้งและไม่ทำให้กระแสไฟจากหัวเทียนลีคลงกราวด์ อาการก็จะหายไป อาจจะมาจากสาเหตุนี้ก็ได้ เพียงผมแจ้งให้ข้อคิดก็แล้วกัน บอกแล้วว่าในระบบเครื่องยนต์ ไฟฟ้า และอีเลคโทรนิคส์ มันไม่ใช่สูตรสำเร็จครับ ก็ลองไปตรวจเช็คดูนะครับ ได้ผลอย่างไรก็บอกข่าวกันบ้างนะครับ ขอให้โชคดี?..srithanon |