หัวข้อ: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 13:58:27 อ่านกันหน่อยนะ ช่วยวิจารณ์ด้วย ว่าคิดยังไงบ้าง ทนอ่านหน่อยนะคราบบ วัยรุ่น
เมื่อมีรัก ทุกคนคงเคยพร่ำถามตัวเองว่า ความรักมันเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงต้องเป็น เขา/เธอคนนี้ ทำไมเรารู้สึกแปลกๆ หัวใจเต้นแรง หน้าแดง มือเปียก พวกแนวศิลปิน อาจบอกว่ารักเป็นเรื่องของอารมณ์ล้วนๆ เหตุผลไม่เกี่ยว รักมีทั้งความรันทดและความงด งาม รักเป็นเรื่องที่โรแมนติกเกินกว่าจะพรรณนา สำหรับพวกแนวเหนือธรรมชาติจะเชื่อว่า เนื้อคู่ของเราถูกกำหนดมาแล้ว จะต้องตามหาคนที่มีด้ายแดงผูกนิ้วก้อยให้เจอ บ้างก็ว่ารัก เกิดจากกรรมเก่า มีการตามมารักมาเลิกกันเป็นชาติๆ ไป การรักใครสักคนอาจจะเป็นเพราะ โดนสาป ไสยศาสตร์เท่านั้นที่ช่วยได้ ในขณะที่นักวิทยาศาสตร์ก็มีคำอธิบายที่ฉีกทั้งสอง แนวนี้ออกไป ซึ่งแม้ว่าจะฟังแล้วไม่ได้อารมณ์ ไม่โรแมนติก และไม่ลี้ลับเท่า แต่สิ่งที่นัก วิทยาศาสตร์กำลังจะบอกเรานี้ ล้วนแต่เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในตัวเรา โดยมีเราเป็นผู้กระทำทั้งสิ้น หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:00:01 ทฤษฎี ?รัก 3 ตอน?
ก่อน จะรู้จักความรักในบทที่ลึกเข้าไปถึงสมองและอวัยวะภายในร่างกาย มาทำความรู้จักกับทฤษฎีรัก 3 ตอน ของ ดร.เฮเลน ฟิชเชอร์ แห่งมหาวิทยาลัยรุทเจอรส์ (Rutgers University) ในนิวเจอร์ซี กันก่อนดีกว่า ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า ห้วงความรักของคนเราแบ่งเป็น 3 ตอน โดยจะมีฮอร์โมนที่แตกต่างกันมาร่วมแสดงบทบาทในแต่ละตอน หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:01:42 ตอนที่ 1 ช่วงเกิดตัณหา
ตัณหาราคะถูกขับโดยฮอร์โมนเพศ 2 ตัว คือ เทสโทสเทอโรน (Testosterone) และ เอสโตรเจน (Oestrogen) เทสโทสเทอโรนเป็นฮอร์โมนที่ไม่ได้พบเฉพาะในผู้ชายเท่า นั้น ผู้หญิงก็มีเช่นกัน ดร.ฟิชเชอร์บอกว่า เจ้าฮอร์โมนเพศสองตัวนี้เอง ที่ช่วยควบคุมอาการ อยากได้โน่น อยากได้นี่ ของเรา หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: beer4353 ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:03:07 มันมาแบบ กระปิด กระปอย สงสัยก๊อปเขามาโพส :-[
ปกติ มาดามไม่ค่อยมีสาระแบบนี้ มีโอกาสเป็นไปได้สูง :-\ หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: beer4353 ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:05:12 ดร.ฟิชเซอร์ที่ว่า คือคนนี้นี่เอง เด๋วคนอื่นนึกหน้าไม่ออก ช่วยๆ :-*
หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:06:37 ตอนที่ 2 ช่วงคลั่งรัก[/size]
เป็น ช่วงที่ทำให้ชีวิตเราผิดเพี้ยนไป ไม่รับรู้ ไม่สนใจสิ่งรอบกาย ไม่กิน ไม่นอน เอาแต่นั่ง ฝัน เพ้อ ละเมอถึงคนรัก อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงนี้ ถูกควบคุมโดยกลุ่มสารสื่อ ประสาทที่เรียกว่า โมโนอะมิเนส (Monoamines) ซึ่งประกอบด้วย - โดพามีน (Dopamine) เป็นสารเคมีที่ช่วยให้สมองตื่นตัว เช่นเดียวกับนิโคตีนและโคเคอีน - นอร์เอพิเนฟรีน (Norepinephrine) หรือรู้จักกันในนามของ อะดรีนาลิน (Adrenalin) ที่เป็นตัวการทำให้เราเหงื่อแตกและหัวใจเต้นรัวยามตื่นเต้น - เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา..เพราะรัก หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:10:37 ตอนที่ 3 ช่วงผูกพัน
ไม่ มีใครที่จะทำตัวคลั่งรักได้ตลอดชีวิต เมื่อผ่านพ้นไปช่วงเวลาหนึ่ง ถ้าไม่โบกมือลากันไป เสียก่อน คู่รักก็จะฉุดกระชากลากจูงกันเดินมาสู่ช่วงแห่งความผูกพัน ในตอนนี้จะว่าด้วยการตกลงปลงใจที่จะใช้ชีวิตคู่และสร้างครอบครัว ฮอร์โมนสองตัวสำคัญคือ - ออกซีโทซิน (Oxytocin) จากต่อมไฮโปธาลามัส (Hypothalamus) ซึ่งช่วยกระตุ้นให้เกิดการขับน้ำนมและเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างมารดาและ ทารก โดยมีการพบว่าออกซีโทซินจะถูกขับออกมาเมื่อชายหญิงมีความสัมพันธ์ทางเพศที่ ลึกซึ้ง ทฤษฎีบอกไว้ว่ายิ่งชายหญิงมีความสัมพันธ์กันลึกซึ้งแค่ไหน ความผูกพันก็มีมากขึ้นเท่านั้น - วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วง ชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: NEO ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:17:33 มีอีกเยอะนะ แต่ค่อย เอามาให้อ่านอีก เด๊ยวจะเบื่ออ่านกัน
อ่านแล้วช่วยวิจารณ์กันหน่อย ว่าคิดยังไงกันบ้าง เคยเป็บแบบบทความนี้กันบ้างมั้ย ;) ;) ที่มา >>> +http://fairway.exteen.com/20090624/entry หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: beer4353 ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:17:49 ดูมีสาระเกินไป เชื่อว่าหลายคน อาจจะไม่มีเวลาอ่าน
สรุปใจความออกมาได้ก็ คือ มาดาม ต้องการจะบอกว่า เขามี สาร - เซโรโทนิน (Serotonin) หนึ่งในสารสำคัญที่ทำให้เราเกิดอาการ...ซึม..เศร้า..เหงา.. มากเกินไป เพราะโดนใช้ให้ผัดข้าว ตลอดเวลา เข้าใจถูกป่าวหว่า? :-[ หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: neat_boy? ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:25:46 ดร.ฟิชเซอร์ที่ว่า คือคนนี้นี่เอง เด๋วคนอื่นนึกหน้าไม่ออก ช่วยๆ :-* ดร.ฟิชเซอร์ของซ้อเบียร์ไม่น่าจะใช่นักวิทยาศาตร์ น่าจะเป็นนักกามศาสตร์มากกว่า.. :-X ส่วนกระทู้ของมาดามอ่านแค่ 3 บรรทัดแรก ต้องไปห้องพยาบาลขอพาราเซตมา 2 แผง :-[ หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: Aod61 : มิสซิสซิปปี้ ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:33:45 ดร.ฟิชเซอร์ของซ้อเบียร์ไม่น่าจะใช่นักวิทยาศาตร์ น่าจะเป็นนักกามศาสตร์มากกว่า.. :-X ส่วนกระทู้ของมาดามอ่านแค่ 3 บรรทัดแรก ต้องไปห้องพยาบาลขอพาราเซตมา 2 แผง :-[ ทำไม ไม่ใช่ไทลลินอล ::) หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: neat_boy? ที่ 24 มิถุนายน 2009, 14:37:24 ทำไม ไม่ใช่ไทลลินอล ::) คราวก่อนบอกพยาบาลไปว่าขอไทลินอล ..พยาบาลจ่ายไวอากร้าให้ซะงั้น หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: hodo_ebola ที่ 24 มิถุนายน 2009, 15:28:15 - วาโซเพรสซิน (Vasopressin) สารสำคัญอีกตัวหนึ่งที่เป็นตัวรักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย จะถูกขับออกมาเมื่อร่างกายขาดน้ำ ความตึงเครียดสูง ความดันเลือดสูง หรือเมื่อคู่รักมีความสัมพันธ์ทางเพศ นักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งพยายามทำการศึกษาถึงฤทธิ์เดชของวาโซเพรสซิน โดยหลังจากที่พวกเขาได้ฟังตำนานรักของหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี (Prairie vole) ซึ่งเป็นหนึ่งในร้อยละ 3 ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่จับคู่อยู่กินกันแบบผัวเดียวเมียเดียวตลอดช่วง ชีวิต (Monogamous) ที่มีว่า ถ้าคู่ของพวกมันตาย อีกตัวก็จะตรอมใจตายตามไปในไม่ช้า โดยไม่คิดจะมีใหม่ ด้วยจิตริษยาต่อหนูแห่งทุ่งหญ้าแพรรี่ที่ถือและปฏิบัติตามศีลข้อสาม ห้ามผิดลูกผิดเมียเขาอย่างเคร่งครัด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ทำการให้ยาที่ลดปฏิกริยาของวาโซเพรสซินในหนูตัวผู้ ปรากฏว่าหนูตัวผู้ตัวนั้นไม่ถึงกับศีลแตก แต่เริ่มมีอาการเย็นชา ห่างเหินคู่รัก และไม่แสดงอาการหึงหวงเมื่อมีหนูหนุ่มตัวอื่นๆ เข้ามาตีท้ายครัวเลยสักนิด หลังจบปฏิบัติการสร้างความร้าวฉานแล้ว พวกเขาก็ได้ข้อสรุปมาให้ชาวโลกชื่นใจว่า ถ้าขาดวาโซเพรสซินเมื่อไร ก็ให้เตรียมพร้อมรับมือหายนะที่กำลังจะมาสู่ครอบครัวได้เลย
[/quote]ชอบๆ หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: daengnui ที่ 27 มิถุนายน 2009, 20:12:52 เป็นงานเป็นการเกินไปป่าวเนี่ย
:P :P :P :P :P :P :P :P หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: s_kungten ที่ 27 มิถุนายน 2009, 20:20:57 :-[ ยาวมากๆ
หัวข้อ: Re: วิทยาศาสตร์ของความรัก เริ่มหัวข้อโดย: kingkong88 ที่ 27 มิถุนายน 2009, 21:39:32 ตก วิทยาศาสตร์ ครับ
|