การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้นด้วยตนเอง และ วิธีการตรวจสอบรถยนต์ก่อนใช้งาน

(1/1)

chaowarat191:
การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้นด้วยตนเอง

การดูแลรักษารถยนต์เบื้องต้นด้วยตนเองอย่างถูกวิธี เพื่อทะนุถนอมอายุการใช้งานรถของท่านให้ยืนยาว
และเป็นการรักษาอายุของท่านเองด้วย เราขอแนะนำข้อปฏิบัติดังต่อไปนี้

รายการที่ควรตรวจเช็ค
1. น้ำหล่อเย็น ควรตรวจเช็คระดับน้ำหล่อเย็นให้อยู่ในระดับ Full อยู่เสมอ โดยตรวจเช็คในขณะที่ดับเครื่องและเครื่องเย็น ถ้าระดับน้ำลดลงเป็นปริมาณมาก ก็อาจ จะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นได้ ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องพิจารณาหาสาเหตุ หรือนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจเช็คสาเหตุ (อย่าลืมเติมน้ำก่อนนำรถไป)
2. ระดับน้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องอุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับ เครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดยใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง

     - เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3 นาที          เพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
     - ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
     - เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
     - ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F " กับ " L "  แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ

  ข้อควรระวัง
    - หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจ ทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
    - ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติม น้ำมันเครื่องลงไป


3. ระดับน้ำกลั่นแบตเตอรี่ ควรตรวจเช็คระดับน้ำกลั่น แบตเตอรี่ ให้อยู่ในตำแหน่ง UPPER/LEVEL และไม่ควรเติมเกิน กว่าระดับ UPPER/LEVEL เพราะถ้าเติม มากเกินไป น้ำยาอิเลคโทรไลท์ซึ่งเป็นสารละลายกรด ซัลฟูริค จะเจือจางทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง นอกจากนี้ น้ำยาอิเลคโทรไลท์อาจจะกระเด็นออกทาง รูระบายไอ และไปกัดกร่อนชิ้นส่วนต่างๆ ในห้องเครื่องยนต์ได้

 
   
 ข้อควรระวัง

- ปิดฝาเติมน้ำกลั่นให้แน่น
- ขั้วแบตเตอรี่ที่ขั้วบวกและลบขันแน่น
- แบตเตอรี่ยึดแน่นกับฐานที่ตั้ง

 4. ระดับน้ำมันเบรก ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันเบรกมีคำว่า MAX และ MIN ระดับน้ำมันเบรกควร อยู่ที่ระดับ MAX อยู่เสมอ สาเหตุที่เป็นไปได้ ที่มีผลทำให้ปริมาณน้ำมันเบรกในกระปุกน้ำมันเบรก ลดลงต่ำลงมี 2 ข้อ คือ

   - มีการรั่วของน้ำมันเบรกออกจากระบบเบรก
   - การสึกหรอของผ้าเบรก ซึ่งระดับน้ำมันเบรกจะลดลงน้อย และช้ามาก ในกรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเติมน้ำมันเบรกถ้าพบว่าระดับน้ำมันเบรกในกระปุก น้ำมันเบรก ลดลงต่ำลงรวดเร็ว ควรนำรถเข้าศูนย์บริการ เพื่อตรวจ เช็คสาเหตุ

 5. ระดับน้ำมันคลัทช์ ควรตรวจเช็คด้วยสายตา สังเกตดูที่กระปุกน้ำมันคลัทช์ จะมีคำว่า MAX กับ MIN ระดับน้ำมันคลัชท์  ควรอยู่ที่ระดับ MAX เสมอ ถ้าพบว่าระดับ น้ำมันคลัทช์ในกระปุกลดลงต่ำลง ควรนำรถเข้าศูนย์ บริการ เพื่อตรวจเช็คหาสาเหตุ

 6. ระดับน้ำมันเกียร์ AUTO ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการดึงก้านวัดน้ำมันเกียร์ AUTO ออกเช็คน้ำมันเกียร์ ที่ติดก้านวัดด้วยผ้า แล้วเสียบก้านวัด น้ำมันเกียร์คืนกลับจุดเดิม ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจระดับน้ำมันเกียร์ที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมัน เกียร์อยู่ที่ขีด F พอดี แสดงว่าระดับน้ำมันเกียร์ปกติ

 7. ตรวจเช็คระดับน้ำมัน POWER ควรตรวจเช็คขณะที่เครื่องยนต์ติดอยู่ โดยการหมุนฝาปิดกระปุกน้ำมันPOWER จะติด อยู่กับฝากระปุกน้ำมัน POWER ที่ก้าน วัดจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน ถ้าวัดตอนที่ เครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ให้ดูด้าน COLD ถ้าวัดตอนเครื่อง ร้อนให้ดูด้าน HOT ถ้าเป็นรุ่นใหม่ให้ดูที่กระปุกน้ำมัน POWER จะเป็นพลาสติกใส ที่กระปุกจะมีคำว่า HOT และ COLD อยู่คนละด้าน และมีขีดระดับ MAX กับ MIN อยู่ด้วยระดับน้ำมัน POWER ควรอยู่ระดับ MAX เสมอ ถ้าดูตอนเครื่องยนต์เย็นให้ดูด้าน COLD และถ้าดูตอน เครื่องยนต์ร้อนให้ดูด้าน HOT

 8. ตรวจเช็คสภาพของสายพาน โดยวิธีการมองดูที่สายพานถ้าพบรอยแตกเกิดขึ้น ควรทำการเปลี่ยนแต่เนิ่นๆ เพื่อที่จะใช้รถได้อย่างปลอดภัย นอกจากนี้ก็ควรตรวจดูความตึง ของสายพานด้วย โดยการใช้นิ้วกดลงบนสายพานตรงกลาง ระหว่างมู่เล่สองข้าง ถ้าสามารถกดลงได้เล็กน้อย ประมาณ 10 มม. ก็น่าจะพอใช้ได้ (ถ้าไม่แน่ใจควรให้ช่างตรวจสอบ เพราะการตรวจด้วยวิธีดังกล่าว ผู้ตรวจต้องมีความชำนาญ พอสมควร)

 9. ตรวจเช็คสภาพภายในห้องเครื่อง โดยวิธีการมองดูรอบๆภายในห้องเครื่อง ให้สังเกตดูว่า มีอะไรผิดปกติหรือไม่ เช่น ท่อยางหม้อน้ำมีคราบน้ำซึมหรือไม่ สายไฟภายใน ห้องเครื่องเรียบร้อยดีหรือไม่ มีหนูขึ้นมากัดหรือไม่ มีคราบ น้ำมันเครื่องรั่วซึมหรือไม่ เป็นต้น

 10. ตรวจเช็คระบบไฟส่องสว่าง และไฟสัญญาณต่างๆ เปิดไฟทั้งหมดดูว่าทำงานตามปกติหรือไม่ มีหลอดไหนไม่ติด หรือไม่ ถ้าพบว่ามีไฟหลอดไหนไม่ติดควรเปลี่ยน ให้อยู่สภาพพร้อมใช้งาน หรือนำรถเข้าศูนย์บริการเพื่อ ตรวจเช็ค

 11. ตรวจเช็คที่ปัดน้ำฝน ยางปัดน้ำฝนเมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ก็อาจมีการเสื่อมสภาพ ซึ่งเนื่องมาจากสาเหตุเหล่านี้
  - ผิวสัมผัสส่วนปลายมีการสึกหรอ จากการทำงานปกติของ ใบปัด
  - มีสิ่งสกปรก และหินทรายละเอียดอยู่ระหว่างยางใบปัดกับกระจกทำให้ยางปัดน้ำฝนสึกหรอ
  - เมื่อใบปัดน้ำฝนผ่านการใช้งานนานๆ ยางใบปัดน้ำฝน จะแข็งตัว การยืดหยุ่นจะลดลง และความบกพร่องในการ ปัดจะเกิดขึ้น เนื่องจากหน้าสัมผัสระหว่างยางใบปัดกับ กระจกไม่ดี รวมทั้งอาจเกิดจากใบปัดน้ำฝนเกิดอาการ สั่นเต้น หรืออาการอื่นๆ ถ้าพบอาการเหล่านี้ควรเปลี่ยนยางปัดน้ำฝนใหม่

 12. ตรวจเช็คยาง ควรเช็คแรงดันลมยางอยู่เสมอๆ โดยใช้ ความดันลมยางตามที่ผู้ผลิตกำหนด และควรเช็คขณะที่รถ ยังไม่ได้ใช้งาน(ยางยังไม่ร้อน) ถ้าลมยางอ่อนผิดปกติ ควรนำไปตรวจสอบว่า มีตะปูตำหรือไม่ ดูสภาพยางด้วยตา ดูที่ผิวยางมีรอยแตกเล็กๆ หรือไม่ ดูการสึกหรอของดอกยาง กล่าวคือ ดอกยางสึกมากไปหรือยัง หรือมีการสึกหรอผิด ปกติ เช่น ลึกเฉพาะตรงกลางหน้ายาง (เติมลมมากเกินไป) สึกเฉพาะขอบยางทั้ง 2 ข้าง (ลมยางอ่อนเกินไป) หรือสึก ด้านใดด้านหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งกรณีเหล่านี้ ควรปรึกษาช่าง เพราะ ควรจะมีการตรวจเช็คช่วงล่าง และศูนย์ล้อ เอาเล็บมือกดดู ที่เนื้อยางว่า นิ่ม หรือ แข็ง ถ้ายางหมดสภาพ เนื้อยางจะกดไม่ลงจะแข็งมาก


 การบำรุงรักษารถด้วยตนเองที่กล่าวมาข้างต้นนี้ ควรทำบ่อยแค่ไหน ?
คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับรถของท่านว่า ใหม่หรือเก่า มีสภาพเป็นอย่างไร ถ้าเป็นรถใหม่ๆ ทำอาทิตย์ละครั้งก็มากพอแล้ว แต่ถ้าเป็นรถเก่าสภาพไม่ดีนักก็อาจต้องทำทุกวัน
 คำแนะนำ
       ข้อควรระวังในการบำรุงรักษารถด้วยตัวของท่านเองถ้าท่านทำการบำรุงรักษารถ ด้วยตัวท่านเอง, ก่อนอื่นต้อง แน่ใจว่า ได้ปฏิบัติตามข้อควรระวังที่ให้ไว้ในส่วนนี้ อย่างถูกต้องไม่เช่นนั้นแล้วจะทำให้เกิดปัญหาขึ้นได้คำแนะนำในส่วนนี้ใช้ เฉพาะในการบำรุงรักษารถ เฉพาะส่วนที่บำรุงรักษาง่ายๆการทำงานใดๆ เกี่ยวกับรถยนต์ของท่านควรจะใช้ความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นตาม คำแนะนำ หรือคำเตือนดังต่อไปนี้

 คำเตือน :
    - ขณะเครื่องยนต์กำลังทำงาน ระวังอย่าให้มือ, เสื้อผ้าและ เครื่องมือต่างๆเข้าใกล้ใบพัด และสายพานขับเครื่องยนต์ (ควรถอดแหวน, นาฬิกา และเนคไท ออกก่อนทำการ ตรวจซ่อม)
    - หลังจากใช้รถให้ระวังอย่าสัมผัสกับเครื่องยนต์, หม้อน้ำและท่อไอเสีย เนื่องจากความร้อนของสิ่งเหล่านี้
    - อย่าสูบบุหรี่ ใกล้น้ำมันเชื้อเพลิง เนื่องจากไอน้ำมันเชื้อ - เพลิงจะไวไฟมาก
    - ให้ระมัดระวังอันตรายจากน้ำกรด และไอน้ำกรดจากแบตเตอรี่ เมื่อทำงานอยู่กับแบตเตอรี่
    - อย่าเข้าใต้ท้องรถโดยมีเพียงแม่แรงรองรับเท่านั้น ควรใช้ขาตั้งรองรับเสียก่อน
    - ใช้อุปกรณ์ป้องกันตาขณะทำงานในที่ที่อาจมีของตก มีการพ่นหรือละอองของเหลวกระเด็นออกมาไม่ว่าจะอยู่บนหรือใต้รถก็ตาม

   - ควรระมัดระวังเมื่อมีการเติมน้ำมันเบรก เนื่องจากน้ำมันเบรกเป็นอันตรายต่อตาของท่าน และทำลายสีรถได้ ถ้า น้ำมันเบรกกระเด็นเข้าตาหรือโดนสีรถให้รีบล้างด้วยน้ำสะอาดโดยทันที

  ข้อควรระวัง :
     - จำไว้ว่าสายจากแบตเตอรี่และสายไฟจุดระเบิด มีกระแส หรือแรงดันไฟสูงมาก จะต้องระมัดระวังอย่าให้เกิดการลัดวงจร
     - ก่อนปิดกระโปรงหน้า ตรวจสอบให้แน่ใจว่า ไม่ลืมเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ไว้
     - ถ้าท่านทำน้ำมันต่างๆ หกรดโดนชิ้นส่วนต่างๆ ให้รีบล้างออกโดยน้ำสะอาดเพื่อป้องกันชิ้นส่วน หรือสีเสียหาย
     - อย่าเติมน้ำมันเกียร์อัตโนมัติมากเกิน มิฉะนั้นระบบเกียร์อาจเสียหายได้
     - อย่าเติมน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์มากเกิน มิฉะนั้นระบบพวงมาลัยเพาเวอร์อาจจะเสียหายได้


วิธีการตรวจสอบรถยนต์ก่อนใช้งาน

วิธีการตรวจสอบรถยนต์ง่ายๆด้วยตนเอง
เป็นการดูแลสภาพทั่วไปของรถยนต์  เช่น

1. ยางรถยนต์
การตรวจลมยาง
         ควรตรวจเช็คลมยาง  และปรับแต่งให้ถูกต้องตามอัตราที่กำหนด หรือตามคำแนะนำ ในหนังสือคู่มือของรถยนต์เป็นประจำ
         ในกรณีของยางใหม่  ให้เพิ่มความถี่ในการตรวจเช็คลมยาง ให้มากกว่าปกติ (ในช่วง 3,000 กม. แรก) เนื่องจากโครงสร้างยางในช่วงนี้ จะมีการขยายตัว ทำให้ความดันลมยางลดลงจากปกติได้
         ห้ามปล่อยลมยางออก  เมื่อความดันลมยางสูงขึ้นขณะกำลังใช้งาน เพราะความร้อนที่เกิดขึ้นขณะใช้งาน เป็นตัวทำให้ความดันลมภายในยางสูงขึ้น เมื่อยางเย็นตัวลง ความดันลมยางก็จะกลับสู่สภาวะปกติ
         เพื่อป้องกันลมรั่วซึมที่วาล์ว  ควรเปลี่ยนวาล์ว และแกนวาล์วทุกครั้งที่เปลี่ยนยางใหม่ และมีฝาปิดวาล์วตลอดเวลา
         สำหรับยางอะไหล่  ให้ตรวจเช็คลมยางให้ถูกต้องทุกๆ เดือน
         หากขับรถที่ ความเร็วสูง ควรเติมลมมากกว่าปกติ 3-5 ปอนด์ จะช่วยลดการบิดตัวของโครงยาง ทำให้เกิดความร้อนน้อยลง หรืออาจใช้การสังเกต จากที่ใช้งานทุกวัน และความชอบของผู้ขับรถเป็นเกณฑ์ โดยส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยของความดันลมยางของรถเก๋ง จะประมาณ 28-30 ปอนด์/ตารางนิ้ว ส่วนรถกระบะ จะประมาณ 35-40 ปอนด์/ตารางนิ้ว (ขับขี่ทั่วไปไม่บรรทุกหนัก)

2. ระดับของเหลวต่างๆของรถยนต์  เช่น  น้ำมันเครื่อง  น้ำมันเกียร์  น้ำมันเบรค  น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์  น้ำฉีดกระจก  น้ำกลั่นแบตเตอรี่  สามารถตรวจได้บ่อยครั้ง หรือสำหรับผู้ไม่มีเวลาควรตรวจอย่างน้อย 1ครั้ง ต่อ 1สัปดาห์
2.1 น้ำมันเครื่อง การตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่อง อุ่นเครื่องยนต์จนถึงอุณหภูมิทำงานแล้วดับเครื่องเช็คระดับน้ำมันเครื่องโดย ใช้ก้านวัดระดับน้ำมันเครื่อง
- เพื่อให้การตรวจเช็คถูกต้อง รถควรอยู่ในแนวระดับเครื่องยังร้อน และทำการวัดหลังจากดับเครื่อง 2-3นาทีเพื่อให้น้ำมันเครื่องไหลกลับลงด้านล่างก่อน
- ดึงก้านวัดน้ำมันเครื่องออก เช็คน้ำมันเครื่องที่ติดกับก้านวัดด้วยผ้า
- เสียบก้านวัดน้ำมันเครื่องคืนกลับจุดเดิม
- ดึงก้านวัดออกมาอีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่องที่ปลายก้านวัด ถ้าระดับน้ำมันเครื่องอยู่ระหว่าง " F " กับ " L " แสดงว่าระดับน้ำมันเครื่องปกติ
ข้อควรระวัง
- หลีกเลี่ยงการเติมน้ำมันเครื่องมากเกินไป เพราะอาจทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้
- ตรวจเช็คระดับน้ำมันเครื่องที่ก้านวัดอีกครั้งหลังเติมน้ำมันเครื่องลงไป

 2.2 น้ำมันเกียร์

- ขับรถยนต์เป็นเวลา 15 นาที เพื่ออุ่นน้ำมันเกียร์อัตโนมัติ
ข้อแนะนำ:
• เนื่องจากน้ำมันเกียร์อัตโนมัติจะขยายตัวเมื่อมัน ร้อน ดังนั้นให้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์หลังจากที่ได้ทำการอุ่นให้ร้อนแล้ว เนื่องจากโครงสร้างของเกียร์อัตโนมัติจะทำให้ปริมาณของน้ำมันเกียร์มีการ เปลี่ยนแปลงอย่างมากตามอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
• สำหรับโคโรลล่า ให้ตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์เมื่ออุณหภูมิสูงถึง 70 - 80?C (158 - 176?F)
-  จอดรถในพื้นระดับและดึงเบรกมือ
-  ให้เครื่องยนต์เดินเบา, เหยียบเบรก, ดึงคันเบรกมือและเลื่อนคันเกียร์อย่างช้าๆ จากตำแหน่ง P ไปยังตำแหน่งอื่นๆ จนถึงตำแหน่งเกียร์ L และเลื่อนกลับไปยังตำแหน่งเกียร์ P อีกครั้งหนึ่ง
-  ดึงไม้วัดระดับน้ำมันออกมาขณะที่เครื่องยนต์เดินเบา, เช็ดคราบน้ำมันด้วยผ้าให้สะอาด เสียบไม้วัดระดับน้ำมันเข้าไปอีกครั้ง และตรวจสอบระดับน้ำมันต้องอยู่ช่วง "HOT"
ข้อแนะนำ:
• เมื่อขีดของน้ำมันด้านหลังของเกจวัดแตกต่างจากด้านหน้า ให้อ่านค่าต่ำสุด
• เมื่อระดับน้ำมันมากกว่าค่ากำหนด น้ำมันเกียร์อัตโนมัติอาจรั่วออกจากรูระบาย เป็นสาเหตุทำให้เกียร์กระตุก
• ถ้าระดับน้ำมันเกียร์ต่ำเกินไป อาจทำให้การหล่อลื่นไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดการเสียดสีของกลไกภายในเกียร์มาก

2.3 น้ำมันเบรค

วิธีการตรวจเช็คระดับน้ำมันเบรคควรจะอยู่ระหว่าง MAX และ MIN แต่หมั่นตรวจเติมให้อยู่ในระดับ MAX ดีที่สุด
เทคนิค : เติมน้ำมันเบรคจนถึงเส้นไข่ปลาและเมื่อปิดฝา ระดับน้ำมันจะขึ้นถึงระดับที่ถูกต้อง
เครื่องมือ - อุปกรณ์ : ผ้าชุบน้ำผืนขนาดพอสมควร ใช้ปิดตัวถังรถ ด้านที่เติมน้ำมันเบรคเพื่อป้องกันการกระเด็นไปถูกตัวถังรถ
ข้อควรระวัง
-  เติมน้ำมันเบรคให้ตรงกับระบบเบรคของรถหรือน้ำมันเบรคที่เคยใช้อยู่เท่านั้น แดง-แดง ใส-ใส
-  น้ำมันเบรคเป็นอันตรายต่อดวงตาและทำลายสีรถ ระวังล้นหรือกระเด็น
-  น้ำมันเบรกจะเสื่อมคุณภาพหากมีน้ำหรือความชื้นปนลงไป

2.4  น้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์

 ท่าน ควรตรวจระดับน้ำมันพวงมาลัยเพาเวอร์เดือนละครั้ง และ ตรวจระดับน้ำพวงมาลัยเพาเวอร์ ในขณะที่เครื่องเย็นโดยดูที่ด้านข้างของกระปุกน้ำมัน ระดับน้ำมันควรอยู่ที่ไม่เกินขีดระดับสูงสุด และระดับต่ำสุด ถ้าระดับน้ำมันอยู่ต่ำกว่าขีดสุด ให้เติมน้ำมันจนระดับอยู่ที่ขีดสูงสุด
ข้อควรระวัง
-  เทน้ำมันช้าๆ และระวังอย่าทำน้ำมันหก ถ้าน้ำมันหกให้รีบทำความสะอาดทันที เพราะน้ำมันที่หกอาจทำความเสียหายแก่ส่วนประกอบอื่นในห้องเครื่องยนต์ได้
-  ควรใช้น้ำมันยี่ห้อที่ดีตามโฆษณาทั่วไป
-  การที่ระดับน้ำมันต่ำอาจเกิดจากการรั่วในระบบ ควรตรวจดูระดับน้ำมันและนำรถเข้ารับการตรวจสอบระบบพวงมาลัยเพาเวอร์โดยเร็ว
-  การหมุนพวงมาลัยค้างไว้สุดทั้งด้านซ้ายหรือขวาอาจจะทำให้ระบบลูกยาง ท่อยาง ลูกยาง ลูกน้ำท่อยาง ที่เกี่ยวข้องกับระบบเพาเวอร์ ฉีกขาดหรือแตกได้ เนื่องจากการหมุนพวงมาลัยสุดทำให้แรงดันสูง

2.5 น้ำฉีดกระจก

การเติมน้ำฉีดกระจกให้เติมในถังสีขาวให้เต็มหรือบางท่านอาจจะผสมแชมพู เพื่อให้กระจกใสมากขึ้น
-  ระดับน้ำในถังน้ำฉีดกระจกอยู่ในระดับต่ำหรือว่าไม่มีเลย : เมื่อตรวจพบว่าระดับน้ำพร่อง ควรเติมน้ำผสมกับน้ำยาทำความสะอาดกระจกลงไปเล็กน้อย จะช่วยทำความสะอาดได้ดีกว่าน้ำสะอาดเพียงอย่างเดียวนอกจากการตรวจระดับน้ำ แล้วควรที่จะตรวจสภาพของถังน้ำเองว่ารั่วหรือไม่ โดยการเติมน้ำลงไปทิ้งเวลาสักพักและค่อยกลับมาตรวจระดับน้ำอีกครั้งว่าพร่อง หรือลดลงมากเพียงใด เมื่อตรวจไม่พบรอยรั่ว แล้วค่อยลองฉีดน้ำล้างกระจกอีกครั้ง
-  สายยางน้ำฉีดกระจกหลุดหรือรอยฉีกขาด : วิธีตรวจเช็คคือมองไล่ตั้งแต่การลำเลียงน้ำจากถังน้ำผ่านมอเตอร์ปั้มน้ำที่ ติดอยู่กับถังน้ำมองไล่ตั้งแต่สายยางที่ออกจากถังน้ำไปจนถึงหัวฉีดซึ่งถ้าพบ ว่ามีส่วนใดขาดหรือหลุดควรทำการซ่อมแซม
-  หัวฉีดน้ำอุดตัน : อาจจะเกิดจากการที่มีฝุ่นละอองไปอุดตันหัวฉีดน้ำ วิธีที่ง่ายที่สุดคือการนำเข็ม หรือเหล็กแหลมที่สามารถแทงผ่านรูฉีดน้ำได้มาแทงผ่านรูฉีดน้ำเพื่อดันสิ่งที่ อุตันอยู่ให้หลุดออก พร้อมกับการตั้งระดับให้หัวฉีดสามารถฉีดน้ำพอดีกับกระจกไม่ต่ำหรือสูงเกินไป ส่วนถ้าใช้เหล็กแหลมทิ่มก็แล้วยังไม่หลุดต้องใช้มาตรการสุดท้ายคือการนำหัว ฉีดทั้งหัวไปต้มในน้ำร้อนเพื่อละลายคราบที่อุดตัน
-  มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ปั้มน้ำจากถัง : ถ้าตรวจตั้งแต่รายการ 1-3 แล้วก็ยังฉีดน้ำล้างกระจกไม่ได้ โดยเฉพาะรถยนต์ที่มีหัวฉีด 2 ตัว และไม่สามารถฉีดน้ำได้ทั้ง 2 ตัวคงต้องพุ่งเป้าไปที่‘มอเตอร์ที่ทำหน้าที่ปั๊มน้ำจากถัง’ส่วนสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ปั้มน้ำเสียนอกจากว่าจะหมดอายุการใช้ หรือเกิดจากการใช้งานที่ผิดอย่างเช่นระดับน้ำในถังน้ำต่ำหรือแห้งแต่ผู้ใช้ ยังคงพยายามฉีดน้ำทำให้มอเตอร์ร้อนจัดและเสียในที่สุด หรือการฉีดน้ำเป็นเวลานานเกินกว่า 20 วินาทีบ่อยๆ จะทำให้มอเตอร์ร้อนจัดและมีอายุสั้นลง

2.6 น้ำกลั่นแบตเตอรี่
- ควรตรวจดูระดับน้ำกลั่น ก่อนทำการชาร์จทุกครั้ง ว่าแห้งไปหรือไม่ การตรวจเช็คสามารถดูได้จาก ลูกลอยระดับลูกลอยที่ลอยขึ้นมา จะต้องมองเห็นบาร์สีขาวเล็กน้อย ( ถ้าแถบบาร์สีขาวสูงเกินไปให้ดูดน้ำกลั้นออก เพราะนั้นอาจจะทำให้นำกลั่นล้นได้ ในขณะที่ทำการชาร์จ)หากไม่มีฝาลูกลอย ให้ใช้วิธีเปิดฝาจุกแล้วดูว่าน้ำกลั่นในเซลล์แบตเตอรี่มึระดับสูงกว่าแผ่น ธาตุภายในประมาณ 1 เซ็นติเมตร (วัดระดับด้วยสายตาก็ได้ ไม่ต้องใช้ไม้บรรทัดไปทาบนะค่ะ) ถ้าน้อยกว่าก็ให้เติมน้ำกลั่นลงไปให้อยู่ระดับที่ประมาณ 1 เซ็นติเมตร ห้ามเติมมากๆนะ เพราะเดี๋ยวน้ำกลั่นมันจำล้น เหมือนดังที่กล่าวข้างตัน
- ไม่ควรเติมน้ำหรือสิ่งอื่นใดลงไปในแบตเตอรี่ นอกจากน้ำกลั่น
- ในขณะที่ทำการชาร์จไม่ควรมีประกายไฟ ในบริเวณที่ทำการชาร์จ เพราะจะทำให้แก๊สที่เกิดขึ้นขณะชาร์จติดไฟได้ สถานที่ชาร์จจะต้องเป็นที่ร่ม สะอาด อากาศถ่ายเทได้สะดวก
- หลังการทำการชาร์จเรียบร้อยแล้ว ควรพักแบตเตอรี่ให้ระดับความร้อนของแบตเตอรี่ลดลงประมาณ 1ชั่วโมง จึงนำแบตเตอรี่มาใช้งาน
- ควรรักษาความสะอาดขั้ว บนฝา และรอบๆให้สะอาดและแห้งอยู่ตลอดเวลา ถ้าส่วนบนของแบตเตอรี่สกปรกให้ใช้ผ้าชุดน้ำแล้วเช็ดให้สะอาด จะให้น้ำล้างก็ได้ แต่ต้องระวังไม่ให้นำเข้าไปในตัวแบตเตอรี่ ( ควรทำความสะอาดให้แบตเตอรี่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่


บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่เพื่อนๆ ได้ศึกษาเอาไว้บ้าง ตรงไหนไม่เข้าใจ รบกวนสอบถามท่านผู้รู้ที่แก้กระทู้ให้เพื่อนๆหลายท่านนะครับ  :D

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ