:::CIVIC CLUB THAILAND:::

คุยคุ้ย Civic => Civic Club DIY => คุณทำได้ => ข้อความที่เริ่มโดย: cyu ที่ 30 พฤศจิกายน 2009, 10:44:54



หัวข้อ: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 30 พฤศจิกายน 2009, 10:44:54
ไฟส่องทะเบีนเดิม กับหลอด LED ที่จะทำการเปลี่ยนแปลง และแผ่นอเนกประสงค์
(http://img22.imageshack.us/img22/7808/p1060335.jpg)

(http://img34.imageshack.us/img34/3382/p1060337s.jpg)
(http://img163.imageshack.us/img163/8738/p1060336.jpg)

ทดสอบหาตำแหน่งที่เราต้องการ แล้วทำเครื่องหมายเอาไว้
(http://img4.imageshack.us/img4/4745/p1060340b.jpg)

นำแผ่นอเนกประสงค์ที่ตัดตามขนาด มาติดสติกเกอร์ เพื่อความสวยงาม และช่วยสะท้อนแสง
(http://img43.imageshack.us/img43/1269/p1060343x.jpg)

เจาะรูตำแหน่งที่เราต้องการ
(http://img163.imageshack.us/img163/165/p1060349.jpg)

ทดลองใส่ตามตำแหน่งที่เราเจาะ
(http://img39.imageshack.us/img39/7284/p1060356i.jpg)

ทำขั้วเพื่อเสียบกับขั้วไฟหรี่เดิม
(http://img38.imageshack.us/img38/9010/p1060357h.jpg)
(http://img43.imageshack.us/img43/1679/p1060358d.jpg)

นำแผ่นอเนกประสงค์ที่ติดตั้ง LED เรียบร้อยแล้ว ไปใส่กับกรอบไฟหรี่เดิม แล้วก็ติดกาว แล้วก็ติดสติกเกิร์เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการสะท้อนแสง
(http://img43.imageshack.us/img43/4898/p1060361y.jpg)

ติดตั้งเสร็จเรียบร้อย
(http://img69.imageshack.us/img69/3888/p1060364editcopy.jpg)


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 30 พฤศจิกายน 2009, 13:55:00
สวยคับ ใช้งานได้ประหยัดไฟด้วย


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Roddy ที่ 01 ธันวาคม 2009, 10:37:18
แหร่มเป็ดดดดด  ;D


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: p jung ที่ 03 ธันวาคม 2009, 16:59:12
แผ่นอเนกประสงค์ หลอดled แล้วตัวต้านทาน หาซื้อได้ที่ไหนอะครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 03 ธันวาคม 2009, 17:34:09
อ้างถึง
แผ่นอเนกประสงค์ หลอดled แล้วตัวต้านทาน หาซื้อได้ที่ไหนอะครับ
ใกล้ กทม ไปบ้านหม้อ ต่างจังหวัด ร้านอมร หรือร้านขายอุกรณ์อิเล็กทรอนิคทั้งหลาย


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: p jung ที่ 04 ธันวาคม 2009, 23:10:36
  ไกล กทม ไปบ้านหม้อ ต่างจังหวัด ร้านอมร หรือร้านขายอุกรณ์อิเล็กทรอนิคทั้งหลาย
ตัวต้านทานเราใช้ขนาดเท่าไหร่ แล้วใช้กี่ตัวครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 05 ธันวาคม 2009, 08:30:14
Vแหล่งจ่ายไฟ หมายถึง แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ มีหน่วยเป็น โวลท์
I หมายถึง กระแสที่ต้องการ มีหน่วยเป็น แอมแปร์
R หมายถึงค่าความต้านทาน มีหน่วยเป็น โอห์ม
Vตกคร่อม หมายถึง แรงดันค่าหนึ่งที่สามารถทำให้ LED ( หรืออุปกรณ์สารกึ่งตัวนำขนิดอื่นๆ) ทำงานได้
Vรวม หมายถึง แรงดันจริงที่ผ่านการคำนวณแล้ว

*(1000mA(มิลลิแอมแปร์) = 1แอมแปร์)


ต่อขนาน ต้องใช้ R ดรอป แต่ละตัว จะได้ความสว่างที่ไกล้เคียงกัน
ถ้าขนานแบบรวม ตัวที่ แรงดันตกคร่อมต่ำกว่า จะสว่างกว่า

Vรวม = I*R

Vรวม = Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม

Vแหล่งจ่ายไฟ-Vตกคร่อม LED = I*R

LED สีแดง Vตกคร่อม 1.8โวลท์ กระแสที่ต้องการ 5-15mA
LEDสีเขียว Vตกคร่อม 2.2-2.3โวลท์ กระแส 5- 15mA แนะนำความปลอดภัยที่ 10mA

ตัวอย่าง ถ้าต่อกับไฟ 5 โวลท์ ด้วย LED สีแดง และ กระแส 10mA จะจะต้องใช้ R เท่าไหร่

จาก Vรวม = I*R จะได้ R=Vรวม/I

R = (Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม) / I

R = 5-1.8/0.010 = 320 โอมห์ ค่าที่มีขายตามท้องตลาด 330 โอมห์ (รหัสสี แบบ5% ส้ม ส้ม น้ำตาล ทอง)

ตัวอย่าง ถ้าต่อกับไฟ 12 โวลท์ ด้วย LED สีเขียวและ กระแส 10mA จะต้องใช้ R เท่าไหร่

จาก Vรวม = I*R จะได้ R=Vรวม/I

R = (Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม) / I


R = 12-2.2/0.010 = 980 โอมห์ ค่าที่มีขายตามท้องตลาด 1000 โอมห์ (รหัสสี แบบ5% น้ำตาล ดำ แดง ทอง)



ข้อดีของการต่อแบบขนาน ด้วย R ดรอปแยก จะได้ความสว่างที่ใกล้เคียงกัน
และถ้าหลอดLEDใดหลอดหนึงเสีย ก็จะไม่ส่งผลกระทบถึงตัวอื่น

ข้อเสีย อุปกรณ์เยอะ ใช้สายไฟเยอะ

การต่อแบบอนุกรม เอาขั้วบวกของอีกตัว ไปต่อขั้วลบของอีกตัว (โดยปกติ ย้ำนะ ว่าปกติ แต่บางตัวไม่ปกติ แต่มีน้อยมากๆ มองเข้าไปข้างใน LED ขาที่เป็นแผ่นโลหะแบนๆ จะเป็นขั้วลบ)

พูดถึงข้อดีข้อเสียก่อนเลยดีกว่า

ข้อดี ใช้อุปกรณ์น้อย (แค่นี้แหละ)

ข้อเสีย ถ้าหลอด LED ดวงใดดวงหนึงเสีย ก็จะไม่สว่างทั้งหมด
จำนวน LED ที่ต่อได้ Vตกคร่อม ต้องน้อยกว่า V ของแหล่งจ่ายไฟ
ต้องใช้ R วัตต์สูงเพื่อให้ทนต่อกระแสจำนวนมากที่ไหลผ่าน


การต่ออนุกรม
ใช้สูตรเดิม Vรวม = I*R

Vรวม = Vแหล่งจ่ายไฟ - Vตกคร่อม

แต่ Vรวม จะได้จาก Vแหล่งจ่ายไฟ - (Vตกคร่อม1+Vตกคร่อม2+Vตกคร่อม3+... )= I*R

ถ้าต่อกับไฟ 12V จะใช้ LED สีแดงได้ 6 ตัว มากกว่านี้ไม่ได้
สีเขียวได้แค่ 5 ตัว
ก็เอา ค่า Vตกคร่อม มาบวกกัน ไม่ให้เกิน Vแหล่งจ่าย

 ขนาดตัวต้านทาน มีหน่วยเป็น วัตต์ ตามรูปยิ่งใหญ่วัตต์ก็ยิ่งมากสามารถต่อโหลดขนานได้มาก แต่ถ้าเกินโหลด ตัวR จะไหม้คับ

 ตัวอย่าง ต่อ LED สีเขียว อนุกรม 3 ตัว กับไฟ 12V แต่ละตัวต้องการกระแส 10mA (1000 มิลลิแอมป์แปร์ = 1แอมแปร์) กระแสรวม = 30mA ต้องใช้ R เท่าไหร่

จาก Vรวม = I*R

จะได้Vแหล่งจ่ายไฟ - (Vตกคร่อม1+Vตกคร่อม2+Vตกคร่อม3) = I*R

12-(2.2+2.2+2.2) = 0.030*R

R = 5.4 / 0.030 = 180 โอห์ม ค่าที่มีขายตามท้องตลาดพอดี รหัสสี น้ำตาล เทา น้ำตาล ทอง

คำนวณ กำลังวัตต์ของ R ที่ต้องใช้
จากสูตร P=I กำลัง 2 คูณ R ( P=I(ยกกำลัง)2*R )

P= 0.03*0.03*180 = 0.162 วัตต์


ใช้ตัวต้านทาน 1/4 วัตต์ได้สบาย


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 07 ธันวาคม 2009, 08:33:42
ตัวต้านทานเราใช้ขนาดเท่าไหร่ แล้วใช้กี่ตัวครับ

ผมใช้ตัวต้านทานตัวเดียวครับ ขนาดประมาณ ไม่เกิน 75 โอห์ม ตัวใหญ่รุ้สึกจะเป็น  1 W  ต่ออนุกรมกับไฟบวก แล้ว ต่อจากตัวต้านทาน ไปขนานกับ LED ทุกดวง จะสว่างเท่ากันหมดครับ และต่อง่ายดีครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 07 ธันวาคม 2009, 10:07:48
ทำไมใช้ 75 โอมห์อะคับ Vตกคล่อม ตั้ง 10.5 V. ไม่น่าเชื่อว่าหลอดจะไม่ขาด  :o เป็นไปได้ไงเนี่ย


  ใครรู้ช่วยอธิบายทีคับ งง  ::)
 
  แต่ผมว่าควรต่อตาม Vตกคล่อม แต่ละสีจะดีกว่านะคับหลอดจะอยู่ได้นานที่สำคัญสีออกมาจะไม่เพี้ยน

  ตามตารางคับ Vตกคล่อมของแต่ละสี ความต่างศักดิ์ ของแต่ละสีไม่เท่ากันขอให้สนุกกับ DIY นะคับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 07 ธันวาคม 2009, 10:17:42
ทำไมใช้ 75 โอมห์อะคับ Vตกคล่อม ตั้ง 10.5 V. ไม่น่าเชื่อว่าหลอดจะไม่ขาด  :o เป็นไปได้ไงเนี่ย


  ใครรู้ช่วยอธิบายทีคับ งง  ::)

คือว่า เท่าที่ผมลองใช้ R หลายๆค่าทดสอบดู (150 , 120 , 100 , 80 , 75) สรุปได้ว่า ยิ่ง R มาก ยิ่งสว่างน้อยลง ผมเลยใช้ค่านี้มาตลอดครับ ใช้มาหลายเดือนแล้วครับ เพราะค่านี้ได้สว่างมากที่สุดครับ แต่ก็ยังไม่ได้ลองน้อยกว่านี้เลยครับ คิดว่า น่าจะได้ประมาณ ที่ 45-70

มีปัญหาที่ไม่เข้าใจอยู่และยังหาคำตอบไม่ได้คือว่า ในไฟเก๋ง ผมใช้ R ขนาด 1/4 ต่อกับ 25 หลอด ตัวต้านทานยังใช้ได้อยู่ดีถึงทุกวันนี้ แต่พอทำไฟหน้าปัทม์ ใช้เพียงแค่ 2 หลอด ใช้ได้คืนเดียว ตัวต้านทานไหม้ ทั้งๆที่ใช้ LED น้อยกว่ากันมาก โหลด ก็น่าจะน้อยกว่า แต่ไม่เข้าใจว่า ทำไม ตัวต้านทาน ถึงทนไม่ไหว จนไหม้ได้ และทุกๆวงจรผมจะต่อเหมือนกันหมด คือต่อ ไฟ 12 ผ่าน R ก่อนเพื่อลดแรงดัน จากนั้นก็ต่อ ขนาน LED ทั้งหมด จะกี่หลอด ก็ต่อเหมือนกันหมด

 ตอนนี้เลยเปลี่ยน เป็น แบบ 1W แล้ว รู้สึกว่า ความร้อนน้อยกว่า ขนาด 1/4 W หรืออาจเป็น เพราะไฟเก๋ง ใช้นานไม่พอทำให้ ตัวต้านทานร้อนจนไหม้ก็เป็นได้ครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: jj26621 ที่ 03 กุมภาพันธ์ 2010, 12:32:40
 :)เดี๋ยววันนี้จะลองทำดูบ้างทั้งแบบ 75 โอมห์ 1 วัตต์ กับแบบคำณวนตกคร่อมทำทัง้ 2 แบบเลยครับ แล้วจะมารายงานผลครับ ;D


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 04 กุมภาพันธ์ 2010, 08:29:39
ตอนนี้ผมเปลี่ยนตัวต้านทาน เป็น 1 วัตต์หมดแล้วครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: pop_2008 ที่ 06 กุมภาพันธ์ 2010, 15:14:25
อ่านแล้วงงครับ สรุปให้หน่อย ผมใช้หลอดLEDดวงล่ะ10 สองดวง
เอาไปต่อพวงกับไฟเพดาน มันจะมีผลไหมครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 08 กุมภาพันธ์ 2010, 08:18:44
อ่านแล้วงงครับ สรุปให้หน่อย ผมใช้หลอดLEDดวงล่ะ10 สองดวง
เอาไปต่อพวงกับไฟเพดาน มันจะมีผลไหมครับ

จะเอาไฟส่องทะเบียนไปพ่วงกับไฟเพดานเหรอครับ มันจะยังไงอยู่นะครับ งงนิดหน่อย ต้องการทำอย่างไรดีคับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: su_wit ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2010, 08:46:57
ของผมมันช๊อตนะพี่ ขอคำแนะนำด้วยครับ ใช้ R 1 W 82 โอมห์ ทำเหมือนไฟในห้องโดยสารและส่องเท้าติดก็ไมมีปัญหา แต่พอมาทำเป็นไฟส่องป้ายทะเบียน ทำไมมันช๊อตหลอดขาด หรือว่าต้องใช้ R ขนาดเท่าไหร่ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: cyu ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2010, 08:28:59
ของผมมันช๊อตนะพี่ ขอคำแนะนำด้วยครับ ใช้ R 1 W 82 โอมห์ ทำเหมือนไฟในห้องโดยสารและส่องเท้าติดก็ไมมีปัญหา แต่พอมาทำเป็นไฟส่องป้ายทะเบียน ทำไมมันช๊อตหลอดขาด หรือว่าต้องใช้ R ขนาดเท่าไหร่ ขอบคุณครับ

มันช็อตเป็นไปได้ที่วงจรมันลัดวงจรรึป่าวครับ ถ้ามันหลอดไหม้จนหลอดขาดเนี่ย แสดงว่า แรงดันไฟฟ้า มันสูงเกินกว่าที่ LED จะรับได้ครับ เป็นไปได้ว่า แรงดันไฟไม่ได้ผ่าน R ก่อน เป็อไปได้ว่า มันอาจลัดวงจรมาทางอื่นได้ ทำให้มันช็อตได้ครับ ปัญหาที่ 2 ที่ผมเจอก็คือ จุดที่เราบัดกรี ด้าน หลังปริี้น มันไปสัมผัสกับตัวถังรถครับ ทำให้ไฟลัดวงจร กรณีนี้ของผมจะตัวต้านทานไหม้จนดับไปเลยครับ ลองไล่ดูวงจรดีๆครับ ผมก็เคย เป็นแบบนี้หลายครั้งครับ ตอนหัดทำใหม่ๆ จนเดี่ยวนี้ก่อนติดตั้งจริงทุกครั้งผมต้องตรวจสอบวงจรไล่ดูก่อนทุกครั้งครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: su_wit ที่ 26 กุมภาพันธ์ 2010, 09:02:38
จะลองดูอีกครั้งครับ ขอบคุณครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Oom043 ที่ 31 มีนาคม 2010, 09:14:50
ใช้ SMD สบายกว่าเยอะเลย


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: jackie13 ที่ 01 เมษายน 2010, 13:50:26
สวยดีครับ


หัวข้อ: Re: D.I.Y. ไฟส่องทะเบียน LED EK
เริ่มหัวข้อโดย: Miximum ที่ 09 เมษายน 2010, 00:40:31
ทำไมใช้ 75 โอมห์อะคับ Vตกคล่อม ตั้ง 10.5 V. ไม่น่าเชื่อว่าหลอดจะไม่ขาด  :o เป็นไปได้ไงเนี่ย


  ใครรู้ช่วยอธิบายทีคับ งง  ::)
 
  แต่ผมว่าควรต่อตาม Vตกคล่อม แต่ละสีจะดีกว่านะคับหลอดจะอยู่ได้นานที่สำคัญสีออกมาจะไม่เพี้ยน

  ตามตารางคับ Vตกคล่อมของแต่ละสี ความต่างศักดิ์ ของแต่ละสีไม่เท่ากันขอให้สนุกกับ DIY นะคับ

ขออธิบายครับ โดยปกติการต่อ R อนุกรมนั้นจะเป็นการควบคุมกระแสที่ไหลผ่านวงจร (พูดง่ายๆ คือกระแสของ LED) ถ้าแรงดันตกคร่อม R เป็น 10.5V, R มีค่า = 75 ohm แปลว่ากระแสที่ไหลผ่านLED และ R เป็น 10.5/75 = 140 mA
ฉะนั้น ถ้าเพิ่มค่า R จะเท่ากับเป็นการลดกระแสของ LED ทำให้LED สว่างน้อยลงนั่นเอง แต่ถ้าใช้ค่าน้อยเกินไป ทำให้กระแสไหลผ่าน LED มากเกินไป ส่งผลให้อายุของ LED สั้นลง ถ้าน้อยมากอาจทำให้ LED ไหม้