หัวข้อ: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: NON1981 ที่ 21 เมษายน 2010, 20:47:23 ในบรรยากาศปกติ อากาศจะประกอบด้วย
1. ออกซิเจน 20.95% 2. ไนโตรเจน 78.08% 3. อาร์กอน 0.93% 4. คาร์บอนไดออกไซด์ 0.03% 5. ก๊าซอื่นๆ กับสิ่งเจือปน 0.01% โดย คุณสมบัติของออกซิเจนเป็นก๊าซซึ่งช่วยให้เกิดการสันดาปได้ ซึ่งถ้าหากมีอยู่ในยางมากเกินไปจะทำให้โลหะเกิดออกไซด์หรือทำให้กระทะล้อ เป็นสนิม เมื่อออกซิเจนไปรวมตัวกับไฮโดรเจนก็จะทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ และทำให้เศษแป้งที่เคลือบท้องยางเกาะตัวเป็นก้อนแล้วกลิ้งอยู่ในยาง ถ้าหากก้อนแป้งนี้มีขนาดโตขึ้นมากๆ จะมีผลทำให้พวงมาลัยรถสั่นได้ และยังมีปฏิกิริยากับส่วนผสมของเนื้อยาง ออกซิเจนจะเร่งทำให้คุณภาพของยางหมดอายุไวขึ้น เนื่องจากในหนึ่งอะตอมของออกซิเจนจะประกอบด้วย 16 โมเลกุล เป็นโมเลกุลที่เล็กเกาะตัวกันภายในไม่แน่นทำให้เคลื่อนที่ได้เร็วในขณะที่รถ เคลื่อนท ี่จึงเสียดสีกัน ทำให้ต้องเชคและเติมลมบ่อย ไนโตรเจน เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ ทั้งสิ้น มีการจับยึดตัวกันคล้ายวุ้น ทำให้เคลื่อนตัวเสียดสีกันน้อย มีความร้อนน้อย และแรงดันในยางไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ใน 1 อะตอมของไนโตรเจนจะประกอบด้วย 14 โมเลกุล เป็นโมเลกุลที่โต ทำให้แทรกตัวออกจากยางยาก จึงไม่ต้องเติมลมบ่อย หลักการในการเติมลมยางด้วยไนโตรเจนจะต้องเติมลมให้ปริมาณของออกซิเจนภายในยางมีปริมา ณเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศภายนอก หลัก การทำงานของเครื่องเติมลมไนโตรเจน โดยต่อท่อลมจากปั๊มลม (แหล่งจ่ายลม) ให้ลมผ่านกรองขนาด 20 um เพื่อกรองดักน้ำออก จากนั้นลมที่ผ่านการดักน้ำออกแล้วจะผ่านกรองขนาด 5 um เพื่อกรองดักน้ำมันออกแล้วให้ลมที่กรองแล้วไหลผ่านอุปกรณ์ครีบทำให้ลมที่ ผ่านอุปกรณ์ นี้หมุน เมื่อลมถูกทำให้หมุนจะเกิดแรงเหวี่ยงทำให้ออกซิเจนจะเหวี่ยงหลุดตัวออกมาและผ่านกรอง ขนาด 0.001 um หลุดออกบรรยากาศภายนอก ส่วนไนโตรเจนเกาะตัวกันได้ดี และมีโมเลกุลที่โตกว่าจึงหลุดผ่านกรองไม่ได้ จึงถูกส่งไปเก็บยังถังสำรอง เพื่อเตรียมไว้เติมลมยาง ข้อดีในการเติมลม ไนโตรเจน 1. ลดอัตราการระเบิดของลมยาง เพราะก๊าซไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย การยึดติดกันของโมเลกุลคล้ายวุ้น ทำให้การขยับตัวเคลื่อนที่ช้า โมเลกุลเสียดสีกันน้อย จึงทำให้ลมภายในยางเกิดความร้อนสะสมน้อย แรงดันลมในยางจึงเปลี่ยนแปลงไม่มาก ทำให้ยางมีโอกาสระเบิดน้อย (ส่วนมากยางที่ระเบิดเกิดจากแรงดันลมในยางเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับโครงผ้าใบเริ่มเสื่อมคุณภาพจึงเกิดการระเบิด) ล้อที่เติมลมไนโตรเจนแล้วยังมีความร้อนอยู่บ้าง เนื่องจากการเสียดสีของลูกปืนล้อ เบรก ที่ส่งผ่านกระทะล้อมาสู่ยาง และเกิดจากยางเสียดสีกับพื้นถนน ถ้ารถวิ่งทางตรงยางจะเสียดสีกับถนนน้อยกว่าในขณะเลี้ยว แต่ 80% ของการขับขี่คือการหักเลี้ยวตามโค้งถนนหรือแซงและหลบ 2. นุ่มนวลและลดเสียงดังจากยางกระทบพื้น เพราะก๊าซไนโตรเจนมีกายึดติดของโมเลกุลคล้ายวุ้น ทำให้เคลื่อนที่ช้า เมื่อยางกระทบกับคลื่นตะเข็บของถนน ยางจะเคลื่อนที่ยืดหยุ่นตัวช้าลง ทำให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น และลดเสียงดังของยางไปได้มาก (ถ้ายางซีรี่ส์ต่ำจะเห็นผลน้อย ถ้ายางซีรี่ส์สูงๆ จะเห็นผลได้มาก หรือถ้ายางที่ร่องดอกยางห่างๆ จะเห็นผลและเงียบลงไปมาก) 3. เป็นก๊าซที่มีน้ำหนักเบาโดยคุณสมบัติของก๊าซจึงมีผลคล้ายข้อที่ 2. คือนุ่มนวลและลดเสียงดัง 4. ไม่ทำให้กระทะล้อเป็นสนิมและแป้งที่เคลื่อบยางก็ไม่เป็นก้อนในท้องยาง เพราะในการเติมลมยางด้วยไนโตรเจนทำให้ในยางมีปริมาณออกซิจนอยู่น้อย ถ้าออกซิเจนไปรวมตัวทำปฏิกิริยากับเหล็กหรืออลูมิเนียมจะทำให้เกิดสนิมที่ บริเวณกระท ะล้อได้ และถ้าออกซิเจนไปรวมตัวกับไฮโดรเจนซึ่งปะปนอยู่ในลมยาง จะทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ H2O หยดน้ำนี้เมื่อกลิ้งอยู่ในท้องยางจะทำให้แป้งที่อยู่ในท้องยางรวมตัวกันเป็น ก้อนกลิ้ งอยู่ในท้องยาง และขนาดโตขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุ ถ้าก้อนแป้งนี้มีมากหรือขนาดใหญ่พอที่จะทำให้พวงมาลัยรถสั่นได้ ต้องถ่วงล้อใหม่ แต่มักจะถ่วงไม่ลง ถ้าหากไม่นำเอาก้อนนี้ออกก่อน 5. ไม่ต้องเติมลมหรือเชคลมยางบ่อยๆ เพราะอะตอมของไนโตรเจนมีขนาดโตกว่าออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนสามารถซึมเข้าออกเนื้อยางได้ แต่ไนโตรเจนไม่สามารถซึมผ่านได้ ดังนั้นเมื่อเติมไนโตรเจนจึงทำให้ลมยางไม่ค่อยลดลง จากที่เคยทดลอง 3 เดือน มีการลดลงประมาณ 1 ปอนด์ ซึ่งถือว่าน้อยมาก ในการเติมลมยางเราไม่เติมลมไนโตรเจนเข้าไป 100% เพราะออกซิเจนจากภายนอกจะซึมเข้าหาภายในยาง ทำให้แรงดันลมยางเพิ่มขึ้น โดยปกติจะเติมไนโตรเจนเข้าไป 95% - 97% ให้ออกซิเจนเหลือภายในยางเพื่อต้านออกซิเจนที่จะแทรกจากอากาศภายนอก เพราะฉะนั้นถ้านำไนโตรเจนแบบถังไนโตรเจน 100% มาเติมลมยาง พอใช้ไปออกซิเจนจากภายนอกจะแทรกเข้าไปทำให้ลมยางเพิ่มขึ้นเอง (คุมแรงดันลมไม่ได้) 6. ยืดอายุยาง เพราะในยางรถยนต์ประกอบด้วยสารเคมี ถ้ามีออกซิเจนอยู่มาก ออกซิเจนจะทำปฏิกิริยากับเคมีทำให้เนื้อยางเสื่อมสภาพเร็ว และเนื่องจากไนโตรเจนเป็นก๊าซเฉื่อย ทำให้ยางมีความร้อนน้อย มีผลให้ยางสึกหรอน้อยตามไปด้วย ลมไนโตรเจนคืออะไร ? ลมไนโตรเจน คือลมยางธรรมดาที่เราใช้เติมยาง เพียงแต่ได้เข้าเครื่องคัดเอาออกซิเจนและความชื้นออกเหลือเพียงไนโตรเจนเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีใช้กันมานานแล้วในต่างประเทศ และบางประเทศได้ออกกฎหมายให้รถโดยสารและรถบรรทุกต้องเติมไนโตรเจนและเครื่องบินทุกลำ ต้องเติมลมยางด้วยไนโตรเจนเท่านั้น เติมลมยางด้วยไนโตรเจนดีอย่างไร ? เมื่อ นำลมไนโตรเจนมาเติมยางรถยนต์ จะช่วยให้ยางรถไม่ร้อนไม่ขยายตัว ลดอัตราการระเบิดของยาง ลดการสั่นสะเทือนและลดเสียงดัง ทำให้รถวิ่งได้นุ่มนวลขึ้น ช่วยให้ยางสึกหรอน้อยลง ทำให้อายุของยางนานขึ้น เมื่อขับด้วยความเร็วสูงยางจะเกาะถนนช่วยให้เข้าโค้งได้ดี และการเบรกก็ดีขึ้นด้วย ไม่ต้องคอยเติมลมยางบ่อยๆ ซึ่งจะช่วยให้ระบบช่วงล่าง โช๊ค และระบบกันสะเทือนสึกหรอน้อยลง ทำให้ประหยัดค่าซ่อมช่วงล่าง และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเติมน้ำมันด้วย การเติมลมยางไนโตรเจนต้องเติมบ่อยแค่ไหน ? เติม แค่ครั้งแรกครั้งเดียวก็สามารถอยู่ได้จนกว่าจะมีการปะยางหรือเปลี่ยนยางใหม่ แค่ปกติแล้วควรมีการตรวจเช็คประมาณ 2 - 3 เดือนต่อครั้ง ไปต่างจังหวัดแล้วหาที่เติมไม่ได้จะทำอย่างไร ? ปกติ ยางที่เติมด้วยไนโตรเจนจะไม่ค่อยรั่วซึม จึงไม่จำเป็นต้องเติมบ่อย แต่หากหาลมไนโตรเจนไม่ได้ ก็สามารถเติมลมธรรมดาได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ แต่ยางบางเส้นนั้นจะกลายเป็นลมธรรมดาไป ซึ่งไม่เป็นอันตราย ไม่ทำให้ยางเสียหาย แล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นลมไนโตรเจนภายหลังเฉพาะล้อนั้นก็ได้ ประโยชน์ที่นำมาใช้เติมลมยางรถยนต์ - ล้อยางที่เติมก๊าซไนโตรเจนจะอยู่ได้นาน เนื่องจากก๊าซไนโตรเจนจะรั่วได้ช้ากว่าลมธรรมดาถึง 3 เท่า - ช่วยปกป้องยางจากสภาวะความร้อนสูงเกินไป จึงลดปัญหาการระเบิดของยาง เพิ่มความปลอดภัยในขณะวิ่ง - ช่วยลดความร้อน จึงลดแรงต้านของล้อยาง ทำให้ประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ - การขับขี่นุ่มกว่าในทุกระดับความเร็ว - ช่วยในการยึดเกาะถนน ด้วยแรงดันที่เหมาะสมในยาง - ช่วยยืดอายุการใช้งานของล้อยาง - ก๊าซไนโตรเจน ไม่ก่อให้เกิดความสึกกร่อนของดอกยาง และไม่สูญเสียความยืดหยุ่น ? 2010 Microsoft สิทธิส่วนบุคคล ข้อกำหนดการใช้ หัวข้อ: Re: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: -yatch- ที่ 22 เมษายน 2010, 00:57:52 แหล่มเลย ได้ความรู้ดีดีเพิ่มอีกแล้ว
หัวข้อ: Re: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: thanawat6 ที่ 22 เมษายน 2010, 08:06:49 ยาวมากๆ อ่านไม่หมดครับ วันนี้ความอดทนน้อย ขอต่อวันหน้าละกัน...ความรู้ดี ๆ ขอบคุณครับ.. 8)
หัวข้อ: Re: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: NON1981 ที่ 27 เมษายน 2010, 12:25:55 up ไว้ เผื่อเป็นประโยชน์ :)
หัวข้อ: Re: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: NON1981 ที่ 27 เมษายน 2010, 20:15:00 งืมๆๆ แถวบ้านผม เติมล้อละ 50 บาทว่าไป ก็ อยากรู้ เนอะ ไม่เคยถาม เหมือนกัน ว่า มีที่ไหน มั่งแล้ว ถ้าจะเอาไป เปลี่ยนเนี่ย สูญทรัพย์เท่าไหร่ อ่ะครับ หัวข้อ: Re: FW mail ประโยชน์ของการเติมลมไนโตรเจน เริ่มหัวข้อโดย: Civ03 ที่ 13 พฤษภาคม 2010, 16:42:46 ผมว่าใน fm นี้มันแปลกครับ....หลายๆ ตัวจับแพะชนแกะ เช่น
1. ?คุณสมบัติของออกซิเจนเป็นก๊าซซึ่งช่วยให้เกิดการสันดาปได้ ซึ่งถ้าหากมีอยู่ในยางมากเกินไปจะทำให้โลหะเกิดออกไซด์หรือทำให้กระทะล้อ เป็นสนิม? -? การสันดาปเกี่ยวไรกับการเกิดสนิมอะ สนิมนะเกิดจากเหล็กทำปฎิกิริยากับออกซิเจน ดังสมการเคมี 4Fe + 3O2 ----------> 2Fe2O3.H2O 2. ?เมื่อออกซิเจนไปรวมตัวกับไฮโดรเจนก็จะทำให้เกิดเป็นหยดน้ำ?__>ปฏิกิริยาเคมีตามสมการ 2H2+O2----? 2H2O นี่ไม่ได้เกิดได้พล่ำเพลื่อนะครับ เป็นปฏิกิริยาคายความพลังงาน ภายใต้ภาวะสมดุลหลายๆ อย่างด้วย โอกาสเกิดในสภาพบรรยากาศปกตินี่ยากนะครับ 3. ?ทำให้เศษแป้งที่เคลือบท้องยางเกาะตัวเป็นก้อนแล้วกลิ้งอยู่ในยาง?__> น้ำกลายเป็นแป้งได้ไงอะ 4. ?เนื่องจากในหนึ่งอะตอมของออกซิเจนจะประกอบด้วย 16 โมเลกุล เป็นโมเลกุลที่เล็กเกาะตัวกันภายในไม่แน่น? __>โมเลกุลนี่ใหญ่กว่าอะตอมนะครับ แล้วโมเลกุลของก๊าซออกซิเจนในบรรยากาศก็มีอะตอนของธาตุออกซิเจน 2 อะตอมครับ เลขอะตอมของธาตุออกซิเจน(ไม่ใช่กาซออกซิเจน) มีค่าเป็น คือจำนวนอิเลคตรอนรอบนิวเคลียสของอะตอมออกซิเจนครับ และในบรรยากาศจริงโอกาสพบอะตอมของออกซิเจนอยู่แบบอิสระไม่เกาะกันเป็นโมเลกุลนี่น้อยมากนะครับเพราะอะตอมของออกซิเจนไม่เสถียร(ถ้าเสถียรนี่ Valent Electron ต้องเท่ากับ 2 หรือ 8) 5. ?ไนโตรเจน เป็นก๊าซเฉื่อยไม่ทำปฏิกิริยาใดๆ ทั้งสิ้น? __> มั่วแระ ก๊าซเฉื่อยนี่ต้องพวก ฮีเลี่ยม อาร์กอน นีออน นุ่น ไนโตรเจนนี่ปกติจะอยู่ในรูป N2 ครับ 6. ?ใน 1 อะตอมของไนโตรเจนจะประกอบด้วย 14 โมเลกุล เป็นโมเลกุลที่โต ทำให้แทรกตัวออกจากยางยาก จึงไม่ต้องเติมลมบ่อย? ? ดูข้อ 4 เอะแล้ว 14 มันโตกว่า 16 ได้ไงวานบอก เอาแค่นี้ก่อนนะครับ |