ยินดีต้อนรับคุณ, บุคคลทั่วไป กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
28 มีนาคม 2024, 15:52:02
หน้าแรก ช่วยเหลือ ค้นหา ปฏิทิน เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
ข่าว: มีปัญหาการใช้งานเว็บไซต์ หรือติดต่อลงโฆษณา ติดต่อ admin [ไม่ใช่ผู้ขายสินค้า] ที่ 0876889988   หรือ theerachai@siamrx.com หรือ line id: @welovecivic




Custom Search
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: ไฟรั่วในรถยนต์ 0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้
หน้า: [1] ลงล่าง พิมพ์
ผู้เขียน หัวข้อ: ไฟรั่วในรถยนต์  (อ่าน 1622 ครั้ง)
jkung_27
อาจารย์ปู่
*******
ออฟไลน์ ออฟไลน์

เพศ: ชาย
กระทู้: 2,751


« เมื่อ: 21 มกราคม 2012, 15:47:30 »



                                                                        ไฟรั่วในรถยนต์
มักจะมีอาการดังนี้

จอดรถนานเกิน 2 วันไม่ได้  สตาร์ทรถไม่ติด มีเสียงเหมือนไฟอ่อน ทำให้รู้ว่า แบตเตอรรี่ไม่มีไฟ

เหมือนไฟหมด ทั้งๆที่แบตเตอรรี่ไม่ได้เสื่อม แบตเตอรรี่ยังใหม่ๆ

ไปลองวัดกำลังไดชาร์ท ก็เป็นปกติ แสดงว่าอาจจะมีไฟรั่วลงกรานด์อยู่หรือเปล่า เพราะอะไรทำไมถึงรู้น่ะหรอครับ

เพราะว่าหากลองถอดขั้วลบของแบตเตอรรี่ออก ทุกๆคืน เช้ามาจะสามารถสตาร์ทรถได้เป็นปกติ อาการนี้รวมถึงจอดที่ทำงานด้วยนะครับ

อาการไฟรั่วอาจสังเกตได้ง่ายๆ จากการลองเอาขั้วแบตถอดออกมาแล้ว เวลากลับมาใส่หากมาแตะๆ ตรงขั้วลบดู

ถ้าหากมีประกายไฟสปาร์คเล้กน้อยอาจเปนเพราะไฟนาฬิกาของรถยนต์เรา แต่ถ้าสปาร์คแรงมีประกายไฟแสดงว่าอาจมีรั่วแน่ๆ

ถ้าหากจะให้แน่ใจไปกว่านั้น และตามหาจุดรั่วง่ายๆ ให้ทำตามวิธีการดังนี้

1. ให้เราปิด สวิทช์กุญแจ รวมถึงปิดประตูรถทุกบาน และปิดไฟภายในเก๋งให้หมด

2. ทำการถอดขั้วลบแบตเตอรรี่ออก คราวนี้จะมีขั้วลบของแบตเตอรรี่ และสายขิงขั้วลบที่แยกออกจากกันแล้ว

3. นำสายขั้วลบ แตะกับสายของขั้วลบของหลอดไฟขนาด 12 โวลท์ ค้างเอาไว้ โดยใช้หลอดไฟแบบไส้ ควรใช้หลอดประมาณ 7 วัตต์ หรือใช้ไฟหรี่หรือไฟเพดานก็ได้ หากเป็นหลอดวัตต์สูง จะไม่ติดและไม่เหมาะ เพราะถ้ารั่วน้อยๆจะดูไม่ออก หรือไขควงวัดไฟรถยนต์

4. นำสายขั้วบวกของหลอดไฟ หรือเอาปลายไขควงวัดไฟแตะที่ขั้วลบของตัวแบตเตอรรี่

5. สังเกตไฟที่หลอดไฟ หรือที่ไขควงวัดไฟว่า มีความสว่างมากน้อยเพียงใด  (ปกติจะสว่างเล็กน้อย)

6. ปล่อยหลอดไฟ หรือไขควงไว้ในสภาพที่ไฟยังสว่างอย่างนั้น

7. เลือกถอดฟิวส์ที่กล่องฟิวส์ ทีละตัวไปเรื่อยๆ เช่น เครื่องเสียง ไฟหน้า ไฟเลี้ยว แตร ฯลฯ

หากถอดตัวไหนออกไปแล้ว พบว่าไฟที่หลอดไฟทดสอบของเราสว่างน้อยลง

แสดงว่า อุปกรณ์ของฟิวส์ตัวนั้นๆมีกระแสไฟเข้าตลอดเวลา นั่นคือไฟรั่วแล้วนั่นเอง

8. ทำการตรวจเช็คสายไฟทั้งหมดของอุปกรณ์นั้นๆ ต่อไปเพื่อหาจุดไฟรั่ว หากจะให้แน่ใจมากไปกว่านี้อีก สามารถทำได้เช่นเดิมแต่แทนที่เราจะใช้หลอดไฟ

ให้เราใช้ แอมป์มิเตอร์ต่ออนุกรมเข้าไปแทนที่ ซึ่งปกติรถจะกินไฟประมาณ 0.5 มิิลลิแอมป์

แต่หากเข็มไฟแตะระดับเกินกว่านี้อาจบ่งชี้ว่ามีไฟรั่ว หรือมีอุปกรณ์กินไฟเงียบๆขณะเรารถดับเครื่องยนต์ไปแล้ว

วิธีนี้จะดีกว่าตรงที่เห็นปริมาณของกระแสไฟเลยว่าไหลอยู่ในระบบกี่มิลลิแอมป์

ระหว่างที่ใช้แอมป์มิเตอร์ ห้ามเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าใดๆในรถ หรือแม้แต่บิดกุญแจ ON เพราะกระแสจำนวนมากจะวิ่งผ่านมิเตอร์ อาจทำให้เสียหายได้

ให้สังเกตว่าแอมป์มิเตอร์ลดลงที่จุดตรวจใด จุดนั้นคือจุดปัญหา

โดยหากไล่ถอดฟิวส์แล้วยังเฉย หากไม่เจอคราวนี้ต้องไล่กันไปตามอาการ ดังนี้

1. จุดที่เคยชนมาเช่นไฟท้าย จะรั่วบ่อยเพราะหากช่างไม่ใช้ท่อย่น แต่ใช้เทปพันสายไฟ ต่อพบอากาศร้อนกาวหมดอายุเปื่อยเยิ้มกาวหมดสภาพ ทำให้ไฟรั่วเมื่อไปแตะตัวถัง

2. เครื่องเสียง แอมป์ ฯลฯ เพราะเทปพันสายไฟไม่ได้คุณภาพอีกตามเคย

3. เปิดสวิทช์บางอย่างทิ้งเอาไว้ เช่นสวิทช์ไล่ฝ้า ฯลฯ หรือ อุปกรณ์เสริมต่างๆ เช่น ระบบกันขโมย ว่ามีการปิด/เปิด บ่อยแค่ไหน เครื่องเสียงและอุปกรณ์บางชนิด การชาร์ตมือถือในรถ ฯลฯ

4. รีเลย์ต่างๆ เพราะหน้าคอนแทกต์ของรีเลย์ค้าง ทำให้ไฟไปเลี้ยงอุปกรณ์นั้นๆ ตลอดเวลา เช่น รีเลย์ของ กล่องเกียร์ รีเลย์บ๊อชที่เราติดตั้งเพิ่มเติม รีเลย์คอมแอร์

โดยสำหรับรีเลย์คอมแอร์นั้น มีวิธีตรวจเช็คง่าย ๆ ด้วยการจอดรถอยู่กับที่  ลองเปิดสวิทช์แอร์ โดยไม่ต้องสตาร์ทเครื่องยนต์ 

กดปุ่มทำความเย็น (A/C) ถ้าหากรีเลย์ปกติ  เราจะได้ยินเสียงรีเลย์ ดัง "แชะ"

และเมื่อกดปุ่มปิดสวิทช์ทำความเย็น (A/C) ก็อีกครั้งจะได้ยินเสียงอีกนั้นเอง 

แสดงว่า รีเลย์ทำงานเป็นปกติ สามารถตัดต่อไฟได้    แต่ถ้าทำตามนี้แล้ว ไม่ได้ยินเสียงใดๆเลย 

แสดงว่า รีเลย์นั้น "ทำงานตลอดเวลา"  จึงมีผลทำให้เมื่อถอดกุญแจรถดับเครื่องออกไปแล้ว   

รีเลย์คอมแอร์ ก็ยังคงส่งไฟไปเลี้ยงคอมแอร์ โดยระบบกลับทำงานกินไฟแบตเตอรรี่ตลอดเวลา

หากทั้งหมดนี้ไม่ใช่สาเหตุจากไฟรั่ว จะต้องตรวจสอบอุปกรณ์ 2 สาเหตุ ดังนี้

ประเด็นปัญหาแบตเตอร์รี่เสื่อม เก็บไฟไม่อยู่

แบตเตอร์รี่ ชนิดเติมน้ำกลั่นนั้น พอมีการเติมน้ำกรดชนิด 25% ลงในแบตเตอร์รี่ที่เปิดจากกล่องใหม่ๆ แล้วชาร์จไฟเข้า ไม่เกินกว่า 25% ของขนาดประจุไฟเข้าแบตเตอร์รี่ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

เช่น แบตเตอร์รี่ขนาด 100 แอมป์ ควรชาร์จไฟไม่เกิน 25 แอมป์ (ควรต่ำกว่า 25 แอมป์) ไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง

พอมีการเริ่มชาร์จไฟเข้าแบตฯ แบตฯลูกนั้น ก็จะเริ่มนับถอยหลังในการเสื่อมสภาพแล้ว โดยมีอายุการใช้งาน นับถอยหลัง ไม่ต่ำกว่า 1 ปี (ตามระยะการรับประกัน)

แต่อายุการใช้งานจริง ควรไม่ต่ำกว่า 1.5 ปี ดังนั้น แบตฯที่มีอายุ 1 ปีไปแล้ว โอกาสที่จะเสื่อมถอยก็มีมาก ยิ่งการดูแลรักษาไม่ดีพอ

เช่น ปล่อยให้ น้ำกลั่นลดลงต่ำกว่าขีดล่างสุด จนแผ่นธาตุถูกอากาศ หรือ ใช้ไดชาร์จที่เสื่อมสภาพบ่อยๆ ทำให้ประจุไฟเข้าแบตฯไม่เต็มซักครั้ง เป็นต้น

โอกาสเช่นนี้ ยิ่งเป็นการฆ่าอายุแบตฯให้ลดลงเรื่อยๆ

วิธีการตรวจสอบว่า แบตเตอร์รี่ เสื่อมหรือไม่ ให้ทำดังนี้


•ให้ยกแบตฯออกจาก รถ แล้วเปิดฝาที่เติมน้ำกลั่นทุกช่องไว้
•เติมน้ำกลั่นให้ถึงขีดระดับ Max
•ชาร์จไฟเข้า แบตฯ ให้ต่ำกว่า 25 % ของขนาดประจุไฟของแบตฯ นานจนกระทั่งเข็มเกจ์ตู้ชาร์จลดต่ำลงเหลือประมาณ 10 % ของระดับเข็มเกจ์ที่ชี้ขึ้นตอนชาร์จใหม่ๆ
•หรือจะใช้ ไฮดรอมิเตอร์วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรอในแต่ละช่องก ็ได้ครับ โดยเกจ์จะต้องลอยในน้ำกรดถึงระดับ สีเขียว หรือ ประมาณ 1.260 หรือสูงกว่า จึงจะแสดงว่า ประจุไฟเต็มแบตฯแล้ว
•หยุดชาร์จไฟ แล้วปิดฝาช่องเติมน้ำกลั่นของแบตฯทุกช่อง
•ทิ้งไว้ 2 - 3 วัน แล้วใช้ไฮดรอมิเตอร์วัดความถ่วงจำเพาะของน้ำกรดในแบต ฯทุกช่อง จะต้องได้ตัวเลขเท่าเดิม จึงจะแสดงว่า แบตฯลูกนั้น เก็บประจุไฟอยู่ ถ้าตัวเลขลดลง แสดงว่า แบตฯลูกนั้นเริ่มเสื่อมถอยแล้ว
ประเด็นปัญหาของไดชาร์จเสื่อมถอย

การใช้ไดชาร์จรถยนต์ไปได้ระยะหนึ่ง ทั้งจากความร้อนของเครื่องยนต์ และจาก ละอองน้ำที่กระเซ็นเข้าไปโดยไดชาร์จ ไดชาร์จก็อาจจะมีโอกาสเสื่อมได้

ไม่เสีย แต่เสื่อม โดยปล่อยกระแสไฟออกมาไม่ได้เต็มที่ควรเป็น มีวิธีทดสอบแบบชาวบ้านง่ายๆ ดังนี้


•หาโวล์ทมิเตอร์ชนิดตัวเลขมาต่อเข้ากับระบบไฟหลัก 1 ตัว
•สตาร์ทรถยนต์ เดินเครื่องในรอบเดินเบา (ตอนเครื่องร้อนแล้ว เครื่องเย็นอยู่ทดสอบไม่ได้ เพราะว่ารอบเดินเบาจะสูงกว่าปกติครับ) ให้ดูที่โวล์ทมิเตอร์ ว่าตัวเลขได้เท่าไหร่ (ต้อง ไม่ต่ำกว่า 12.5 โวล์ท ซึ่งจริงๆควรได้ถึง 13 โวล์ทเป็นอย่างต่ำด้วยซ้ำ)
•จากนั้นให้เปิดใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าในรถทีละอย่างจนครบทุกอย่าง เช่น เปิดแอร์ เปิดวิทยุ เปิดไฟหน้า เปิดไฟสปอร์ตไลท์ เปิดที่ปัดน้ำฝน ไล่ฝ้า เป็นต้น เรียกว่า มีไฟฟ้าอะไร ก็เปิดให้หมด แล้่วสังเกตุตัวเลขที่โวล์ทมิเตอร์ จะค่อยๆลดลง แต่อย่างไรก็ตามจะต้องไม่ต่ำกว่า 11.5 โวล์ท ถ้าต่ำกว่านี้แสดงว่า ไดชาร์จเสื่อมถอยแล้ว ต้องซ่อม หรือเปลี่ยน
•จากนั้นทดลองเร่งเครื่องยนต์ขึ้นมาอยู่ที่ประมาณ 2000 - 2500 รอบ ตัวเลขโวล์ทมิเตอร์จะต้องขึ้น อย่างน้อยที่สุดไม่ต่ำกว่า 12.5 - 12.8 โวล์ทครับ ถ้าต่ำกว่านี้ แสดงว่า ใช้ไม่ได้

การที่ไดชาร์จเสื่อมถอย อาจจะทำให้ แบตฯประจุไฟเข้าไม่พอ โดยเฉพาะ การใช้งานเฉพาะตอนกลางคืน

นอกจากประจุไฟเข้าแบตฯไม่พอ ยังอาจจะดึงไฟแบตฯออกมาช่วยใช้งานด้วยซ้ำไป

จึงอาจจะทำให้ แบตฯเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น หรือว่า ไฟแบตฯอ่อนจนกระทั่ง สตาร์ทรถไม่ติดก็ได้


ที่มา: http://rathmine.multiply.com/journal/item/45

 จุมพิต






บันทึกการเข้า

มีปัญหา ติดต่อใด้โดยตรง
https://www.facebook.com/profile.php?id=100013364359216&ref=bookmarks
หน้า: [1] ขึ้นบน พิมพ์ 
:::CIVIC CLUB THAILAND:::  |  คุยคุ้ย Civic  |  Civic Club Car Knowledge => คลังความรู้คู่รถ  |  หัวข้อ: ไฟรั่วในรถยนต์
กระโดดไป:  


.: Powered by :.
.: Link Exchange :.
civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017 civic, civic club, new civic 2017


Powered by MySQL Powered by PHP Copyright 2004-2014 www.welovecivic.com All rights reserved
Contact: theerachai@siamrx.com
Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2009, Simple Machines -->
Valid XHTML 1.0! Valid CSS!
Civic Club | ย่อลิงค์ |