หัวข้อ: capa 2.0 ของเครื่องเสียง เริ่มหัวข้อโดย: valio ที่ 22 พฤศจิกายน 2009, 21:00:17 capa 2.0ของเครื่องเสียง
พอดีถอดเครืองเสียงออก เหลือแต่ capa ที่ยังไม่ได้ถอด เลยอยากรู้ว่า ถ้าไม่ได้ใช้เครื่องเสียงแล้ว ตัว capa มันยังมีประโยคกับรถ ไหม หัวข้อ: Re: capa 2.0 ของเครื่องเสียง เริ่มหัวข้อโดย: Octillion ที่ 22 พฤศจิกายน 2009, 23:10:43 แทบจะไม่มีประโยชน์ครับ
หัวข้อ: Re: capa 2.0 ของเครื่องเสียง เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 23 พฤศจิกายน 2009, 11:38:04 หน้าที่มัน สำรองไฟให้ power amp นิคับ เวลาเบสมาหนักๆ ว่าไปแล้วมันก็เหมือน โวลท์เตทสแตบิลิตี้ ตัวนึงแต่มันมีแค่าค่าความถี่เดี่ยวไม่ครอบคลุม เหมือนเจ้า โวลท์เตทสแตบิลิตี้ แต่ถ้าเรื่องเก็บไฟได้เยอะต้องยกให้ ตัวมันใหญ่ เหลือเกิน
หัวข้อ: Re: capa 2.0 ของเครื่องเสียง เริ่มหัวข้อโดย: srithanon ที่ 23 พฤศจิกายน 2009, 13:51:17 ต่อคำถามที่บอกว่าต่อตัว Capacitor ไว้สำหรับเล่นกับแอมป์เครื่องเสียง ตอนนี้ไม่ได้ใช้แล้ว หากไม่เอาออกมันจะมีประโยชน์กับรถไหม ก็ขอตอบว่ามีประโยชน์ครับ ไม่ต้องเอาออกก็ได้ เพราะว่าเจ้าตัว คาปาซิเตอร์ที่ว่านี้ทำหน้าที่เก็บพลังงานไฟฟ้า ที่มันไดรับกระแสที่ถูกชาร์ทหรือป้อนให้มันในช่วงแรก หรือในช่วงบวกของกระแสไฟ มันจะเก็บพลังงานที่ได้นี้ไว้ จนกว่าพลังงานไฟฟ้าที่ถูกสะสมอยู่ที่ตัวแบ็ตเตอรี่ถูกใช้ไปกับโหลดที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้กระแสของเพาเวอร์แอมป์ของชุดเครื่องเสียง หรือโหลดที่มีการใช้กระแสไฟอย่างมากเช่นมอเตอร์สตาร์ทรถยนต์ สิ่งเหล่านี้ทำให้โวลเต็จที่ถูกเก็บไว้ในตัวแบ็ตเตอรี่ลดลง อันมีผลไห้พลังงานไฟฟ้าที่ถูกเก็บไว้ในตัวคาปาซิเตอร์ ทำการดิสชาร์ท จ่ายกระแสไฟออกมาช่วยเพิ่มพลังงานไฟฟ้าที่ถูกเก็บในตัวแบ็ตเตอรี่ ให้มีพลังงานเพิ่มขึ้น จะมากหรือน้อยอยู่ที่ค่าความจุของตัวคาปาซิเตอร์ หากมีความจุมากหลายๆฟาราด ก็จะยิ่งช่วยให้กระแสไฟมีปริมาณมากขึ้น ทำให้โวลเต็จไม่ตกลงมา จาก 12 Volt ในกรณีใช้กระแสไฟมากๆ เช่น ในตัวเครื่องเพาเวอร์แอมป์ที่มีกำลังขยายเป็นพันๆวัตต์ ต้องใช้กระแสมาก อาจจะมากถึงสามสี่สิบแอมป์ก็ได้ ขึ้นอยู่กับเพาเวอร์แอมป์ที่ใช้ การที่เพาเวอร์แอมป์ใช้กระแสไฟมากๆ โดยเฉพาะที่ความถี่ของสัญญาณเสียงต่ำๆ หรือพวกเสียงเบส ทำให้เพาเวอร์แอมป์กินกระแสไฟมาก หากไม่มีเจ้าตัวคาปาซิเตอร์เข้ามาต่อขนานกับแบ็ตเตอร์รี่แล้ว จะทำให้โวลเต็จที่มาจากแบ็ตเตอรี่มีโวลเต็จลดลง การที่โวลเต็จลดลงทำให้อัตราการขยายของสัญญาณเสียงที่ความถี่ต่ำในขณะนั้น เกิดการดิสตอร์ชั่นของสัญญาณเสียง
เพราะว่า การที่วิศวกรที่ออกแบบวงจรเครื่องขยายเสียง โดยเฉพาะที่ภาคเพาเวอร์แอมป์ จะถูกออกแบบให้ใช้โวลเต็จ + Vcc ที่ 12-13.5 Volt หากโวลเต็จลดลงเหลือ 6-7 Volt มันจะทำให้การทำงานของวงจรขยายสัญญาณเสียง ทำงานมีการขยายลดลง ทำให้สัญญาณอินพุทของเครื่องขยายเสียงหรือเพาเวอร์แอมป์ ที่มีความแรงของสัญญาณในรูปของไซน์เวฟ ที่มีขนาดความแรงของสัญญาณ คงที่จากชุดปรีแอมป์ ประมาณ สองสามร้อยมิลลิโวลท์ ถึง สองโวลท์ พีคทูพีค เมื่อมาเข้าภาคขยายสัญญาณให้มีความแรงเพิ่มขึ้น ทำให้ยอดของสัญญาณคลื่นความถี่เสียง ถูกตัดยอดของสัญญาณหรือในภาษาอีเลคโทรนิคส์ เรียกว่ายอดของสัญญาณเสียงถูกคลิปไป ทำให้เสียงออกมาบี้ๆ ขาดๆ เพราะภาคขยายสัญญาณมีอัตราการขยายต่ำเพราะโวลเต็จที่แบ็ตตกลงอันมาจากการใช้กระแสไฟจำนวนมากในขณะนั้น เขาจึงใช้คุณสมบัติของตัวคาปาซิเตอร์ เข้ามาต่อขนานกับแบ็ตเพื่อแก้อาการที่กล่าวมานี้ จากหลักการดังกล่าว หากไม่เอาตัวคาปาวิเตอร์ออก มันยังจะช่วยในการเพิ่มพลังงานให้กับแบ็ตเตอรี่ ในขณะที่เราทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ จะทำให้การสตาร์ทเครื่องติดง่ายๆขึ้น เพราะโวลเต็จไม่ค่อยตกลงมา (ต้องมีคาปาซิเตอร์ที่มีความจุมากๆถึงจะเห็นผล) อย่าลืมว่าในขณะที่ทำการสตาร์ทเครื่องยนต์ เจ้าตัวมอเตอร์สตาร์ท(บางท่านเรียกไดน์สตาร์ทเป็นการเรียกที่ผิดครับ) ใช้กระแสไฟจำนวนมาก ทำให้ไฟตกลง ยังมีผลไปถึงระบบจุดระเบิดที่ผลิดไฟโวลท์เต็จสูงที่ตัวอินิชั่นคอย มีไฟลดลง ทำให้สตาร์ทติดอยากขึ้น จะเห็นว่ามีผลกระทบหลายถาคส่วน จึงอยากจะสรุปว่ามันมีประโยชน์มากกว่าไม่ใช้ครับ ......srithanon หัวข้อ: Re: capa 2.0 ของเครื่องเสียง เริ่มหัวข้อโดย: Drager ที่ 24 พฤศจิกายน 2009, 12:12:57 ^
^ ^ :-* คนนี้รู้จิง คับ ยกนิ้วให้ :D |