ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
08 พฤษภาคม 2024, 01:40:01
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Sound => รอบรู้เรื่องเครื่องเสียง  |  หัวข้อ: คัมภีร์หูทอง 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: คัมภีร์หูทอง  (อ่าน 1991 ครั้ง)
ทอม_อีเค
Gold Member
อาจารย์ปู่
***
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 8,810



« เมื่อ: 27 กรกฎาคม 2009, 10:28:42 »



เหมือนเคยเห็นว่าเคยลงแล้วแต่หาย

ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด ของคนเล่นเครื่องเสียงนั้นคือ การที่ไม่รู้ว่า เสียงที่ดีเป็นอย่างไร ..........

 

 และ นำประสบการณ์มาเล่าสู่กันฟัง อาจจะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะทุกอย่างมันมีการพัฒนา สิ่งที่ผมพูด อาจจะถูกสำหรับวันนี้ แต่อาจจะผิดสำหรับในวันหน้าก็เป็นได้


เสียงที่ดีเป็นอย่างไร ข้อนี้เป็นปัญหามากเลยครับ แทบจะของทุกคนก็เป็นได้ มาว่ากันเลยดีกว่า

เรามาดูจากพื้นฐานที่ว่ากันด้วย องค์ประกอบ ของเสียงที่ดี ที่ผมเคยนำเสนอไปแล้ว ผมจะกล่าวคร่าวๆ  ลองไปอ่านรายละเอียดจากที่นี่ครับ


พิจารณาในเบื้องต้นในระดับสากล  เริ่มจาก

1. เวทีเสียง Sound Stage  ระดับเวทีเสียง อยู่ในระดับไหน เวทีเสียงลอยเต็มกระจกหน้าหรือไม่ เวทีเสียงลอยแล้ว เกิดความเอียง ของเวทีเสียงหรือไม่

2. มิติเสียง Image  คือ โฟกัสของเสียง ความลึก ของเสียงเบส  เสียงนักร้อง ตำแหน่งของชิ้นดนตรี พล่ามัวหรือไม่  ตำแหน่งการติดตั้งมีผลอย่างมาก ในการสร้างมิติเสียง

3. ความคงเส้นคงวา Tonal Balance ไม่ว่าจะฟังเพลงที่ความดังใด รายละเอียดของเสียง ต่างๆจะต้องยังคงอยู่อย่างชัดเจน ไม่ใช่เปิดดัง เสียงแหลมดังแสบหู เปิดเบา แบคกราวน์ หาย เบสหาย

4. เสียงรบกวน Noise จากระบบเครื่องเสียงรถยนต์ของคุณ ที่อาจจะมาจาก การจุดระเบิดของเครื่องยนต์ เสียงกวนวี๊ดๆๆ ฯลฯ


อัน นี้คือเบื้องต้น นะครับในการพิจารณา อาจจะมีอีก แต่ผมกล่าวที่สำคัญๆ ก่อน แต่ผมของทำความเข้าใจก่อนนะคับ เสียงที่ดี ในที่นี้ ผมไม่ได้หมายถึง น้ำเสียง เช่น เสียงหวาน เสียงนุ่ม อันนั้น มันเป็น ความชอบ ความรู้สึก บุคลิกน้ำเสียง ของอุปกรณ์ที่คุณนำมาใช้

 

ต่อไปเราจะมาลง ลึกลงไปอีกว่า  หูทอง ( นักเล่นที่ใส่ใจในรายละเอียด ระดับ Audiophile )   เค้าฟังอะไรกัน เค้าฟังกันอย่างไร แน่นอน เค้าไม่ได้ฟังกันแค่ 4 ข้อที่กล่าวมาแน่ๆๆ

เริ่มที่สุ้มเสียง เสียงที่ดีต้องให้ค่าเฉลี่ยของแต่ละความถี่เสียงมีระดับพอๆ กัน จะต้องมีความดังอยู่ในระดับ หรือ ระนาบ เดียวกันไม่ใช่เสียงแหลมโด่ง เสียงกลางจม เสียงทุ้มตก เสียงของชิ้นดนตรีต่างๆ เราจะสามารถสัมผัสได้(ด้วยหู) โดยที่ไม่นำเสนอ เหมือนกับการยัดเหยียดใส่หูเรา

                 เปรียบเสมือน ทหารยืนเรียงแถวหน้ากระดานคุณสามารถมองเห็นทุกคนได้ เมื่อคุณเอาหูไปสัมผัส (เหมือนหันไปมอง) ไม่ใช่ว่าเสียงใดเสียงหนึ่งจะไม่ยืนล้ำหน้าออกมา เหมือนเป็นการเจตนาให้เราเห็นว่าเสียงนั้น เด่นกว่าเสียง นักเล่นหูทองส่วนใหญ่ จะฟังความราบเรียบ ความต่อเนื่อง ความเป็นดนตรี  ถ้าคุณมีโอกาส ไปลองฟังรถของพวกเค้า คุณจะรู้สึกถึงคำว่าเนียนเป็นอย่างไร เสียงเบสไม่ดังตุ๊บๆๆ แน่นจุกอก แต่มีให้ได้ยิน ให้ได้เห็น เสียงทุกเสียงที่ได้ยิน เป็นเสียงที่ บันทึกมาอย่างไร ฟังอย่างนั้น เพราะนักเล่นหูทอง ส่วนใหญ่ ต้องการเสียงที่มีความเป็นดนตรี ความดิบ ของเสียงสูง คล้ายกับว่า ต้องการรู้จุดประสงค์ของ  Sound Engineering ว่าบันทึกมาอย่างไร ตำแหน่งเสียงอยู่ที่ไหน เวทีเสียงเป็นอย่างไร ระดับความดังอยู่แค่ไหน จริงๆแล้วเสียงเบส ที่เราเปิดกันตุ๊บๆๆ แน่จุกอก นั้น เสียงจริงๆที่ Sound Engineering บันทึกมามันไม่ได้ดังขนาดนั้น เพราะฉนั้น การที่เรามาปรับแต่งเพิ่มระดับสัญญาณเสียง ทำให้ความเป็นดนตรี ความดิบของเสียงมันหายไป


มาลงลึกกันไปอีกหน่อย ว่าถ้าแต่ละย่านความถี่ มันมากไป หรือน้อยไปจะมีผลอย่างไร

เสียงต่ำ ความถี่ต่ำกว่า 50 kHz จะให้แต่ความรู้สึก ถึงการไหลออกมาปะทะตัวเราของเสียงเบส การดิ่งลงพื้นของเสียงเบสไม่ฟุ้งกระจาย ถ้าโด่งมากรายละเอียดจะพล่ามัว ขาดความหยุมหยิม ถ้าขาดไปจะไม่ค่อยรู้สึกอะไรเท่าไหร่ แต่จะฟังเหมือนเบสกระชับขึ้น

(75-150 kHz) เป็นเสียงเบสโดยตรง เป็นเสียงเดินเบสโดยเฉพาะ ที่ 125-150 kHz  ถ้าขาดไปเบสจะหาย ทั้งวงเหมือนขาดจังหวะจะโคน น้ำหนักเสียงหายหมดทุกชิ้นดนตรี เสียงกลางเหมือนถูกโยนออกมาอย่งแบนๆ ไม่มีลำดับตื้น-ลึก ความหวาน ความอบอุ่นหายไป  ถ้ามาเกินไป จะฟังว่าจังหวะถูกเน้น จะไปกระตุ้นการก้องของตู้ลำโพง

 แต่ถ้าที่ 75 kHz  มากไปจะเพิ่มความขุ่นของเสียงทำให้การสั่นค้าง เหมือนมีหมอกฟุ้งตลบในวง เสียงต่ำลึกจะมาถึงหูซ้ายและหูขวาไม่พร้อมกัน หรือฟังแล้วคนละจังหวะ เบสจะหนักแบบไม่มีเรื่องราวรายละเอียด

 
เสียงกลางต่ำ (300-800 kHz) เสียงร้องลงท้องไม่มี ขาดการต่ำเนื่องจากกาลางไปสู่เสียงสูง ทำให้ไม่ประกานกลมกลืน ทรวดทรงชิ้นดนตรีแบน ไม่มีส่วนเว้านูนเป็นก้อนสามมิติ เสียงเบสขาดความฉอเลาะ ความละมุน โรแมนติกของเสียงไม่มี วงดนตรีเหมือนต่างคนต่างเล่น บางทีเบสเหมือนถูกตีโด่ง ทั้งที่จริงๆเบสไม่โด่ง


เสียงปลายแหลมตก (ความถี่ 10 kHz ขึ้นไป ) จะไม่มีเสียงหายใจของตัวโน๊ต คล้ายกับว่า ไม่มีการแตกตัวของอากาศรอบจุดกำเนิดเสียง ไม่ว่าจะเป็นโน๊ต เครื่องดนตรีชนิดใน ถ้าเป็นเสียงร้องจะไม่มีเสียงลมหายใจของคำร้อง ฟังด้านๆ ปลายไม่พริ้ว เสียงเกาของเครื่องดนตรี จะขาดความคมชัดไม่รู้สึกถึงการ กระทบ ของการดีด การกรีด การตี การเคาะ

 
ถ้าเสียงกลางสูงตก เสียงกระแทกจะเหมือนขาดน้ำหนัก เสียงกลองเหมือนเอาผ้าหุ้มหัวไม้ก่อนตี เสียงเปียโนเหมือนสายเปียหุ้มผ้า เสียงแก้วตกแตกกระจายบนพื้นพรมหนาๆ ประกายของเสียงหายไป เสียงร้องจาก ? ก ? เป็น ? ค ? ไม่คมชัด เสียงริมฝีปากไม่ได้ยิน เหมือนร้องโดยริมฝีปากไม่แตะกัน เช่น ? พีเพิ้ล ? เป็น ? อีเอิ้ล ?

 
ถ้าเสียงกลางสูงมากเกินไป จะกลับตรงข้ามกัน อะไรที่หายไปจะเหมือนถูกเน้นขึ้นมาก เสียงร้องถูกกระแทกชัดเหมือนจีบปาก จีบคอ ร้องเพลง ขาดความฉอเลาะ เสียงไวโอลิน เปียโน แข็งกระด้าง น้องร้องเสียงจมูกบี้

 
เสียงกลาง (800-1000 kHz)  ถ้ามากไป เสียงนักร้องจะผอมบาง ขาดน้ำหนัก นักร้องชายเสียงขาดความเป็นแมน เสียงเหมือนกระเทย นักร้องหญิงเสียงจะตีบ เครื่องดนตรีเสียงกระด้างขึ้น เสียงกลองใบใหญ่เหมือนเล็กลง เสียงทั้งหมดบางเหมือนตะโกนผ่านปากแตกโลหะบี้ๆ

ถ้าเสียงแหลมตก  จะเหมือนมีม่านกั้นระหว่างคนฟังกับวงดนตรี เสียงจะแห้งๆ ทึบไม่เปิดโล่ง โปร่ง ไม่มีความกังวาน เหมือนร้องเพลงในตุ่ม

ถ้าเสียงแหลมมากเกินไป  ฟังนานๆ จะเจ็บหู ปวดหู โดยเฉพาะพวก ฮาร์ทโดม จะสังเกต รู้สึก ได้ง่ายมากๆ  เสียงจะเหมือนสาดทิ่มออกมาจนกลบเสียงกลางหมด แม้จะโด่งเกินไปกว่าปกติไม่มาก แต่ก็จะมาแย่งความสนใจของเสียงช่วงอื่นๆได้หมด  ปลายแหลมที่ดี ต้องออกมาอย่างสบายๆ ผ่อนคลาย ไม่สะบัดตัว ? S ? ตัว ? ส ? เสียงต้องสะอาด ไม่พล่า ถ้ามากไปเสียงตัว ? ก ? จะเป็น ก+ง เช่นคำว่า ? กิน ? กลายเป็น? กงิน ?   ตอนแรกที่ฟังอาจจะเหมือนมันชัดดี แต่ฟังดีๆ จะมีเสียงก้องตามมามากเกินไป ฟังแล้วรู้สึก ว่าเสียงมันห้วนๆ


ความเพี้ยนก็มีผลต่อ ความรู้สึกของสุ้มเสียง

อุปกรณ์ หรือ ลำโพง ที่มีการอิ่มตัวมากๆ จนไปพ้นช่วงการทำงานของมัน ทำให้เกิดคลื่นความถี่สูงที่หูไม่ได้ยินรั่วเข้าไปกวน ทำให้ภาคขยายนั้นอิ่มตัวไปล่วงหน้าก่อนเราจะได้ยิน ผลคือคลื่นนั้นมีสภาพเหมือนอิ่มตัวไปด้วย เกิดความเพี้ยนขึ้น ความเพี้ยนในลักษณะนี้ก่อให้เกิด ? ขยะ ? คือกลุ่มของคลื่นความถี่สูงเป็นกี่เท่าๆ ของคลื่นเสียงที่ป้อน ? ขยะความถี่สูงส่วนเกิน ?  แถมฟังแล้วจะเหมือนเสียงแหลมโด่งขึ้นมา แบบดังแผด หูก็จะบอกว่ามันเสียงจัด และถึงขนาดลำโพงควบคุมตัวเองไม่ได้มันจะสั่นค้างไม่หยุด ทำให้เกิดอาการปลายแหลม สะบัด การสะบัด ไม่ใช่ความกังวาน เพราะความกังวานจะมีการจางลงๆ เป็นลำดับแต่การสะบัดจะดังซ้อนกัน 1 ถึง 2 ครั้งแล้วตกวูบหายไป

 
เสียงกลางกลวงโป๋  มี 2 อาการ 2 เหตุ

1. เบสโบ๋กลวงเจือจาง ยิ่งเร่งเบสยิ่งแย่ ไม่มีผลอะไร กลางและแหลมกังวานเด่น เกิดจากสายลำโพงซ้ายกับขวาต่อกลับเฟสกัน ปัญหานี้เราพิสูจน์ได้โดยป้อนเสียง โมโน (FM โมโน)  แล้วเร่งเบส จะสังเกตว่าเสียงจะดังเด่นอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านนึงมัน ทั้งๆที่ บาลานซ์ ซ้ายขวา อยู่ตรงกลาง และพอป้อนด้วยเสียงที่เป็น สเตอริโอ อะไรก็ตามที่อยู่ตรงตำแหน่งกลางระหว่างลำโพงซ้ายกับขวา จะพร่ามันไปหมด นักร้องฟุ้งหาขอบเขตไม่ได้ อาการแบบนี้เกิดจากการกลับเฟส ไม่ใช่เสียงเบสไม่ดี

2. กลางต่ำหาย คือสายไม่ได้รับการหุ้มหรือ ป้องกันที่ดีในรถ เมื่อเราหุ้มสายต่างๆ หรือแยกสายสัญญาณ สายไฟ ไม่ให้แตะกัน เราจะพบว่า เสียงแจ๋น และความกระด้างลดลงเสียงอิ่มผ่อนคลาย เป็นตัวเป็นตนขึ้นทันที


ความสงัด  ความสงัดก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเพิ่มความสด มีชีวิต ชีวา ให้แก่เสียงระหว่างแต่ละตัวโน๊ต คำร้อง นั่นคือ หางเสียงที่กังวานจะต้องจางลงอย่างรวดเร็ว ไม่ใช่ว่ากังวานจนแช่หางเสียงไปเกยกับหัวโน้ตของคำร้องต่อๆมา ชุดที่ดี จะต้องให้ความเงียบระหว่างตัวโน๊ตและคำร้องได้ดีเยี่ยม และน้ำเสียงต้องไม่แห้งด้วย


ความกังวาน  ชุดที่ให้ความกังงานที่ถูกต้องจะต้องแยกแยะเป็น  3 มิติด้วยกัน และวงมีความตื้นลึก เป็นธรรมชาติ

 
ความสะอาดของเสียง  ชุดที่ดีนั้น จะต้องไม่ตีรวนกันเองของเสียง ในขณะที่ ดนตรีโหมหลายชิ้น นักร้องหลายๆคนประสานเสียงพร้อมๆกัน เสียงแต่ละโน๊ต แต่ละเครื่องดนตรี ตีรวนกันเอง เกิดเป็นความถี่แปลกใหม่ในขณะที่มิได้คล้องจองกับรูปแบบเสียงดน ตรีเดิม กลายเป็นส่วนเกินแทรกเข้ามาทำลายความน่าฟังทำให้เกิดความสับสน กลบรายละเอียดหยุมหยิม

 
น้ำเสียง เสน่ห์ที่ ตรึงตราตรึงใจ ก็ตรงนี้แหละครับ คำว่าเสียงหวานที่แท้จริงไม่ใช่หมายถึง เสียงที่อิ่มใหญ่นวลของเสียงกลางอย่างเดียว โดยยอมสูญเสียความเป็นประกายของเสียงไป หรือความโปร่งระยิบระยับของปลายแหลม หรือ เบสที่เฉื่อยบวม เครื่องเสียงบางยี่ห้อ เป็นแบบนั้น แต่คุยว่าเสียงดี ระดับ ไฮเอนด์ เสียงผู้ดีแบบหูทอง


 จริงๆแล้วเกิดจากการที่จะลด Damping Factor (ความสามารถของเครื่องที่จะหยุดคลื่นค้าง) หรือกดการสวิงของเสียง ทำแบบนี้จะได้เสียง ระดับ ไฮเอนด์ แบบหางด้วน ที่จงใจตกแต่งให้เป็น ระดับ ไฮเอนด์ของแท้ ใครฟังไม่เป็นอาจจะหลง โดยเฉพาะมือใหม่ เมื่อเวลาผ่านไป ทุกอย่างเริ่มกระจ่าง หลายคนเลิกเล่นหรือ เบื่อไปเลย


ความหมาย ของคำว่า หวาน ที่ถูกต้องคือ ชุดที่สามารถเก็บรักษา และถ่ายทอดน้ำเสียง ที่ประกอบเป็นแต่ละตัวโน๊ต ได้ครบหมดจดอย่างคงระดับระเบียบลดหลั่นช้าเร็วของแต่ละเสียงที่ ประกอบเป็นน้ำเสียงนั้นได้อย่างถูกต้อง ตามแหล่งกำเนิดเสียงทุกประการ  ขณะที่เสียงร้องออกมาหวานเศร้า เสียงเกาเบสกับเข้มข้นย้ำความเจ็บใจ ตามด้วยทรัมเปตที่กระชากอย่างโหยหวน

ความหวาน ความเข้ม ในเพลงเดียวกัน ไม่ใช่หวานมันทั้งวง หรือ กระโดดเป็นลิง ตลอดการ


ทุกอย่างที่บอกเล่ามา โปรดพิจารณาอย่างทุกแง่ทุกมุม นะคับ เพื่อให้เกิดความชำนาญ


ขอบคุณพี่เล็กนะคับ
บันทึกการเข้า

PATTAYARACING CLUB
CIVICCLUB no.131
ChonburiClub no.034

หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Sound => รอบรู้เรื่องเครื่องเสียง  |  หัวข้อ: คัมภีร์หูทอง
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2009, Simple Machines -->
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |