:::CIVIC CLUB THAILAND:::

คุยคุ้ย Civic => Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ => ข้อความที่เริ่มโดย: chaowarat191 ที่ 21 มีนาคม 2012, 16:52:09



หัวข้อ: เลือกใช้รถผิดประเภท
เริ่มหัวข้อโดย: chaowarat191 ที่ 21 มีนาคม 2012, 16:52:09
ขับบนทางเรียบ ไม่บรรทุกของ แต่ซื้อปิกอัพ แล้วบ่นว่าแข็ง ซื้อออฟโรดคันโต แต่ทะยานทางเรียบตลอด แล้วบ่นว่ากินน้ำมันและโคลง ผู้หญิงตัวเล็ก ซื้อรถคันโต ชะเง้อมองตลอด หรือซื้อออฟโรด เพราะดูเท่ ทั้งที่ไม่ได้ลุยเลย หวังจะบรรทุกของบรรทุกคนมากๆ ขับมินิแวน แต่ได้ใช้เต็มที่ปีละครั้งสองครั้ง ชอบรถมีประตูที่ 5 และพับเบาะหลังได้ แต่บรรทุกของจิ๊บจ๊อย ซีดานก็ใส่พอ การใช้รถผิดประเภทของคนไทยเกิดขึ้นมานานในวงกว้าง และไม่มีแนวโน้มที่จะถดถอยลงเลย เงินของใครๆ ก็มีสิทธิ์จ่ายแต่ก็ควรไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนตัด สินใจซื้อ มีได้ก็ต้องมีเสีย มีเด่นก็ต้องมีด้อย ซื้อเพราะความชอบ เพราะคิดว่าเหมาะสมสำหรับตนเอง ไม่เคยคิดว่ากำลังใช้รถผิดประเภท เพราะขับแล้วก็ปกติดี จนมองข้ามจุดด้อยหรือสิ่งที่ควรระวัง ผมเป็นสื่อมวลชนไทยคนหนึ่งในไม่กี่คน ที่เขียนบทความไม่สนับ สนุนให้ใช้รถยนต์ผิดประเภทโดยไม่จำเป็นมาหลายครั้งต่อเนื่องกันมาหลายปี เช่น ไม่บรรทุกก็ไม่ควรซื้อปิกอัพ ไม่จำเป็นต้องลุยก็ไม่ต้องขับ 4 ล้อ ฯลฯ โดยมีการตอบรับในแง่ดี และการต่อต้านของผู้อ่านคละเคล้ากัน ไม่นานมานี้ มีบทความในนิตยสารรถยนต์รายเดือนเล่มหนึ่ง เป็นเรื่องราวของการไม่สนับสนุนให้ใช้รถผิดประเภท เนื้อหามีความชัดเจน ถูก ต้องตามหลักวิชาการ และผู้เขียนก็เป็นบุคคลที่มีความรู้ด้านวิศวกรรมยาน ยนต์โดยรวมที่ดีมาก เป็นทั้งผู้บริหารในสถาบันการศึกษาชื่อดัง และมีกิจการศูนย์บริการรถระดับมาตรฐาน นับเป็นบุคคลที่มีความรู้ด้านนี้โดย ตรงและถูกต้องหนึ่งในไม่กี่คนของเมืองไทย ผมไม่ได้รู้จักเป็นการส่วนตัวกับผู้ที่เขียนบทความนั้นหรอกครับ แต่ชื่นชมผลงานมานานแล้ว และเห็นด้วยกับบทความนั้นอย่างยิ่ง รวมถึงบังเอิญได้เห็นการยกบทความนั้นมาเป็นกระทู้หนึ่งในสังคมรถในอินเตอร์เน็ตซึ่งคึกคักที่สุดในไทย www.pantip.com/caf/ratchada ในกระทู้ http://www.pantip.com/cafe/ratchada/topic/V2054020/V2054020.html มีคนเข้ามาแสดงความคิดเห็นในกระทู้ ที่มีบทความไม่สนับสนุนการใช้รถผิดประเภท เกินกว่า 100 ความคิดเห็น มีคนเข้ามาอ่านนับพันคน เกือบทุกความคิดเห็นเป็นการต่อต้านบทความ ยกแม่น้ำทั้งห้ามาแย้งว่า ไม่เห็นจะเป็นการใช้รถผิดประเภทเลย เพราะก็เห็นมีความสุขดี ไม่ผิดปกติใดๆ และผมได้เห็นความคับแคบในจิตใจของหลายคนไทย ซึ่งแทนที่จะใช้บทความนั้นกระตุ้นเตือนตนเอง กลับสวนว่า ผู้เขียนบทความมายุ่งอะไรกับเงินและการตัดสินใจของเขา เขาจะซื้อรถอะไรมาขับในรูปแบบใด จะมาวุ่นวายกับเขาทำไม เขาชอบซะอย่าง ผมอ่านแล้วก็หดหู่กับความคิดเห็นเหล่านั้นมากครับ ทำไมมีการเตือนสติด้วยความตั้งใจที่ดีแล้วกลับต้องถูกด่า ผมเองหรือใครๆ ที่เขียนบทความ จัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือแม้แต่คนรู้จักเตือนกันเอง กับการไม่สนับสนุนการใช้รถผิดประเภท แท้จริงแล้วไม่มีสิทธิ์ห้ามใครจ่ายเงินซื้อสินค้าใดๆหรอกครับล้วนทำได้แค่แนะนำสิ่งที่ดี สำหรับการตัดสินใจเท่านั้น ไม่ใช่เป็นการยุ่งหรือแส่เรื่องของคนอื่นแต่อย่างไร โดยเฉพาะผมเอง นักเขียน หรือสื่อมวลชนอื่น ล้วนมีหน้าที่เป็นสื่อของมวลชน ต้องนำเสนอสิ่งที่ดีแก่มวลชน ส่วนมวลชนจะคิดว่าเป็นสิ่งที่ดีจริงหรือไม่ดี ก็แล้วแต่การตัดสินใจของตนเอง ผมยืนยันตามอาชีพว่า ผมมีหน้าที่นำเสนอสิ่งที่ดีให้กับมวลชน แต่มวลชนจะรับไปเป็นสิ่งที่ดีสำหรับตนเองหรือไม่ ก็เป็นเรื่องส่วนตัวครับ

มีเด่นต้องมีด้อย ผิดประเภทก็ขับได้ แต่อย่าหลงผิด ซื้อรถมาใช้งานผิดประเภท ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกของคนทั่วไป เพราะก็เห็นกันเกลื่อนถนน จนแห่ซื้อตามๆ กัน ขับแล้วก็ไม่เห็นผิดปกติ ไม่เห็น คว่ำ ไม่เห็นเอาหลังคาลงพื้น ใช้งานกันเต็มบ้านเต็มเมือง ในอีกมุมก็อย่ามองข้ามความขมขื่นของผู้ใช้ หรือการบังคับควบ คุมที่หวาดเสียว หลุดหรือตกถนนไปเท่าไร ! เพราะเห็นการใช้รถผิดประเภทกันเต็มถนน จนเป็นเรื่องปกติ จึงเป็นที่มาของแนวโน้มที่จะมีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง ผมไม่ได้ห้าม ไม่ได้มีสิทธิ์ใช้คำว่า"อย่า" ใช้รถผิดประเภท (แม้จะหลุดไปบ้างในบางประโยคบางบทความ เพราะความไหลลื่นของภาษา) ดังนั้นอ่านบทความแล้วก็อย่าต่อต้านเพียงด้านเดียวถ้าพบว่ามีอะไร ดีๆ แทรกอยู่ในบทความบ้าง ก็เก็บไปใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตเถอะครับ อยากเน้นว่า การใช้รถผิดประเภท เป็นเรื่องสิทธิส่วนตัว แต่อย่าเข้าใจผิดว่าจะไม่มีข้อเสียเลย และอย่าชะล่าใจในการใช้งานจนเป็นต้นเหตุของอุบัติเหตุ เช่น รถออฟโรดหรือเอสยูวี ดูแกร่ง สูง น่าจะทนทาน หลายคนซื้อ โดยคิดไปเองว่าเหมาะกับการเดินทางไกลด้วยความเร็วสูงๆ เพราะถนนเมือง ไทยแย่ และเมื่อสูงแล้วจึงมองได้ไกล ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายการวิจัยพบว่า รถประเภทนี้กับการเดินทางไกลด้วยความเร็วสูง จะมีประสิทธิภาพในการบังคับควบคุมรวมถึงการหลบหลีกอุบัติเหตุ แย่กว่ารถเก๋งระดับเดียวกัน เพราะน้ำหนัก และความสูง รถประเภทนี้มีความด้อยในการเดินทางไกล แต่คนไทยกลับซื้อมาเพราะคิดว่าเดินทางไกลแล้วดีกว่ารถเก๋ง ปิกอัพ กลายเป็นรถอเนกประสงค์สำหรับคนไทย แข่งขันกันดุเดือด เครื่องยนต์แรง ทะยานได้ 150 กม./ชม. เป็นเรื่องปกติ จนหลายคนลืมไป ว่า จะควบคุมยากกว่ารถเก๋ง เบรกและการหลบหลีกก็แย่กว่า ห้องโดยสารสารพัดชื่อ CAB บริษัทรถล้วนบอกว่า มีไว้ให้ใส่ของ ไม่ใช่มีไว้ให้คน นั่ง แต่ก็ปากว่าตาขยิบ ทุกโชว์รูมแถมเบาะนั่งมาให้เสมือนเป็นอุปกรณ์มาตรฐาน นั่งได้จริง ไม่อุดอู้มาก แต่ในเมื่อไม่ได้เกิดมาให้คนนั่ง ในส่วน นั้นก็ไม่มีเข็มขัดนิรภัย ! ไม่มีการทดสอบการชนโดยใช้หุ่นทดสอบ ไม่มีการวิเคราะห์ความเสียหายเมื่อเกิดการชนเมื่อส่วน CAB มีคนนั่ง ทั้งที่ในการใช้งานจริงถ้าชนแรงๆ ก็มักเห็นว่า ไม่ตายก็เจ็บหนัก จุดด้อยของการใช้รถผิดประเภท อ่านแล้วจะได้ไม่เรียกร้องไม่บ่นกันว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ รถปิกอัพเกิดมาเพื่อบรรทุก ใช้แหนบแข็งเพื่อให้บรรทุกได้ 1 ตันหรือเกินกว่านั้นเล็กน้อย จึงมีความกระด้าง ไม่ใช่เพราะเป็นแหนบ แหนบ นิ่มๆ ก็มีทั่วโลก แต่ผู้ผลิตต้องเลือกใส่แหนบแข็งมาให้ เพราะต้องเผื่อให้บรรทุกได้ 1 ตัน แหนบแข็ง แต่โช้กอัพราคาถูก คู่ละไม่กี่ร้อยบาท จึงต้านการเต้นของแหนบขณะดีดตัวไม่ได้ เครื่องยนต์สั่นสะเทือน เสียงดัง แม้บางยี่ห้อจะเงียบลง แต่ก็ไม่เหมือนเบนซิน ยางเกาะถนนแค่พอประมาณ เบรกแค่พอใช้ได้ มีระยะเบรกยาวกว่ารถเก๋ง ห้องโดยสารมี CAB นั่งพอ ได้ แต่ไม่มีความสบายและความปลอดภัยหลังการชนเลย รถออฟโรดหรือเอสยูวี คันโย่ง ขึ้นลงลำบาก มีโอกาสโคลงในความ เร็วสูง ถ้าต้องหลบหลีกอะไร ความสูงก็มีผลด้อย กินน้ำมันเพราะน้ำหนัก และต้านลม ซ่อมแพง เพราะจำนวนผลิตน้อย เสียงลมดังเพราะความสูง มินิแวน หรือสเตชันเวกอน คล้ายรถเก๋ง แต่ไม่เหมือนทั้งหมด อุ้ยอ้าย หนักกินน้ำมัน เพราะต้องแบกน้ำหนักไปตลอด รถคันโต คนไทยหลายคนใช้รถแทนหน้าตาในสังคม ตัวเล็กตัวใหญ่ ถ้ามีเงินมากก็ซื้อรถคันโตมาโก้ได้ สำหรับผู้หญิงตัวเล็กกับรถคันโต นอกจากขังคับควบคุมยากแล้ว หากปรับเบาะนั่งชิดเกินไป ถ้าแอร์แบ็กระเบิดก็อาจถูกเสยคางคอหักได้ น้ำมันเชื้อเพลิงก็เปลืองกับเครื่องยนต์โตๆ แม้จะเป็นเงินส่วนตัว แต่ก็คือเงินของคนไทยที่จะรั่วไหลออกนอกประเทศ น้ำมันดิบเกือบทั้งหมดเป็นการนำเข้า การใช้รถผิดประเภท เพราะความชอบ ความเท่ เป็นสิทธิส่วนบุคคล แต่ไม่ควรมองข้ามจุดด้อย หรือร้ายแรงถึงขนาดมองจุดด้อยกลายเป็นจุดเด่น



ที่มา: ผู้จัดการออนไลน์ ---วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546